QuantumIT 2021 - Thai Science Self-Quarantine - ปีแห่งการกักตนเองกับรางวัล ภาพลักษณ์ และคำสรรเสริญ
สารคดี “การสร้างภาพลักษณ์ให้กับรางวัล (เมษายน ๒๕๖๔)” กับยุทธศาสตร์การสร้างภาพลักษณ์ด้วยรางวัลด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำนักใหม่ ๆ ที่กำลังขับเคี่ยวกันอย่างคึกคักทั่วโลก (ภาค ๑ และ ภาค ๒) ประกอบไปด้วยเรื่องราวรางวัลดังหลายแห่ง ทั้ง
๑) รางวัลควอนตัม 'ม่อจื้อ' (Micius prize) รางวัลนานาชาติใหม่เพิ่งเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๖๑
๒) รางวัลล้านเหรียญของภายในประเทศจีน (Future Science Prize)
๓) รางวัลนานาชาติ the Millennium Technology Prize 1 ล้านยูโร
๔) รางวัลนานาชาติ QEprize - Queen Elizabeth Prize for Engineering £1 ล้านปอนด์
๕) รางวัลนานาชาติสามล้านเหรียญกับการพัฒนาครั้งสำคัญ (The Breakthrough Prizes)
โดยสารคดีนี้มีบทเรียนสอนใจคือ ขณะที่โลกภายนอกเกิดการแข่งขันสร้างผลงานจริงและสร้างภาพลักษณ์และเครือข่ายด้วยรางวัล อันเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาปกติจากโลกตะวันตกจนมาถึงประเทศจีนที่เริ่มทำการคล้ายคลึงกัน ไม่ว่ารางวัลใหม่จากประเทศจีนจะยั่งยืนความขลังได้ใกล้เคียงรางวัลของฟากตะวันตกและมีวาระซ้อนเร้นหรือไม่ก็ตามจากวิธีปฏิบัติที่แปลกใหม่ (เช่นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับตัวรางวัลควอนตัม 'ม่อจื้อ' ด้วยการเชิญผู้มีชื่อเสียงต่างชาติมารับรางวัลจนเกือบหมดบุคลากรแถวหน้าของวงการแล้วในเวลาเพียงสามปี) แต่ถึงอย่างไรผลดียังคงมีต่อทั้งวงการและตัวผู้รับรางวัลนั้นด้วยแน่นอน ดังนั้น เมื่อเทียบกับรางวัลโนเบลที่มีมากว่าร้อยปีแล้วนั้น กลยุทธของรางวัลใหม่ระดับโลกทั้งห้าตัวอย่างที่ได้ออกมาท้าทายวงการนี้ จึงควรค่าแก่การติดตามศึกษาลึก ๆ กันต่อไป
แต่สำหรับกรณีของประเทศไทย กลับพบว่ามีหนึ่งรางวัลสำคัญระดับชาติที่เริ่มมาตั้งแต่กลางทศวรรษ ๒๕๔๐ เมื่ออายุผ่านมาถึงทศวรรษที่สอง ปรากฏชื่อผู้สนับสนุนการให้รางวัล กลับกลายมาเป็นผู้รับรางวัลที่ตนมีส่วนร่วมสร้างขึ้นนั้นมาเสียเอง !
และขณะที่สังคมยังงุนงงกับยุทธศาสตร์รางวัลไทยนั้นท่ามกลางสมรภูมิข่าววิทย์เทียมที่ปรากฏอยู่ทั่วไป (กล้องส่องผี แผ่นประหยัดพลังงาน เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพเทียม “ควอนตัมลวงโลก” ฯลฯ) โดยยังคงไม่มีการสื่อสาร #วิทย์เพื่อสังคม เป็นหลักจากหน่วยงานและบุคคลภาครัฐฯที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องวิทย์ลวงโลกเหล่านั้น ซึ่งต่างจากกรณีแถลงข่าว #วิทย์เพื่อภาพลักษณ์ จัดกิจกรรมที่กระทำได้รวดเร็วและบ่อยครั้ง อีกทั้ง ในปีแห่งการระบาดใหญ่ไวรัสโคโรนา (COVID19) ที่ปรากฏมีข่าวเครื่องมือวิทยาศาสตร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลวงโลก และสินค้าอ้างวิทยาศาสตร์เทียมอื่น ๆ จำนวนมาก เพิ่มปัญหาซ้ำเติม ... แต่กระนั้น ช่วงเวลายามวิกฤตดังกล่าว สังคมไทยกลับได้มาพบกับการแถลงข่าวภาพลักษณ์รางวัลตนคนกันเองเพิ่มขึ้นมาอีกครั้งแทน
ดังนั้น ปี พ.ศ.๒๕๖๔ ของสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย จึงจัดได้ว่าเป็น
ปีแห่งการกักตนเองกับรางวัล ภาพลักษณ์ และคำสรรเสริญ
(ที่มา)
โครงการวิทย์คนละครึ่ง (พ.ศ.๒๕๖๔) | วิทย์เพื่อภาพลักษณ์ | การสร้างภาพลักษณ์ให้กับรางวัล (เมษายน ๒๕๖๔) (ภาค ๑ และ ภาค ๒)
ติดตามสรุปข่าวไอทีควอนตัมและที่สุดแห่งปีย้อนหลังได้ที่นี่
Comments