top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

50 Years Internet & 40 Years QUANTUM Internet | กึ่งศตวรรษอินเทอร์เน็ต vs กึ่งเท็จอินเทอร์เน็ตควอนตัม | Special Report 2024 |

50th anniversary of internet in everyday life with the celebration on 40 years of the rhetoric on quantum internet, what's happening ? and going on ? (ภาษาไทยเลื่อนลงด้านล่าง)
 

Prologue A)

Internet was born on May 1974, when the IEEE Transactions on Communications scientific journal published the seminal paper “A Protocol for Packet Network Intercommunication” by Vinton Cerf and Robert Kahn


Prologue B)

Quantum internet is one of the series on the (1984) quantum key distribution (QKD) or quantum cryptography, that mutated with the contemporary rhetoric to (2018) Quantum Safe Solutions, (2020) Quantum Safe Security, and then (2023) Quantum-Safe-as-a-Service (QSaaS).


Prologue C)

While NCSC (National Cyber Security Centre - UK 2018), NSA (National Security Agency - US 2020), ANSS (Agence nationale de la sécurité des systèmes d’information - France 2022), and BSI (Federal Office for Information Security - Germany 2022) did not recommend QKD, nor any QKD manufacturer has ever implemented it to secure their own networks (7days/ 24hrs) (more info.).


However from the weird national roadmap (2020 - 2029) of Thai quantum technology strategic plan (aka "quantum tech for animal health" - white paper), it targets to implement full quantum internet at the 6th year - 2025, and then expanding for every household at the end of its roadmap (2029) !!!

 

อินเทอร์เน็ตกำเนิดเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1974 ส่วนอินเทอร์เน็ตควอนตัมหรือการสื่อสารเชิงควอนตัมมีต้นกำเนิดจากวิทยาการพื้นฐานด้านรหัสลับด้วยคุณสมบัติทางเฉพาะกิจเมื่อ ค.ศ.1984 โดยแปลงชื่อเปลี่ยนตามกระแสสังคมร่วมสมัยมาตลอดระยะเวลาสี่สิบปี เป็นระบบวิทยาการเอกเทศเงื่อนไขพิเศษยังมิได้เกี่ยวข้องกับระบบไอทีทั่วไปแต่อย่างใด กระนั้น “แผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทย พ.ศ.2563 – 2572” - 20 กุมภาพันธ์ 2563 (หรือที่รู้จักในชื่อรายงานฉบับ "ควอนตัมดูแลสุขภาพสัตว์) ระบุแผนงาน "การสร้างระบบโครงข่ายการสื่อสารความปลอดภัยสูงโดยใช้ระบบควอนตัม (2025)" และมุ่งเป้าการใช้งาน "ทุกครัวเรือน (2029)" !

"อินเทอร์เน็ตที่ใช้งานกันอยู่ทุกวันมีอายุครึ่งศตวรรษแล้ว ส่วนอินเทอร์เน็ตควอนตัม (quantum internet) คือวิทยาการฟิสิกส์พื้นฐานที่นักวิจัยพยายามสร้างวาทกรรมเชื่อมการประยุกต์จากโลกจินตนาการพ่วงเข้ากับระบบไอทีของโลกปัจจุบันมาตลอดระยะเวลาสี่สิบปี"
 

จดหมายเหตุอินเทอร์เน็ต (Internet Milestones)

พ.ศ. ๒๕๑๖ (1973) วินตัน เคิร์ฟ (Vinton Cerf) นําเสนอผลการออกแบบระบบอินเทอร์เน็ตและโพรโตคอลสําหรับแม่ข่ายที่เรียกว่า “ทีซีพี (Transmission Control Protocol: TCP)” สําหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

พ.ศ. ๒๕๑๗ (1974) เดือนพฤษภาคม วารสารวิศวกรรมสื่อสาร (IEEE Transactions on Communications) ตีพิมพ์ “A Protocol for Packet Network Intercommunication” โดยวินตัน เคิร์ฟ (Vinton Cerf) โรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) ต้นกำเนิดระบบอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการ

พ.ศ. ๒๕๒๐ (1977) การทดลองเกี่ยวกับทีซีพีสามารถยืนยันความสามารถในการเชื่อมต่อระหว่างระบบการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ ระบบโทรศัพท์และการสื่อสารผ่านดาวเทียมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายการสื่อสารได้ 

พ.ศ. ๒๕๒๑ (1978) วินตัน เคิร์ฟ จอน โพสเทล และแดนนี่ โคเฮน (Danny Cohen) นําเสนอการแตกองค์ประกอบของโพรโตคอลทีซีพี เป็นเกณฑ์วิธีส่งข้อมูลภายในเครือข่ายและระหว่างเครือข่ายที่เรียกว่า “ทีซีพี/ไอพี (Transmission Control Protocol/Internet Protocol: TCP/IP)” 

พ.ศ. ๒๕๓๓ (1990) มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐมินนิโซตานําเสนอระบบโกเฟอร์ (Gopher) พื้นฐานของการระบุตําแหน่งข้อมูลข่าวสารบนเครือข่าย ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web: WWW) ในปีเดียวกัน ทิม เบอร์เนอร์ลี (Tim Berners-Lee) คิดค้นเครือข่ายเวิลด์ไวด์เวบเป็นครั้งแรก ณ​ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

พ.ศ. ๒๕๓๔ (1991) - ทิม เบอร์เนอร์ลี จากศูนย์วิจัยเซิร์น คิดค้นโปรแกรมเวบเบราวเซอร์ (Web browser) โปรแกรมสําหรับท่องเน็ตตัวแรกของโลก - มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาพัฒนาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ที่ดําเนินการโดยกลุ่มผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตหรือไอเอสพี (Internet Service Providers: ISP) 


(updated:June 24, 2024 - "temporary solution")

 

จดหมายเหตุวาทะกรรมอินเทอร์เน็ตควอนตัม

([The. Rhetoric of] Quantum Internet Milestones)


พ.ศ. ๒๕๓๗ (1984) Quantum key distribution (QKD) - Quantum cryptography

พ.ศ. ๒๕๖๑ (2018) Quantum Safe Solutions

พ.ศ. ๒๕๖๓ (2020) Quantum Safe Security

พ.ศ. ๒๕๖๖ (2023) Quantum-Safe-as-a-Service (QSaaS)


อินเทอร์เน็ตควอนตัมเป็นเพียงวาทกรรมเชิงจินตนาการที่นักวิจัยวาดหวังให้สังคมทั่วไปได้รับประโยชน์ ทว่า กลับเกิดประโยชน์เพียงแก่ตนด้านงบวิจัยหรือวาระอื่นใด โดยสร้างผลทางลบด้านการสื่อสารวิทยาศาสตร์ (science communication)ให้กับสังคมทั่วไปอย่างมาก อาทิ หลากหลายสถาบันวิจัย บริษัทเอกชน และบุคลากรในวงการวิชาการอ้างว่าได้สร้างโครงข่ายการสื่อสารควอนตัม (quantum network - quantum internet) แล้ว แต่จะละเว้นการสาธยายคุณสมบัติที่แท้จริงโดยเฉพาะข้อจำกัดสำคัญของช่องทางพิเศษเพื่อส่งกุญแจรหัสลับควอนตัม (quantum channel) เป็นต้น ซึ่งช่องทางควอนตัมนี้ไม่สามารถต่อเชื่อมเป็นเครือข่ายลักษณะปกติของโลกการสื่อสารหรือระบบไอทีทั่วไปและต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (แทนที่จะรักษาความปลอดภัยให้ระบบโดยไม่มีใครสามารถดักฟังได้ตามอ้าง) เนื่องจากคุณสมบัติเชิงควอนตัมไม่สามารถส่งผ่านชุมสาย (exchange) หรือเครื่องทวนหรือขยายสัญญาณ (repeater) ทั้งนี้ระบบเส้นใยนำแสงหรือแม้แต่ดาวเทียมควอนตัม (trusted relay) นั้น เป็นเพียงสนามสร้างสถานการณ์สมมติหรือจำลองการทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น อีกทั้ง ยังมีการแอบอิงใช้งาน “ชุมสายหรือโหนดที่ไว้ใจได้ Trusted node)” เฉพาะกิจขึ้นมาเพิ่ม เพื่อเชื่อมโยงขยายระยะของช่องทางพิเศษนั้นเข้าด้วยกันตามอำเภอใจ ! (ศึกษาเพิ่มเติม [1] [2])

 

ค.ศ.2024 ปีกึ่งศตวรรษอินเทอร์เน็ตของระบบการสื่อสารจริงที่ยังประโยชน์ทั่วโลกมาครบรอบห้าสิบปี ส่วนกรณีความฝันของอินเทอร์เน็ตควอนตัมกำเนิดมาได้นับสี่สิบปีแล้ว โดยสร้างทั้งโอกาสด้านวิทยาการสู่อนาคตบนพื้นฐานการสื่อสารระบบเอกเทศแนวทางใหม่จากศักยภาพของปรากฏการณ์เชิงควอนตัม พร้อมสร้างปัญหาการสื่อสารวิทยาศาสตร์ไปทั่วโลกด้วยเช่นกันโดยเฉพาะในประเทศไทยที่หนักหนายิ่ง เนื่องจากวาทกรรมเชิงจินตนาการดังกล่าวปรากฏอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของชาติเพื่อเป้าหมายการสร้างใช้งาน ซึ่งไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงทั้งด้านพื้นฐานสังคม เทคโนโลยี และกำหนดเวลาดังที่ระบุ ไม่ว่าจะด้วยทรัพยากรหรือความพยายามสักเพียงใด !


และ ณ ปีเดียวกันนี้ แผนที่การพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทย (พ.ศ.2563 – 2572) ดังกล่าวได้นำทางสังคมไทยมาถึงครึ่งแผนงานแล้ว ก่อนที่จะ 'ซ้ำรอยอดีต' อีกครั้งใหญ่ถึงเวลาอันเหมาะสมหรือยังที่ระดับนโยบาย Frontier Research ผู้เริ่มต้นจดหมายเหตุหลักไมล์อันพิลึกพิลั่นนี้ไว้ ได้ยอมรับความเป็นจริง ทบทวน ปรับปรุง และแก้ไขด้วยความถ่อมใจ ?


 

คอลัมน์ "เตือนใจควอนตัมไทย"

| ภาค ๕) จดหมายเหตุ ๕๐ ปีควอนตัมไทย | ภาค ๖) 'ธรรมาภิบาล'

 

Comments


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page