top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

ไอทีควอนตัมไทยประดิษฐ์ : รู้ไหม ? (Thai Fake Quantum 2016)

(republished 2016 - Daily news online)

บนเวทีโลกความสับสนงงงวยว่า “ควอนตัมคืออะไร ?” มีมากมายไม่ว่าวงการไหนที่จะได้เอ่ยถึง ทั้งรู้บ้างหรือไม่ก็เข้าใจผิด สนิทกับเรื่องหลอกลวง (fraud) พ่วงด้วยเรื่องสินค้าตัวดีตีมึนอาศัยใช้ชื่อควอนตัมเพิ่มพลานุภาพความขลัง ประชากรโลกส่วนใหญ่ยังไม่มีโอกาสใช้งานตรง ๆ จึงคงเข้าไม่ถึงและเกิดการลวงหรือหลุดโลกกันได้ง่าย ที่ไหน ๆ ก็มี จะแก้ไขกันอย่างไร ?


เมื่อพิจารณากรณีในเมืองไทยที่มีเหตุพื้นบ้านความสับสนปนวิทยาการแปลกปลอมในอดีตมามากสาขา เป็นปัญหาสังคมพื้นเดิมอยู่แล้วทั้ง จีที (GT200) ไฟจุดติดเองได้ในบ้าน ฯลฯ และแม้มีนักวิชาการออกมาทำให้ตาสว่างมากหัวข้อแต่ก็ยังเหลืออีกคณานับ การมาของเทคโนโลยีใหม่ด้านไอทีควอนตัมที่ทรงพลังก็อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการหลงทิศผิดทางมากขึ้นได้อีก อย่างนั้นก็มาช่วยกัน … ช่วยกันตั้งข้อสังเกตและหาทางดันให้เรื่องจริงปรากฏ ของเทียมควรลดจางหายไปไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมฐานความรู้วิทยาศาสตร์ ช่วยกันหาทางป้องกันล่วงหน้าโดยตระหนัก ถึงแม้กระทั่งกับวงการวิชาการเองก็ควรมาช่วยกัน


เหตุไอทีควอนตัมไทยประดิษฐ์ต่อจากนี้ “มิใช่ผิดหรือถูก” ยกมาเพื่อร่วมช่วยกันสร้างสรรค์ให้มีสนาม ส่งเสียงให้ดัง นำเสนอได้ชัดทุกเวทีไม่ขัดหลักวิชาการ เกิดประโยชน์สาธารณะและไม่เกิดโทษต่อทั้งผู้ประดิษฐ์ที่ต้องหลบเลี่ยงและตัววงการเอง ดังตัวอย่าง


ก) มีการทดลองที่ระบุว่าประดิษฐ์สร้างงานควอนตัมแสงความเร็วสูงได้ แต่ปฏิบัติด้วยอุปกรณ์ความเร็วต่ำมากไม่ครบองค์ประกอบที่สร้างขึ้นได้จริง ทว่ากลับมีผลจากการจินตนาการ (ให้โฟตอนเดี่ยวหรือคู่พัวพันสามารถหยุดและประพฤติตัวตามที่จะสมมติกำหนด) ซึ่งมิใช่เป็นทั้งต้นแบบด่วน (rapid prototyping*) หรืออุปกรณ์มาตรวัดสำเร็จรูป แล้วจบการสร้างนำเสนอเพียงภาพนิ่งและผลเฉพาะกิจ โดยไม่มีใครสามารถขอเข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษาสิ่งประดิษฐ์ที่กำเนิดผลนั้นได้แม้อาจผ่านไปจนเกษียณอายุก็ตามที


ข) งานประยุกต์อุปกรณ์เพื่อการสร้างเครือข่ายสื่อสารปกติ “มิได้ใช้สถานะทางควอนตัมฟิสิกส์” ต่างจากที่มีในเครือข่ายควอนตัมปกติอื่น ๆ ทั่วไป (quantum network) และประสบกับการทักท้วงบ่อยครั้ง แต่ในที่สุดมีข่าวประชาสัมพันธ์ผลงานเต็มพิกัด (หน่วยงานวิจัยรัฐฯ) ปรากฏกับคำว่า “การประยุกต์ใช้รหัสลับที่รับประกันด้วยกฎทางฟิสิกส์ ว่าด้วยทฤษฎีห้ามคัดลอกมาช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนระบบ”


ค) งานจินตนาปราศจากหลักวิศวกรรมฯ ว่าโลกสื่อสารไร้สายอนาคตจะเป็นดังที่ปรารถนา เช่น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีคุณสมบัติเชิงควอนตัมแสงไปสร้างอยู่ได้ทั้งบนตัวระบบและลูกข่าย (handset) พร้อมระบุอีกว่าสาธิตได้ด้วยแล้ว


ข้อสังเกต: แม้งานลักษณะนี้ได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสารที่มีผลกระทบ (impact factor/ ISI, Scopusฯลฯ) แสดงว่ามีคุณภาพ ผ่านการกลั่นกรองดีไม่มีข้อผิดพลาด ? กระนั้น ก็ควรได้ศึกษาแม้เหตุของนักวิทย์รางวัลโนเบลเองก็ยังถูกวิพากษ์หนักหน่วงเป็นกรณีตัวอย่าง** เพราะทุกวงการมีหลายเหลี่ยมมุม เช่น งานนั้นอยู่ในสนามที่มีผู้เล่นผู้ตัดสินจากวงการหลักเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?


ควรช่วยกัน: 1) ขอดู ขอใช้ ขอไปเยี่ยมชมงาน 2) เชิญชวนให้กลับสู่แนวทางหลัก สนับสนุนให้เสนอผลวิชาการในสนามจริงของวงการ ห่างจากสนามของผู้พิจารณา (reviewer) นอกวงการ ซึ่งเปรียบได้กับการเล่นฟุตบอลได้ดีก็ควรเป็นผลจากสนามแท้กับนักฟุตบอล มิควรไปเล่นฟุตบอลกับนักวอลเลย์บอลที่ไม่สันทัดและผิดสนาม เป็นต้น และผลักดันให้เสนอด้วยตนเองสู่สังคมทุกระดับบ่อยครั้ง เพราะปรากฏการณ์“หลง รู้ พลาด ติดบ่วง”วิชาการที่เกิดและมีอยู่ทั่วโลกนั้นมักจะอ้ำอึ้ง เลี่ยงวงการไอทีควอนตัมหลัก


ข้อสังเกตเพิ่มเติม (2016) - มีนักวิชาการที่เล่นกับไอทีควอนตัมในประเทศน้อยมาก (ลงทะเบียนหรือมีโครงการวิชาการ วิจัยและพัฒนาปรากฏสาธารณะทั่วไป) และยังมีความพร้อมน้อยกับงานด้านการทดลองหรือสร้างต้นแบบที่ต้องลงทุนอีกสูงยิ่ง โดยทุกโครงงานมีอุปสรรคสู่การผลิตผลคล้ายคลึงกัน แต่ … กลับมีผลงานด้านการทดลอง (experiment) ไอทีหรือรหัสลับควอนตัมหลายแหล่งจากเมืองไทยปรากฏในวารสารและฐานข้อมูลวิชาการโลกจำนวนมาก โดยนักศึกษาไทยทำวิทยานิพนธ์เชิงทดลองด้านนี้จบระดับบัณฑิตศึกษานำหน้าสิงคโปร์ที่สร้างศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัม (CQT***) พันล้านมีอุปกรณ์เพียบพร้อมไปก่อนนานมาแล้ว !


Q : แล้วสังคมวิชาการไทยรู้ไหม ?

และที่ผ่านมานักศึกษาและนักวิจัยเจ้าของงานเหล่านั้นทราบไหม (ว่าผิดหรือปลอม) ? …


A : ควรตอบว่า ... “ทราบดี”


ควรมาตระหนักร่วมกันว่าทั้งหมดคือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วและจะคงอยู่ตลอดไป สืบค้นได้จากทั้งระบบ “Scopus ScienceDirect IEEEXplore ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย” และแม้แต่อากู๋“กูเกิล”ก็บ่งแสดงให้ประจักษ์ได้มากเหลี่ยมหลากมุมทุกกาลเวลา


ผลงาน (ผิดหรือปลอม) เหล่านั้นแม้สร้างดัชนีการแข่งขัน (KPI) ให้หน่วยงานหรือประเทศนับจำนวนได้ ทว่า ประโยชน์สุทธิอยู่ที่ใด ? …


จึงขอเชิญกลับเข้าสู่เส้นทางปกติเพื่อมาร่วมกันพัฒนาไอทีควอนตัมไทยให้เกิดประโยชน์ได้จริงกันต่อไป



Q-Thai.Org

facebook.com/QuantumCryptoThailand

(IEEE ComSoc Thailand)

---------------------------------

* การสร้างต้นแบบด่วนเพื่อทดสอบบางส่วนงาน เช่น ทดสอบซอฟท์แวร์สัญญาณภาครับโทรศัพท์เคลื่อนที่บนหน่วยจำลอง (simulation – FPGA) ด้วยเงื่อนไขระบบเฉพาะกิจที่เกือบสมบูรณ์จริง อาทิ มีสายอากาศจริงร่วมงานกับระบบจำลองดังกล่าว

** “สิ่งมีชีวิตกับควอนตัม (4): เมื่อปู่โนเบลโดนสอบ” www.dailynews.co.th/article/268994


หมายเหตุ 2021:

จนถึงปัจจุบัน ผลงานผิดหรือปลอมเหล่านั้นยังคงอยู่และสะท้อนภาพงานวิจัยลวงของเมืองไทยในสังคมโลกต่อไป

Comments


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page