France Quantum 2023 | ‘ไม่ซ่อนเร้น’ เน้นนักวิจัย | Special Report | ฝรั่งเศสลงกว่าหมื่นล้านบาท
ควอนตัมนี่มันร้ายจริง ๆ !
“Around one hundred thesis grants and around fifty post-doctoral contracts”
“Around ten excellent researchers that we could bring in a year”
จบไปแล้วกับกิจกรรมใหญ่ France Quantum 2023 งานประชุมวิชาการมุ่งเป้าอุตสาหกรรม เป็นผลตั้งต้นจากการที่ประธานาธิบดี ‘แอมานุแอล มาครง’ ลงงบก้อนโตมาก งานใหญ่ยิ่งที่อิงการสนับสนุนจากผู้บริหารประเทศโดยตรง (under the high pattronage of Mr.Emmauel MACRON) นี้ จัดกันหนึ่งวันเต็มโดยเน้น “คน” มา “สร้างคน” สู่ “คนสร้างอุตสาหกรรม”
ก่อนหน้านี้สองปีแล้ว (2021) ที่รัฐบาลฝรั่งเศสได้เริ่มจัดสรรงบประมาณนับหมื่นล้านบาท (€1.8 B) ในระยะเวลาห้าปีโดยหวังเป็นหลักๆ ที่ได้รับการเสนอข่าวมากมายกับการจะได้รับจำนวน “นักวิจัยระดับร้อยกว่าคน” อันนับเป็นตัวอย่างที่ดียิ่งของประเทศที่ไม่ใช้คำว่า “ควอนตัม” มาเบ่งความขลังหลอกตนเองหรือผู้คนในสังคมว่าจะสร้างโน่นนี่ออกมาหากบุคลากรยังไม่พร้อม ปธน.มาครง แจ้งก่อนแล้วว่ากว่าพันล้านยูโรนั้น เน้นไปที่การสร้างคนก่อนโดยไม่เขินอาย
การแจ้งผลผลิตเป็นงานวิจัยและจำนวนนักวิจัยหัวกระทิจำนวนไม่มากคนนัก อาจดูไม่อลังการโดดเด่นเท่าภาพลักษณ์ด้านต้นแบบผลิตภัณฑ์ในทันที เนื่องจากประเทศนี้เน้นการสร้างความพร้อมด้านบุคลากรก่อนนั่นเอง แล้วจึงทยอยสร้างความร่วมมือจากงานวิจัยออกสู่อุตสาหกรรมตามมา ปีนี้ได้เวลาของงานประชุมใหญ่เป็นทางการครั้งที่สองจัดโดย ‘Station F’ หน่วยงานบ่มเพาะอุตสาหกรรมหน้าใหม่หรือ start up ที่ร่ำลือกันว่าใหญ่ยิ่งสุด ๆ ของโลก (the world's largest startup facility)
๐ กรณีศึกษาที่ดีสำหรับ “ควอนตัมภาพลักษณ์ ๐
สำหรับประเทศไทย (2019) ได้มีการเริ่มจัดสรรงบประมาณระดับเพียงสองร้อยล้านบาท พร้อมเกณฑ์ตัวเลขจำนวนผู้ร่วมรับงบวิจัยมาโชว์ระดับห้าสิบคนในทันที และคาดหวังที่จะสร้าง “นวัตกรรม” ภายในห้าปี !
“พูดไปแล้วคำพูดเป็นนาย” หลายปีผ่านมาคำพูดจางหาย นโยบายเปลี่ยนมือ สายบริหารเปลี่ยนตามทุกระดับ หลายระบบจัดการระงับตาม เพราะคำว่า “นวัตกรรม” นั้นค้ำคอ อาจทำให้ผู้ที่กำลังทำวิจัยหน้าบูดเบี้ยวตามมา หาใช่ผู้แถลงข่าวไม่ !
๐ พาทัวร์หอไอเฟล ๐
งานประชุมมุ่งสู่อุตสาหกรรมต่อจากครั้งแรกเมื่อปี 2022 ก่อนหน้า France Quantum 2023 นี้ จัดการบรรยายถ่ายความรู้กันอีกครั้งที่หอไอเฟล สถานที่สัญลักษณ์เหมาะกับประเทศแห่งนี้เป็นที่สุดในการประกาศความพร้อมออกไปทั่วโลก โดยเป็นปกติกับคำว่า “ควอนตัม” งานบรรยายหากยังไม่มีของมาขายผู้สนใจเข้าฟังจึงอาจไม่มากนักแต่จำนวนผู้นำเสนองานนั้นมีมากมายทีเดียว อัตราส่วนจำนวนผู้เข้าร่วมงานกับจำนวนวิทยากรจึงห่างกันไม่มาก (150 attendees - 20 speakers)
เมื่อได้เพ่งไปที่สรุปผู้เข้าร่วมกิจกรรมควอนตัมของประเทศของกิจกรรมปีแรกก่อนหน้า (France Quantum 2022) มีทั้งห้องปฏิบัติการวิจัย อุตสาหกรรมผู้พร้อมสนับสนุนเทคโนโลยีข้างเคียง รวมถึงแหล่งการสนับสนุนทุกด้านแล้ว ภาพความแข็งแกร่งด้านเทคโนโลยีควอนตัมแห่งอนาคตของประเทศฝรั่งเศสที่มีทั้งขนาดพื้นที่และจำนวนประชาการสูสีกับเมืองไทยนี้ชัดเจนอลังการมาก ปี 2023 นี้เช่นกันด้วย รายชื่อผู้ร่วมจากทุกฝ่ายยังคงมากมายเช่นเดิม
๐ ข้อสังเกต ! ๐
จากทั้งงาน ปรากฏเช่นเดียวกันกับแนวโน้มทั่วโลกที่คำสำคัญหลักพบได้กับ
Quantum; - computing, sensor, software และ cybersecurity
ส่วน “Quantum Cryptography (Quantum Key Distribution - QKD)” หรือวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมนั้นไม่ปรากฏเป็นแกนหลักใด กล่าวได้ว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมาชัดเจนว่ากิจกรรมด้านเทคโนโลยีควอนตัมของโลกตะวันตกที่ตรงไปตรงมาจะไม่นำพาสาขาที่มีความคลุมเครือพร้อมด้วยวาระซ่อนเร้นเช่น QKD นี้ออกมานำทางสังคม แม้โลกตะวันออกโดยเฉพาะที่ประเทศจีนจะโปรโมทวิทยาทานแขนงนี้หนักหน่วงทั้งสร้างดาวเทียมควอนตัมและนำบริษัท Quantum CTek เข้าตลาดหุ้นเซี่ยงไฮ้ แต่นั่นคือเรื่องวาระซ่อนเร้นหรือเป็น propaganda ของภาครัฐ ใช้สร้างบุคลากรและวิทยาการเป็นหลัก มิใช่อุตสาหกรรมจริงแต่อย่างใด
(อนึ่ง เจ้าของบริษัท IDQ Dr.Grégoire Ribordy, IDQ’s CEO ผู้ผลิตเครื่องกระจายกุญแจรหัสลับควอนตัมโด่งดังที่สุดในโลกเป็นคนสัญชาติฝรั่งเศส ก่อตั้งบริษัทขึ้น ณ ประเทศสวิสฯ จึงมิได้รวมอยู่ในกิจกรรมของประเทศฝรั่งเศสนี้ -- และ Dr.Ribordy ผู้นี้เคยบรรยายให้เมืองไทยฟังโดยเฉพาะด้วยแล้วกับ Q-Thai Forum 2020 #3 “Quantum - Safe Security 2020”)
จากข้อสังเกตที่ควรค้นหาคำตอบดังกล่าวถึงการจางหายไปของ QKD ในโลกตะวันตก ปรากฏมีประเด็นย้อนหลังที่น่าสนใจจากงานประชุมครั้งแรกเมื่อกลางปีก่อนหน้าด้วย (2022) ซึ่งวิทยากรหลักเปิดงานคือ ศาสตราจารย์ Alain Aspect ผู้เคยสร้างการทดลองควอนตัมอันน่าทึ่งโดยทำให้ประสาทสัมผัสของมนุษย์เข้าใกล้ได้อีกขั้น (How To) และได้รับเชิญมาเป็นวิทยากรเรียกความสนใจและคำสรรเสริญครั้งใหญ่ ก่อนที่จะได้รับเสียงปรบมืออีกครั้งจากทั่วโลกในอีกสี่เดือนต่อมาโดยได้รับการประกาศให้เป็นหนึ่งในสามนักวิทย์โนเบลฟิสิกส์ 2022 ในช่วงท้ายปี ศาสตราจารย์ผู้นี้นำเรื่องราวการค้นพบมานำเสนอบนเวทีอันเป็นการฉลองครบรอบสี่ทศวรรษการทดลองของตนเองไปในตัว น่าประทับใจอย่างยิ่ง
๐ “กาลามสูตร” ๐
แม้ท่านผู้นี้ปราดเปรื่องเรื่องการทดลอง “ปรากกฏการณ์ควอนตัม” ที่พิสูจน์ให้โลกได้ทราบว่า แท้จริงแล้วแนวคิดเรื่อง ตัวแปรซ่อนเร้น (hidden variable) ของไอสไตน์นั้นผิดด้วยการสร้างการทดลองมายืนยันหักล้างได้สำเร็จ จนกลายเป็นหนึ่งผู้ได้รับรางวัลโนเบลดังกล่าว (ดูเพิ่ม - จดหมายเหตุแสงและควอนตัม - LQM)
แต่ ... เมื่อได้ย้อนทบทวนเหตุการณ์บนเวทีโต๊ะกลมรวมผู้รับรางวัลโนเบลวิทยาศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ของท้ายปีก่อน (Nobel mind 2022 นาทีที่ ๓๒) ศาสตราจารย์คนดังท่านผู้คร่ำหวอดกับการทดลอง (experimental physics) นี้ ได้เอ่ยจินตนาการการประยุกต์ใช้ควอนตัมกับรหัสลับในโลกไอทีทั่วไปป้องกันการแกะถอดรหัสกลางวงสนทนา (หาได้มาจากการทดลองใช้งาน) แถมระบุด้วยทำนองว่า "อีกห้าปี" ข้างหน้า คอมพิวเตอร์ควอนตัมที่สามารถแกะถอดรหัสได้รวดเร็วจะมาถึง (ความลับอาจถูกเปิดเผย) แต่เมื่อใช้รหัสลับควอนตัมจะไม่มีปัญหาอีกกี่ปีก็ตาม !
กรณีนี้เป็นข้อสังเกตใหญ่ก็เพราะ วิทยาการรหัสลับควอนตัมนั้นยังคงเป็นวิทยาการพื้นฐานในการใช้สร้างวิชาการและบุคลากร ไม่ใช่เรื่องการประยุกต์จริงในโลกไอที แต่ถูกโฆษณาชวนเชื่อไปทั่วโลกมากว่าสามสิบปีแล้ว ต้นแบบผลิตภัณฑ์ที่ออกมาขายจากหลายประเทศนั้น (สวิสฯ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฯ) มีไว้เพื่อการสาธิตกับเงื่อนไขวิจัยเฉพาะกิจเท่านั้น
หน่วยงานความมั่นคงหลายประเทศรวมทั้งฝรั่งเศสเองก็ปฏิเสธใช้งาน (National Cyber Security Centre - UK 2018, National Security Agency - US 2020, Agence nationale de la sécurité des systèmes d’information - France 2022 , and Federal Office for Information Security - Germany 2022) และไม่มีหน่วยงานใดใช้งานในชีวิตประจำวันจริง (24 Hr/7 days) แม้บริษัทผู้ผลิตเอง !
๐ “ช็อตฟีล” วิศวกรไม่ให้ใช้ แต่นักวิจัยได้โนเบล ! ๐
เป็นปกติไปเสียแล้ว หากถามนักวิชาการเรื่องการประยุกต์ควอนตัมกับภารกิจเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับการสื่อสาร ก็มักได้คำตอบจากจินตนาการกลับมาเสมอว่า ควอนตัมจะใช้งานกับระบบไอทีได้จริงด้วยคุณสมบัติเฉพาะ (สถานะควอนตัมจะเปลี่ยนไป หากมีผู้(แอบ)ตรวจวัด ทำให้ทราบว่ามีผู้บุกรุก จึงปลอดภัยสมบูรณ์แบบ !) แต่กลับไม่แจ้งตัวแปรหรือวาระ “ซ่อนเร้น” อันเป็นข้อจำกัดที่ทำให้วิทยาการสาขานี้ ยังคงห่างไกลจากการประยุกต์ใช้ได้จริงในโลกการสื่อสารโทรคมนาคมที่มีอยู่ (more details: www.quantum-thai.org/q-crypto)
๐ สรุปข่าว France Quantum 2023 ๐
๑) แนวทางการสนับสนุนวิทยาการด้านควอนตัมของประเทศฝรั่งเศสคือกรณีศึกษาที่ดี “ไม่หลอกตนเอง” หรือไม่ซ่อนเร้นสถานะตนเองที่แท้จริงหลังภาพลักษณ์ควอนตัมและงบประมาณวิจัยที่อลังการ โดยเริ่มจากการสร้าง “สร้างคน” สู่ “คนสร้างอุตสาหกรรม” ภาพรวมงานการประชุมนี้บ่งชี้ศักยภาพแห่งอนาคตของประเทศฝรั่งเศส สะท้อนภาพความก้าวหน้าของประเทศได้เป็นอย่างดี
๒) ส่วน วิทยาการรหัสลับควอนตัม (quantum cryptography หรือ QKD) คือสาขาที่มีเรื่อง “ซ่อนเร้น” มากมายหลายประเด็น เช่น ช่องทางควอนตัมพิเศษยิ่งยวด (quantum channel) เป็นต้น ไม่ปรากฏตัวในงาน France Quantum 2023 นี้หรือกิจกรรมหลักของโลกตะวันตก
และแม้จะทราบกันดี แต่ด้วย “จินตนาการ” ที่นักวิจัยนักวิชาการอยากให้วิทยาการรหัสลับควอนตัมเป็นจริงโดยไม่เคยพิสูจน์ใช้งานด้วยตนเอง จึงเกิดการสื่อสารวิทยาศาสตร์ผิดพลาดเผยแพร่ออกสู่สังคมทั่วไปมากว่าสามทศวรรษแล้ว ทั้งนี้ โดยเริ่มต้นมาจากตัวนักวิจัยนักวิชาการสาขานี้ แล้วขยายตัวไปทั่ววงการ ไม่เว้นแม้หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศสด้านการทดลองควอนตัมระดับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี 2022 ล่าสุด ก็เคยเอ่ยจินตนาการนั้นอย่างเป็นทางการเช่นกัน ... ควอนตัมนี่มันร้ายจริง ๆ !
by OQC academy - K Sripimanwat
กาลามสูตร 'พิสูจน์ด้วยตนเอง'
Comments