top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

เตือนใจควอนตัมไทย ๒ | academic integrity | ตรวจซำ้ควอนตัมไทยยุค 1990s - 2000s | Retraction in Thai Quantum Community | ไอทีควอนตัมไทยประดิษฐ์ | Beware of Quantum Fabrication |

“ควอนตัมไทยกับการตรวจสอบย้อนหลัง” -- ขณะที่ขบวนรถวิจัยควอนตัมโลกตะวันตกกำลังเร่งความเร็วกันด้วยงบประมาณมหาศาลและได้งานอัตราส่วนใหญ่ระหว่าง “ควอนตัมของจริง” กับ “ควอนตัมเกินจริง” ส่วนของเมืองไทยเพียงระดับหลักสองร้อยล้าน ค.ศ.2023 ปรากฏภาพทั้งขบวนควอนตัมจริงวิ่งอยู่บนชุมทางรางคู่กับภาพลักษณ์ควอนตัม โดยมีตู้เสริม “ควอนตัมเกินจริง” “ควอนตัมเทียม” และ "ควอนตัมขายพ่วง" ร่วมโบกี้เข้ามาด้วย !

เริ่มต้นด้วยกรณีศึกษาการสร้างผลงานไอทีควอนตัมจากการทดลองเทียมตั้งแต่ท้ายยุค 1990s หรือของสองทศวรรษก่อน หลังจากกระจัดกระจายเงียบหายไปนับสิบปี ได้ย้อนวนกลับมาร่วมเวทีวงการวิทย์ปัจจุบันที่กำลังอยู่ช่วงน้ำขึ้นให้รีบตัก ทั้งนโยบาย งบประมาณ การประชาสัมพันธ์และโปรโมตกิจกรรมควอนตัมกันอย่างครึกครื้น ตามด้วยกรณีการสร้างภาพลักษณ์และควอนตัมเกินจริง อีกทั้งภาคเอกชนที่แฝงมากับการขายพ่วงรหัสลับควอนตัมอยู่ในวงการไฟฟ้ากำลัง ทั้งหมดเป็นสัญญาณเตือนที่ดังสะสมตลอดทั้งปี พ.ศ.๒๕๖๖


และเมื่อถึง พ.ศ.๒๕๖๗ นี้ปีที่ แผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทย พ.ศ.2563 – 2572ผ่านมาถึงครึ่งทางแล้ว จึงไม่ช้าหรือเร็วเกินไปที่ควรทักกันได้แล้วว่า นักวิชาการนโยบายรุ่นใหม่พร้อมไหมในการย้อนทบทวนแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้นำทางมาท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่ามีส่วนของ "ควอนตัมเกินจริง" พร้อมกับการรับรู้เรื่องราวในอดีตที่คาบเกี่ยวกับ "ควอนตัมเทียม" ก่อนขับเคลื่อนไปสู่อนาคตกับครึ่งทางที่เหลือต่อไป โดยเฉพาะปีที่ผ่านมาล่าสุด สามในสี่กลุ่มวิชาการเก่าแก่ทั้งที่หมิ่นเหม่รวมถึงกรณีผิดจริยธรรมเต็มตัวกับควอนตัมภาคการทดลอง (ทิพย์) ได้หวนคืนสังคมไทยพร้อมกัน โดยหนึ่งยังคงดำรงตนอยู่บนจินตนาการกระจายข่าวการสร้างงานควอนตัมตามใจตนจนน่าใจหาย ส่วนอีกสองกรณีปรากฏร่วมเวทีระดับประเทศพร้อมหน้ากับผลพวงนโยบายวิทย์ภาพลักษณ์ของยุคก่อน ขณะที่ภาคสังคมทั่วไปก็อุดมไปด้วยวาทะกรรมสินค้าควอนตัมแปลกปลอมตลอดทั้งปีด้วย แผนที่ในมือกำลังพาสังคมไทยไปทางทิศใด !

๐ บทเรียนการตรวจสอบย้อนหลังในอดีต ๐

วงการไอทีควอนตัมไทย (การสื่อสารและการคำนวณ ยกเว้นเซ็นเซอร์เชิงควอนตัม) หนึ่งในสาขาหลักของการประยุกต์ฟิสิกส์พื้นฐาน ผ่านเวลามากว่าสองทศวรรษพร้อมกับเรื่องราว ความล้มเหลว ละทิ้งงาน และการสร้างส่ิงแปลกปลอมของกิจกรรมวิจัยในอดีต ที่บันทึกไว้เพื่อนักวิชาการรุ่นหลังได้ศึกษาใช้ลดความเสี่ยงอนาคต รวมไปถึงคอลัมน์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ (พ.ศ.๒๕๕๙ -  ๒๕๖๑) จดหมายเหตุแสงและควอนตัม (2019) วีดีโอวิชาการ และสารคดีสี่จดหมายเหตุ หนังสือ “ปัญญาอลวน (๒๕๖๕)” อันมาพร้อมกับตรวจสอบย้อนหลัง (retract) อย่างตั้งใจ เผยแพร่มาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสังคมออนไลน์หรือช่วงวัฒนธรรมการสร้างภาพลักษณ์รางวัลและคำสรรเสริญกำลังเบ่งบาน


ขอเชิญเริ่มทบทวนกับ “ควอนตัมไทยนิยม” ตามด้วยสามความเดิมโดยย่อต่อจากนี้ แล้วร่วมหาทางออกไปสู่อนาคตที่สดใสกันต่อไป


 

(ทบทวน ๑ - พ.ศ.๒๕๕๙) --บันทึกจากคอลัมน์ OQC/LED ไอทีเดลินิวส์ออนไลน์


การทดลองที่ระบุว่าประดิษฐ์สร้างงานควอนตัมแสงความเร็วสูงได้ แต่ปฏิบัติด้วยอุปกรณ์ความเร็วต่ำมากไม่ครบองค์ประกอบที่สร้างขึ้นได้จริง ทว่า กลับมีผลจากการจินตนาการ (ให้โฟตอนเดี่ยวหรือคู่พัวพันสามารถหยุดและประพฤติตัวตามที่จะสมมติกำหนด) โดยไม่มีใครสามารถขอเข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษาสิ่งประดิษฐ์ที่กำเนิดผลนั้นได้


งานจินตนาปราศจากหลักวิศวกรรมฯ ว่าโลกสื่อสารไร้สายอนาคตจะเป็นดังที่ปรารถนา เช่น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีคุณสมบัติเชิงควอนตัมแสงไปสร้างอยู่ได้ทั้งบนตัวระบบและลูกข่าย (handset) พร้อมระบุอีกว่าสาธิตได้ด้วย


ผลงานด้านการทดลอง (experiment) ไอทีหรือรหัสลับควอนตัมหลายแหล่งจากเมืองไทยปรากฏในวารสารและฐานข้อมูลวิชาการโลกจำนวนมาก โดยนักศึกษาไทยทำวิทยานิพนธ์เชิงทดลองด้านนี้จบระดับบัณฑิตศึกษานำหน้าสิงคโปร์ที่สร้างศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัม (CQT) พันล้านมีอุปกรณ์เพียบพร้อม (2012) ไปก่อนนานมาแล้ว !


หมายเหตุ: (ผลงานช่วง 1995 - 2012)

— คำค้นสามัญ; “quantum key distribution, parametric down conversion, ring resonator, quantum cryptography, BB84, QKD”

-- คำค้นละเอียด; “quantum meditation !, tested, practical, experiment, implemented”

 
(ทบทวน ๒ - พ.ศ. ๒๕๖๒) -- จดหมายเหตุแสงและควอนตัม 2019

งานวิจัยและพัฒนาจำแลงจากกรณีฉ้อฉลระดับโลกของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน Jan Hendrik Scheon (2002) สร้างผลงานวิจัยปลอมจำนวนมาก ​กระทั่งถูกถอนผลงานรวมถึงถูกถอดถอนวุฒิการศึกษาปริญญาเอกด้วยนั้น ทำให้สังคมวิชาการได้รับผลกระทบระดับรุนแรงมากจึงตระหนักมากขึ้นกับคำว่าการนั่งเทียน (fabrication) อันตรวจสอบได้ยากกว่าการคัดลอกผลงาน (plagiaism) สำหรับประเทศไทย (ค.ศ.2000 เป็นต้นมา) พบงานวิจัยและวิทยานิพนธ์นั่งเทียนหรือไอทีควอนตัมไทยประดิษฐ์เนรมิตงานเทียมจำนวนมากเช่นกัน 


งานประยุกต์อุปกรณ์เพื่อการสร้างเครือข่ายสื่อสารปกติมิได้ใช้สถานะทางควอนตัมฟิสิกส์ แม้ได้รับการทักท้วงบ่อยครั้งแต่กลับไปปรากฏอยู่บนหน้าปกวารสารต่างประเทศ ... “การประยุกต์ใช้รหัสลับที่รับประกันด้วยกฎทางฟิสิกส์ว่าด้วยทฤษฎีห้ามคัดลอกมาช่วยเพิ่มความปลอดภัยบนระบบ”

งานควอนตัมกับศาสนาในวารสารวิทยาศาสตร์หลบมุม ... และวารสารชั้นนำของโลก Nature (2018) เผยบทสำรวจ “นักวิจัยปลาหมึก" ผู้ตีพิมพ์ผลงานใหม่ที่น่ากังขาได้ในทุก ๆ ห้าวัน โดยปรากฏมีจากประเทศไทยสี่กรณีและหนึ่งในนั้นคืองานด้านไอทีควอนตัมที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยคือ หนึ่งชิ้นงานในทุกสามวัน


นักศึกษาระดับบัณฑิตวิทยาลัย (โท เอก) ที่เกี่ยวข้องให้การยอมรับถึงงานที่ได้สร้างขึ้นจากจินตนาการเหล่านั้น กลุ่มงานไอทีควอนตัมจำแลงไทยหลายแห่งผลิตบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต กระจายเป็นนักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์และครูอยู่ในทั้งส่วนกลางและภูมิภาค มากและนานมาแล้ว (รวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน - เพิ่มเติม 2024)


(“นักวิจัยไฮเปอร์” ไทยร่วมอยู่ใน ๒๖๕ คน จาก ๓๗ ประเทศทั่วโลก)

(Scopus - Science Direct 2013) งานควอนตัมไทยระดับ ๖๐ ชิ้น โดยครึ่งคือรายงานผลการทดลอง ๐

 
(ทบทวน ๓ - พ.ศ.๒๕๖๕) -- หนังสือ “ปัญญาอลวน”

๐ สำนักควอนตัมนั่งเทียน ๐

เมื่อสืบค้นลึก ๆ จากสะอึกจึงมาถึงตะลึงงันกับการสร้างดุษฎีบัณฑิตจบปริญญาเอกโดยใช้เวลาเพียงหนึ่งและสองปีก็มี และกรณีที่ทำให้ถึงกับตกเก้าอี้คือ มหาบัณฑิตหนึ่งในกลุ่มเหล่านั้นสารภาพภายหลังถูกซักชุดใหญ่ว่าผลิตผลวิจัยเชิงสมมติหรือนั่งเทียนขึ้นมาเอง “ครับ ใช่” ! 

ทั้งนี้ กรณีที่ชัดแจ้งและถูกฟ้องออกมาได้ก็เพราะว่ามืดมัวแบบมากมายจนกลายเป็นเด่นชัด แต่ยังมีอีกหลายสำนักที่พรรษาไม่แก่กล้าเท่าจึงสร้างงานสีเทาออกมาเพียงบางโอกาส จากการสำรวจพบทั้งที่ “รู้เท่าไม่ถึงการณ์” “รู้แล้วก็ยังจะทำ” “ตั้งใจ (หลบ)” และ “หลุดโลก” ทำนอง “มีไอน์สไตน์เป็นไอดอลแต่ล้วงผลงานวิทยาศาสตร์จากกระเป๋าการ์ตูนโดราเอมอน”

๐ นโยบายวิทย์ร่วมสมัย ๐

ให้ผมหลีด (lead - นำ) ... ไปรวมตัวกันมา ผมมี consortium (๑๔ ม.ค.๒๕๖๐)

 

๐ บทเรียนสอนใจวงการควอนตัมไทย ๐

กรณีควอนตัม “หลุดโลก” โด่งดังและชัดเจนสุดกรณีแรกผู้เปิดเผยตนต่อสาธารณะมาโดยตลอดและระบุในประวัติตนเองด้วยว่า Nature สรรเสริญให้เป็น “นักวิจัยไฮเปอร์” แม้สังคมวิชาการโลกเห็นตรงกันข้าม ได้ประกาศเองอีกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ.๒๕๖๖ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์สาธารณะและการส่งข้อมูลส่วนบุคคล โดยเผยแพร่กิจกรรมที่ทำให้มิตรสหายคลายความสงสัยได้แล้ว และกลับกลายเป็นการ “ห่วงใยอย่างยิ่ง” แทน เพราะข้อมูลนั้นมากับการสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี (โหน) ฯ ก่อตั้งวารสารวิศวกรรมควอนตัม (ตีพิมพ์ได้ให้แสน) หรือการทำสมาธิบนแท่นที่อ้างว่าหนึ่งในอรหันต์เคยนั่งปฏิบัติธรรม และอื่น ๆ จึงเป็นบทสรุปของรอบสองทศวรรษได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้น ควรช่วยกันสนทนา ปลอบประโลม และหาทางช่วยเยียวยา อันจะเป็นหนทางช่วยชลอหรือยุติผลงานจากเครือข่ายวิชาการอันเป็นที่สงสัยกันมาตลอดยี่สิบปีนี้ลงได้

โดยอีกส่วน สมาชิกของกลุ่ม “รู้แล้วก็ยังจะทำ” “ตั้งใจ (หลบ)” และที่กระจัดกระจายเบาบางลงไปด้วยเหตุปัจจัยอื่น ๆ อาทิ ทิ้งงาน งบประมาณหมด หลบเลี่ยงการตรวจสอบ ฯ ได้กลับมาร่วมกิจกรรมเวทีควอนตัมคนรุ่นใหม่ของประเทศ อีกครั้ง !

เป็นเรื่องน่าสรรเสริญยิ่งหากบุคลากรทั้งเทคนิคและนโยบายยุค 1990s - 2000s กลับใจแล้วนำ “ประสบการณ์ที่ล้มเหลว” ทุกประเภทในอดีตมาช่วยเหลือเป็นพี่เลี้ยงถอดบทเรียนให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสสำเร็จที่สูงขึ้นด้วยความสื่อสัตย์ (integrity) แต่หากมิใช่และยังไม่สามารถใช้คืนสังคมไทยจากทรัพยากรที่เคยใช้ไป ก็มิควรอย่างยิ่งในการเกาะกระแสเพื่อสนองเป้าหมายส่วนตน ไม่ว่าความต้องการจะเป็นดั่งไอดอลเพ้อฝันไอน์สไตน์เชื้อสายไทย การมีสหายเสกทรัพย์และผลวิจัยได้จากกระเป๋าโดราเอมอนสร้างงานจินตนาการ รวมทั้งการสร้างภาพลักษณ์จากคำว่าควอนตัมโดยต่ออายุงานหรือสานนโยบายยุค “‘classical’ ลองผิดลองถูก” แปะพ่วงไปกับคนรุ่นใหม่ ทั้งหมดนั้นหาได้ช่วยวงการวิทยาศาสตร์ไทยไปสู่ความสำเร็จ ซ้ำร้ายจะสร้างภาระสะสมต่อเนื่องจากยุคเดิมไปสู่อนาคตดังเช่นที่ผ่านมา

 

ทบทวนโครงการวิจัยร่วมสมัย (ฟิสิกส์และวิศวกรรมไฟฟ้า): ตัวนำยวดยิ่ง (1980s) นิวเคลียร์ (1980s) ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (1990s - มากกว่าพันล้าน) ฮอโลแกรม (1990s - มากกว่าร้อยล้าน) ฮาร์ดดิสก์ (2000s - มากกว่าพันล้าน) 3G (2000s - 50 ล้าน) UAV - อากาศยานไร้คนขับ (2000s - 100 ล้าน) นาโนเทคโนโลยี (2000s - มากกว่าพันล้าน) ดิจิทัลทีวี (2010s) เทคโนโลยีควอนตัม (2010s - 200 ล้าน ++) ไปดวงจันทร์ (2020s ++) 5G Use Cases (2020s) และกลับมาไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ชิป) 2024 ++

 

๐ สะกิดนโยบายวิทย์ไทย (ระดับปฏิบัติการ)

ขณะที่เวทีควอนตัมหลักของโลกทั้งยุทธศาสตร์ “เสรีนิยมระดมทุน” ของโลกตะวันตก “วาระซ่อนเร้นการเมือง (propaganda)” ของประเทศจีน โดยสหรัฐอเมริกามีความก้าวหน้าสูงสุดด้านการคำนวณควอนตัม (quantum computing) ส่วนประเทศจีนอยู่แถวหน้าของสาขาการสื่อสารควอนตัม (quantum communications) ปรากฏทรัพย์สินทางปัญญาสูงสุดทั้งจำนวนผลงานตีพิมพ์ สิทธิบัตร และการผลิตบุคลากร ดำเนินกลยุทธด้วยสี่ปัจจัยหลักทั้ง “งบประมาณ” “บุคลากร” “วิทยาการ” และ “นโยบาย” ที่พร้อมสรรพ ทั้งยังมี “กลยุทธเสริมสร้างภาพลักษณ์” อีกด้วย เช่น การจัดตั้งรางวัลเฉพาะทาควอนตัม “ม่อจื้อ” (Micius Prize) วาระชาตินิยมโดยอุ้มนักวิทยาศาสตร์ควอนตัมผู้โด่งดังของโลกมารับรางวัล จึงทำให้สังคมวิชาการด้านนี้ของจีนพร้อมพรั่งทั้งผลงานและภาพมุมบวกที่สร้างขึ้น

(โนเนลยังอาย รางวัลไทยผู้ให้กลายเป็นผู้รับ)


กระนั้น การตรวจสอบของสำนักข่าวจากเยอรมนี (DW) ที่เผยแพร่เมื่อ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๖ ทำให้วงการควอนตัมจีนถูกกระทบหนักหน่วงจากวาระซ่อนเร้นเกี่ยวข้องกลุ่มอุตสาหกรรม (บริษัท Quantum CTek) และวิชาการด้านเทคโนโลยีควอนตัมอันดับหนึ่งของประเทศ (Jian Wei Pan - USTC) ร่วมกับข่าวภาพลักษณ์เกินจริงด้านวิทยาการรหัสลับควอนตัมที่ก้าวหน้ากว่าโลกตะวันตกมาอย่างยาวนานนั้นทยอยถูกตรวจสอบเช่นกัน ซึ่งมาพร้อมกับการเว้นว่างจางหายของรางวัลใหญ่ควอนตัมม่อจื้อไปถึงสามปีแล้ว อีกทั้งเมื่อย่างเข้า ค.ศ.2024 ประเทศจีนยังได้ออกคำสั่งสืบสวนผลงานวิชาการที่อาจฉ้อฉลทุกสาขาของประเทศซึ่งรวมไอทีควอนตัมอยู่ด้วย



ถึงกระนั้น การถูกตรวจสอบและตรวจสอบตนเองจนเป็นข่าวดังจากประเทศจีนหาใช่การขายหน้าของพญามังกรเสียทีเดียว กลับได้ประโยชน์มุมบวกเช่นกัน นั่นคือ เป็นเครื่องมือใช้เพื่อแก้ไขผลพวงอดีต อีกทั้งใช้ “ปราม” เหตุที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตไปพร้อมกัน ผลลัพธ์จากการย้อนเส้นทางเก่าทำให้การเคลื่อนทัพควอนตัมจีนไปข้างหน้าทำได้อย่างสง่าผ่าเผยสมภาคภูมิมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เป็นตัวอย่างจาก “จงกั๋ว” สู่ “ไทกั๋ว” ได้เป็นอย่างดี


 

โดยสรุป การตรวสอบย้อนหลังมิใช่แค่เพื่อลดผลงานเทียม (fabrication) แต่รวมไปถึงปัญหาจริยธรรมวิชาการด้านอื่นทั้ง คัดลอก (plagiarism) ปั้นแต่ง (falsification) ซื้อผลงาน (authorship) การรับรางวัลที่เคยมอบ (conflict of interest) นโยบายแฝงใช้งบรัฐฯ และอื่น ๆ ทั้งยังเป็นเกราะหรือภูมิคุ้มภัยให้กับระดับนักวิชาการนโยบายฝ่ายปฏิบัติการผู้สนับสนุนงานด้วย ดังนั้น สำหรับเวทีควอนตัมไทยรุ่นใหม่ในขณะที่สี่ปัจจัยกลยุทธหลักยังต้องสานต่อความเข้มแข็งอีกมากและยาวนาน ทั้ง “งบประมาณ” “บุคลากร” “วิทยาการ” และ “นโยบาย” ปี 2023 กลับต้องพบเห็นภาพขมุกขมัวผลพวงจากอดีตวิชาการและนโยบายยุค 1990s - 2000s ที่ย้อนมาพร้อมกับ 'ควอนตัมเกินจริง' 'ควอนตัมเทียม' 'ภาพลักษณ์ควอนตัม' โดย 'ควอนตัมขายพ่วง' ยังมาแฝงตัวอยู่ในอุตสาหกรรมไทยเข้าให้อีก … ถึงเวลาทบทวนแผนที่นำทางและตรวจสอบด้านหลังของวงการกันแล้วหรือยัง ?

 

"เรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง"

| ภาค ๕) จดหมายเหตุ ๕๐ ปีควอนตัมไทย | ภาค ๖) 'ธรรมาภิบาล'

 

กาลามสูตร 'พิสูจน์ด้วยตนเอง'

Comments


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page