top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

ไอทีควอนตัมถูกแฮก - Quantum Hacking ?

ไหนว่ารหัสลับควอนตัมเกิดมาสมบูรณ์แบบแต่กลับมีข่าวโดนแฮกกันตั้งแต่นอร์เวย์ไปแคนาดาแล้วโผล่มาเมืองไทยอีกด้วย ข่าวนี้ดังมากขนาดที่บีบีซี (BBC) ก็เล่น คนเด่นดังก็ติดตาม “รหัสลับควอนตัมปลอดภัย 100%” ที่เคยประกาศนั้น เป็นเรื่องโม้กันอีกแล้วหรือ เมืองไทยและทั่วโลกโดนหลอกและเกิดการไล่ล่าทางเทคโนโลยีอีกสนามแล้วหรือนี่ ?

(republished 2016 - Daily news online)

เริ่มจากเรื่องแฮกปกติทั่วไปของข่าวบ้าน ๆ ที่คุ้นกันก่อน หากมีใครแฮกระบบใครจะมีการฝ่าด่านแอบเข้าไปขโมยและทำมิดีมิร้าย เช่น เปลี่ยนข้อมูลหรือทิ้งปัญหาทั้งที่จงใจให้ทราบหรือไม่ก็ตาม เช่น การแฮกระดับโลกโดยกลุ่ม “OurMine” ที่ถูกระบุว่าเกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือได้แฮกรุกระบบของโซนี่พิกเจอร์ฯ และปล่อยข้อมูลความลับที่ขโมยออกมาเพื่อต่อรองเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2557 หรือล่าสุดมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (Berkeley)* ออกข่าวเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2559 ว่ากำลังสำรวจระบบคอมพิวเตอร์จากการถูกโจมตี (cyberattack) บนข้อมูลการเงินของทั้งนักศึกษา ศิษย์เก่า ฯลฯ ร่วม 80,000 รายชื่ออันมีช่องโหว่ (data breach) ซึ่งแน่นอนว่าคือการแอบเข้าไปโดยเจ้าของไม่ทราบแม้คิดว่าป้องกันดีแล้ว ส่วนในประเทศไทยก็มีทั้งกรณีแฮกเวปกระทรวงและหน่วยงานด้านยุติธรรมและอื่น ๆ มีโดนกันอยู่เนือง ๆ เป็นภัยด้านความมั่นคงยุคใหม่ที่ต้องรับมือให้ทัน

และในเมื่อมีมืออาชีพอยู่มากรวมทั้งพวกร้อนวิชาก็เยอะ 2 มีนาคม (2559) ที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมอเมริกาจึงย้อนศรกันเลยด้วยการสร้างระบบป้องกันแล้วกวักมือเชิญเซียนเหล่านั้นมาถล่มเพื่อหาจุดอ่อนกับภารกิจ “Hack the Pentagon**” จะแฮกมาจากที่ไหนก็ว่าไปแต่ไม่ได้ให้เข้าไปอยู่หลังกำแพงที่สร้างขึ้นเพื่อท้าให้หาช่องโหว่ไปปรับปรุงนี้ … เน้น ๆ ตรงกันก่อนว่าการแฮกเป็นแบบนี้

กลับมาเรื่องไอทีควอนตัมถูกแฮก แล้วอย่าเพิ่งหงายหรือหันหลังกลับหากได้ทราบว่านักฟิสิกส์เขา “แฮกแสง (โฟตอน)” แล้วก็ตะลอนบอกชาวบ้านว่าระบบควอนตัมไม่ปลอดภัย แบบนี้จริง ๆ … คุยเรื่องแฮกกันคนละโลกแต่พยายามใช้คำให้เป็นเรื่องเดียวกัน

ข้อสังเกต: รหัสลับควอนตัมสมบูรณ์แบบป้องการต่อท่อร้อยสาย (eavesdropping/ wire tapping) หรือการขโมยระหว่างทาง แต่กิจกรรมแบบที่นักฟิสิกส์กลุ่มนอร์เวย์และแคนาดาแจ้งมานานแล้วเรื่องเทคนิคการไปแอบฝังตัวอยู่ในภาครับแสง (detector) โดยเปิดฝาเครื่องนั่งต่ออุปกรณ์สารพันที่บ้านเจ้าของนั้น เขาเรียกว่าปล้น (ไม่ใช่การขโมย) และปล้นระดับโฟตอนหรือแสง (physical layer) มิใช่ตัวข้อมูล (higher layers) ไม่มีมุมด้านมาตรฐานวิศวกรรมการสื่อสาร (OSI) ที่ปฏิบัติได้ครบในระบบไอที

และหากเดินเข้าไปปล้นแสงได้ที่หน่วยงานเป้าหมายแบบนั้นจะต่อสายไฟเบอร์ (optical fiber) ให้ยุ่งยากแล้วค่อยไปแฮกหาแบบพระลอตามไก่อะไรทำไมกัน ? ก็ขอรหัสผ่าน สำเนาข้อมูลหรือยกเครื่องไปเลยง่ายกว่า หากเข้าถึงที่แล้วนั่งทำงานต่อได้สบายใจอีกแสดงว่าสมรู้ร่วมคิดกับเจ้าของบ้าน … คำว่าแฮกจากวงการไอทีสารสนเทศปัจจุบันได้ถูกนักฟิสิกส์ร้อนวิชาพาไปใช้แบบนั้น นั่นเอง !


แม้ชื่อจะเป็นการแฮกเชิงควอนตัมแต่แท้จริงเป็นการเล่นกับคุณภาพเชิงลึกของอุปกรณ์รับแสง (quantum efficiency) เพื่อจัดการโฟตอนของนักฟิสิกส์ แล้วมายืม (โดยไม่มีใครอนุญาต) เอาคำว่าการแฮกไปใช้ ทว่า กลับดังสนั่น ! … งานวิจัยแนวนี้มีวิชาการเป็นเลิศ (loopholes in quantum) ลงตีพิมพ์ในวารสารดังระดับโลก (Nature) ได้อีกต่างหากและมากเสียด้วย

ควรช่วยกัน: สื่อสารว่างานแบบนี้มิใช่เรื่องในโลกความเป็นจริงของการแฮกเป็นช่องว่างความหมายต่างวงการ ผู้ที่ทำงานนี้เองก็มักมากับคำอุดมคติหรือให้เงื่อนไขแบบสมมติว่า (ideally, if, as if, assume, theoretical examined) ปรากฏอยู่กับผลงาน

เคยมีคำถามต่อดุษฎีบัณฑิตฟิสิกส์ของต่างประเทศที่ทำผลตีพิมพ์ยอดเยี่ยมและจบการศึกษาในเรื่องนี้ว่า “การแฮกเขาต้องทำจากภายนอก (remote) เจาะระบบเข้าไป นี่เล่นไปเปิดฝาเครื่องของชาวบ้านเขาหรือ ?” คำตอบเป็นอีกหนึ่งช่องว่างระหว่างนักฟิสิกส์กับวิศวกรที่ต้องมาช่วยกันลด คือ ดูนี่ ก็ลากสายไฟเบอร์ต่อจากเครื่องนั้นออกไปนั่งทำภายนอกที่ไหนก็ได้ไง … อ้าว !

มีสรุปสองสิ่งในวงการให้คำจัดความ quantum hacking ว่าคือโฆษณาแฝง (self-promote) เป็นบ่อดักให้คนหลงสนใจบริษัทขายเครื่องรหัสลับควอนตัม*** และอีกพวกที่ทำงานเด่นดีด้านตัวรับแสงแต่กลับตั้งชื่องานให้เอียงสีข้างเข้ามาพ่วงชื่อเสียงของรหัสลับควอนตัม เป็นทั้งการ ลองวิชา อุดมคติ และความไม่สมบูรณ์ของอุปกรณ์ แต่ไปเอาชื่อจากโลกไอทีเดิมมาใช้จนป่วน

ข้อมูลสาธารณะ (Business Insider)**** มีแจกแจงแบบง่าย ๆ สำหรับวงการธุรกิจไอทีเพื่อไม่ให้ตกหลุมข่าวการแฮก (เก้อ) ทำนองนั้นด้วย ทว่า เมืองไทยยังคงมีนักวิชาการส่งเสียงเบา ๆ ว่าเล่นอยู่กับการแฮกควอนตัม ที่สำคัญกว่านั้นมีผู้บริหารวิทย์และเทคโนฯไทยหลุดไหลไปกับแค่เพียงหัวข้อข่าวด้วยแล้วแบบ “ไม่ชัด แต่เชื่อ แล้วรีบแชร์” แย่เลย …


- จบ


--------------------------------------

*** คล้ายเรื่องไวรัสคอมพิวเตอร์ที่หลายพันธุ์ถูกปล่อยออกมาจากบริษัทขายซอฟท์แวร์กำจัดไวรัส (anti-virus) นั้นเสียเอง ****http://goo.gl/ybCA0i

Comentarios


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page