The Last Proof | "ปัญญาอลวน" | วันวิทยาศาสตร์ไทย
๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ วันวิทยาศาสตร์ไทย เตรียมพบกับ "ปัญญาอลวน"
สารคดีสี่จดหมายเหตุ;
๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023) #รหัสเทอร์โบ
๒) หลากเหตุการณ์ร่วมสมัยโทรคมนาคมไทยร้อยสี่สิบเจ็ดปี (พ.ศ. ๒๔๑๘ - ๒๕๖๕) #โทรคมนาคมไทย
๓) เสี้ยวอดีตสี่สิบปีวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๖๒) #MOST #กระทรวงวิทย์
ณ เดือนวิทยาศาสตร์สิงหาคม ๒๕๖๕ นี้ เวลาที่วงการวิทยาศาสตร์ไทยจะเริ่มศักราชใหม่ห่างไกลจากวิทย์เพื่อภาพลักษณ์และคำสรรเสริญตนเองกันได้แล้วหรือไม่ หน่วยงานวิทย์ไทยจะทำเพื่อสังคมไทยได้จริงไหม ขอเชิญชวนร่วมติดตามและตรวจสอบ
ฟรี ที่นี่ https://www.quantum-thai.org/q-books
"เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง"
สปอย
๐ ที่นี่เคยมีมาแล้วทั้งสามรูปแบบใหญ่ของข่าวร้าย ... "อธิการฯครึ่งเวลา" "รักษาการอธิการฯสองรอบ" "อธิการฯถูกปลด" ทั้งหมดเกิดหลังจากยุคแรกของการสร้างเนื้อสร้างตัว ...
๐ “ฮอโลแกรมโมเดล” (hologram model) สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับยามใดก็ตามที่พบเห็นการแถลงข่าวความสำเร็จด้านเดียวของวงการวิทย์ไทย คนรุ่นใหม่พึงตั้งคำถามเพื่อค้นหาต้นทุนรวมแท้จริงที่สะสมการใช้ทรัพยากรรัฐฯมาตั้งแต่ครั้งอดีต อันจะนำไปสู่ความเข้าใจกับเบื้องหลังอีกด้านที่อาจถูกบดบังหรือสูญหายไปได้
๐ ภารกิจอันไกลโพ้นที่มีเรื่องน่าประทับใจกับสารพันยาน ทั้งขององค์การบริหารการบินและอวกาศหรือนาซา (NASA) ใช้รหัสเทอร์โบพลิกโฉมหน้าการสื่อสารในช่องสัญญาณอันเวิ้งว้างได้เด่นชัดมาก “แคสซิไน” (Cassini) คือยานลำแรกเริ่มปฏิบัติการตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๐ ออกสำรวจดาวเสาร์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ "... ราวกับว่ารหัสเทอร์โบจบตำแหน่งพระเอกไปกับภารกิจเป็นทางการครั้งหลังสุดกับยานแคสซิไน (Cassini) เมื่อ ๑๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๐ ก่อนหน้า จารึกตนเองเป็นประวัติศาสตร์เด่นสำหรับช่องสัญญาณอวกาศครั้งสุดท้าย ต่อจากนั้นปรับบทบาทเป็น “พระรอง” ทำงานร่วมรหัสอื่น ๆ ที่ประสิทธิภาพทัดเทียมหรือดีกว่าแทน"
๐ หากเคยขึ้นเวทีฐานะผู้ให้รางวัลโนเบลมาก่อนแล้ว ต่อมาเขาเหล่านั้นกลับขึ้นเวทีเดิมเดียวกันนั้นอีก แต่ย้ายข้างมาเป็นผู้รับแทน
ภาพลักษณ์ของโนเบลจะยืนยาวมากว่าร้อยปีไหม (รางวัลไทย ผู้ให้กลายมาเป็นผู้รับเสียเอง)
๐ รหัสเทอร์โบย่างเข้าวัยกำลังจะสามสิบปี กามนิตลิขิตให้มาพบรักใหม่กับเทคโนโลยีร่วมสมัยสุด ๆ “บล็อกเชน” (Blockchain) ที่มากับประโยคเทียบเคียงสั้น ๆ แต่หนักแน่นมากมีอยู่ว่า “รหัสเทอร์โบเคยยกระดับสัญญาณให้สูงกว่าการรบกวน รหัสเทอร์โบกำลังมายกระดับคุณค่างานบล็อกเชนให้สูงกว่าข่าวสารปลอมด้วย”
๐ “ระบบโทรคมนาคมแก้ไขความผิดพลาดข้อมูลตน” และ “สื่อสารมวลชนสถาปนาความถูกต้องของตนเอง”
๐ งานวิจัยนั่งเทียน พบว่ามีคนไทยสามในสี่รายชื่อที่ส่งงานตีพิมพ์ไปทั่ว จึงถูกขึ้นชื่อว่าเป็น “นักวิจัยไฮเปอร์” ร่วมอยู่กับอีก ๒๖๕ คน จาก ๓๗ ประเทศทั่วโลก ทั้งหมดนั้นมีค่าเฉลี่ยการสร้างงานใหม่ “หนึ่งชิ้นในทุกห้าวัน” "... กรณีที่ชัดแจ้งและถูกฟ้องออกมาได้ก็เพราะว่ามืดมัวแบบมากมายจนกลายเป็นเด่นชัด แต่ยังมีอีกหลายสำนักที่พรรษาไม่แก่กล้าเท่าจึงสร้างงานสีเทาออกมาเพียงบางโอกาส จากการสำรวจพบทั้งที่ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” “รู้แล้วก็ยังจะทำ” “ตั้งใจ (หลบ)” และ “หลุดโลก” ทำนอง “มีไอน์สไตน์เป็นไอดอลแต่ล้วงผลงานวิทยาศาสตร์จากกระเป๋าการ์ตูนโดราเอมอน” มีครบทั้งสี่เทียนจตุรทิศ
๐ "ไอทีควอนตัม" ปลอม ก็ไม่น้อย ...
"... มหาบัณฑิตหนึ่งในกลุ่มเหล่านั้นสารภาพภายหลังถูกซักชุดใหญ่ว่าผลิตผลวิจัยเชิงสมมติหรือนั่งเทียนขึ้นมาเอง “ครับ ใช่” ...
๐ ถนนสยาม ... ตามรอยเส้นทางที่ขุนศรีวิสารวาจาเดินทางแรมปีทางเรือไปขึ้นฝั่งที่เมือง Brest ต่อไปปารีสเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ซ้อนทับเส้นทางเดียวกันกับเหลน "ปัญญา"ที่ย่างสามสิบกว่าปีแล้วหนา ที่ออเจ้า "ปัญญา" เดินทางไปถนน Rue De Siam (ชื่อในภายหลัง) แต่นั่งเครื่องบินไปเร็วกว่าแต่อยู่เมืองชายฝั่งนั้นมาถึงเจ็ดปี (ร่วม) สร้างรหัสเทอร์โบคุณูปการการสื่อสารโทรคมนาคม ... ถนนแห่งการสรัาง"ปัญญา"
๐ สองภาพอดีต " ... ด้านความประทับใจนั้นเกิดขึ้นขณะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนกับภาพร่วมเฟรมแรก ด้านขวาสุดเขาผู้นั้นคือ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ผู้เป็นเจ้าของงานวิจัยการแพทย์คุณภาพที่ต่อมากลายเป็นผู้อำนวยการของศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านนาโนของภาครัฐ แล้วไปต่อกับการเป็นผู้บริหารสำนักงานด้านนโยบายวิจัยและพัฒนาของประเทศ จนถึงปลัดกระทรวงสำคัญด้านการศึกษาและวิจัยของเมืองไทยในที่สุด แม้ไม่คุ้นเคยกันมาก่อนเพิ่งมาพบเจอในงานแต่ก็ปลื้มปริ่มไปด้วยกับความก้าวหน้าของปรมาจารย์คนเก่งของประเทศท่านนี้ ..."
"แต่อีกภาพเก็บไว้ไม่อยากเปิดดูอีกเลยเพราะกลับกัน ... ทั้งหมดคือคนที่คุ้นเคยและในเวลาอีกหลายปีต่อมาคนร่วมภาพด้านซ้ายกลายเป็นบุคคลข่าวบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ทุกฉบับกับข่าวสุดอื้ออึงขณะอยู่ในฐานะอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบังที่ถูกสภาสั่งให้ลงจากตำแหน่ง ส่วนอีกหนึ่งคนด้านขวาย้ายข้างจากการเป็นผู้สนุบสนุนรางวัลกลายมาเป็นผู้รับรางวัลเดียวกันในอีกกว่าทศวรรษถัดมา ..."
๐ บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ถูกศาลสั่งปรับละเมิดรหัสเทอร์โบร่วม 60 ล้านบาท บริษัท มาร์เวลล์ เซมิคอนดักเจอร์ (Marvell Semiconductor) คือผู้ตกหลุมพรางสิทธิบัตรตัวนี้เข้าไปเต็ม ๆ เพราะไปผลิตชิปเพื่อใช้ตามมาตรฐาน 3G ขายไปมากมายก่อนแล้วเรื่องจึงถึงศาล งานนี้นักกฏหมายทนายดังแห่งแคลิฟลอเนียร์ถึงกับต้องควานหาตัว “ปัญญา” เพราะคิดว่าเหลือประเด็นแย้งสุดท้ายก่อนที่จะต้องไปฟังศาลนัดแรกท้ายเดือนมกราคมของปีที่อะไรก็ไม่ดีเอาเลยในเมืองไทย ทั้งรัฐประหารคืนความสุขทิพย์และเงินลาดกระบังหายคือเรื่องร้ายของปีเดียวกันนั้น
๐ “มีคนอื่น ๆ ถามเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน และข่าวลือที่ไม่ดีอีกก็มีมาถามด้วย” “... ปัญญาเองก็เขียนไว้ในหน้าที่ห้าของวิทยานิพนธ์ว่า ขอบคุณผมที่ให้เข้าร่วมทีมรหัสเทอร์โบ” และ “งานวิทยานิพนธ์ของเขาเอาไปตีพิมพ์ที่สิงคโปร์ (1995) เองคนเดียว ไม่ได้ใส่ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาทั้งสองคนด้วยอีกต่างหาก”
๐ ดร.ชอย ฮยอง-โชบ (Dr.Choi Hyung-Sup) อดีตรมว.ชาวเกาหลีใต้ผู้พลิกโฉมหน้าวิทย์และเทคโนฯแดนอารีดังจนโด่งดังเคยมาช่วยสร้างแนวทางวิทย์ก้าวหน้ายุคแรกให้เมืองไทย (ค.ศ.1981-2) มาสมัยที่ยังใช้พิมพ์ดีดเพื่อพิมพ์พรบ.หลังตั้งกระทรวงใหม่ ๆ รวมทั้งที่ปรึกษารุ่นหลัง ดร.ยง อ๊ก อัน (Dr.Choi Hyung-Sup) ก็มา หากสองปรมาจารย์เกาหลีที่คุ้นเคยทราบว่า MOST หรือชื่อกระทรวงที่มาช่วยสร้างนั้นได้หายไป เขาจะรู้สึกอย่างไร คำปรึกษาของเขาวางยาหรือเรานำมาใช้ผิดทางกันหรือเปล่า แล้วเคยมีข้อแนะนำให้ส่งเสริมการสร้างสุดยอดนักวิจัย “อายุน้อยที่สุด” “รายแรกของประเทศ” พร้อมเน้นรางวัลและคำสรรเสริญตนเองอยู่ในคำปรึกษาเหล่านั้นไหม ?
๐ “เจ้ากรมโทรเลขคนแรก คือ ‘หลวงโทรเลขธุรการ’ เป็นไง ชื่อเพราะไหม” ต่อมาเลื่อนเป็น ‘พระยาอนุทูตวาที’ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๖ แล้วยังมีผู้ช่วยงานได้รับบรรดาศักดิ์ชื่อเกี่ยวพ้องกับภารกิจอันทันสมัยที่สุดของเวลานั้นอีกมาก โดยเป็นทั้งชื่องานและใช้ขานตำแหน่งแต่งตั้งแบบนี้ “ขุนเชาวลักษณ์เลขะศาสตร์ ขุนเชาวนัฎนิจการ ขุนอินทรโทรเลข ขุนประดับโทรเลข ขุนสารารุจิเลข ขุนวิทยุวากยวิจารณ์ และขุนวิจารณ์โทรกิจ” ท่านทั้งหลายเหล่านี้คืออดีตนักเรียนโรงเรียนการไปรษณีย์และโทรคมนาคม ทยอยมีชื่อตำแหน่งนี้กันมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ สมัยรัชกาลที่ห้าโน่นหนา
๐ เมื่อถึงวันเวลาที่สังคมประสบปัญหาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเทียมที่เกี่ยวข้องกับด้านที่เคยรับรางวัลและสร้างคำสรรเสริญไป หากมีการแก้ไขด้วยแนวทางเดียวกันบ้างทั้งจำนวนครั้งมากมายที่ออกช่วยสังคม และได้คุณภาพแบบที่เร็วสุด คนแรกสุด อายุน้อยที่สุด และที่สุดของที่สุดได้บ้างคงจะดีไม่น้อย (เช่นกรณีต่อ ๆ มากับ กล้องส่องผี เครื่องขโมยความฝัน เครื่องตรวจสุขภาพลวงควอนตัม รถยนต์หรูเฟอร์รารี่ความเร็วลดลงจาก ๑๗๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมงแบบน่าสงสัย) ... เงียบสนิท ! ไม่เป็นที่นิยม ไม่ว่าจะระดับไหนหน่วยงานใดที่จะร่วมแข่งขันกันโชว์เหรียญด้านนี้ แม้ว่าเป็นสาขาอาชีพตนเองตรงเป๊ะ ช่างต่างจากด้านการแถลงสร้างภาพลักษณ์เป็นอย่างยิ่ง
๐ “ให้ผมหลีด (lead - นำ) หรือให้ (ทายาทอำนาจ) หลีด ไปรวมตัวกันมาผมมีคอนซอร์เทียม (consortium)”
... “หากคุณมองไปทั่วโลกและมองไปที่ปัญหาคุณจะพบว่า ส่วนใหญ่มันจะเกิดขึ้นเพราะคนรุ่นเก่า โดยเฉพาะชายสูงวัยที่ยึดติดกับอำนาจ ไม่ยอมให้เกิดการเปลี่ยนผ่าน” ... (โอบามา)
พบกับฉบับเต็ม ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๕ ...
Comments