top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

ควอนตัมกับสิ่ง “มีชีวิต”vs“ไม่มีชีวิต” | Quantum Biology (4) | เมื่อปู่โนเบลโดนสอบ (Luc Montagnier)

ดีเอ็นเอ (DNA) เคลื่อนย้ายส่งถ่ายตนเองในไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ได้จริงหรือ ?

จากข่าววิทยาศาสตร์หนึ่งเมื่อต้นปี ค.ศ.2011 ในวารสาร “NewScientist” ได้ทำให้โลกตื่นตะลึง ทั้งทึ่ง งง ผสมโรงด้วยดอกไม้และก้อนอิฐจนเงียบลงไปพักยก แต่ก็ทำให้เกิดกรณีศึกษาทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์แล้วก็ตัวนักวิทยาศาสตร์ผู้เปิดประเด็นอย่างเมามัน

กรณีนั้นคือ อดีตนักวิทย์ฯ รางวัลโนเบลตัวจริงโดนกระหน่ำว่าเพี้ยนควรไปรับรางวัล“อิคโนเบล (Ig Nobel)” ด้วย … อะไรกันนั่น ไปไกลเลยหรือ ? ปรมาจารย์ ลุค มองตากนีแยร์ (Luc Montagnier) หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลในปี ค.ศ.2008 จากการค้นพบว่าไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDS) ที่ได้รับการสรรเสริญดังไปทั่วโลก มานำเสนองานวิจัยชิ้นใหม่อีกชิ้น แล้วก็ดัง (ตุ๊บตั๊บ) ไปทั่วปฐพีอีกรอบ … นั่นแล

ดังนี้ เหล่านักวิทย์ฯ ทั่วโลกทั้งฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาแถมกองเชียร์และแช่งทุกสาขาจึงได้เวลารวมตัวตามแกะรอยกัน เพราะวิทยาศาสตร์ต้องทำซ้ำได้พิสูจน์ได้ไม่ใช่นิยายและหากเป็นจริงโลกจะตะลึงไปอีกนาน ที่ได้รับการกล่าวถึงและเป็นที่ถกเถียงกันในข่าวนั้นคือ ศาสตราจารย์วัยกว่าแปดสิบกระรัตท่านนี้ลงบทความงานวิจัยฉงนที่รายงานว่า ดีเอ็นเอในสภาวะที่เจือจางมากๆ (ความเข้มข้นต่ำมาก) สามารถส่งผ่านข้อมูลโครงสร้างของมันไปยังน้ำเปล่าที่อยู่อีกหลอดทดลองหนึ่งภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ ซึ่งตรวจสอบได้จากสัญญานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMS) และน้ำเปล่าที่รับเอาข้อมูลโครงสร้างของดีเอ็นเอไว้ก็จะมีการจัดเรียงโมเลกุลใหม่ เสมือนได้มีดีเอ็นเอต้นฉบับมาอยู่ด้วยแล้วจากปฏิกิริยาลูกโซ่ (PCR) … โอ้โห !


งานนี้พยายามนำหลักการทฤษฎีสนามเชิงควอนตัม (quantum field theory) มาใช้ จนทำให้ผู้ติดตามตีความว่า หากเป็นไปตามผลที่แจ้งนั้นคุณปู่ประสงค์จะบอกชาวโลกว่าเป็นการส่งถ่ายควอนตัมในระดับหน่วยพันธุกรรม แถมมีการนิยามตามมาว่าเป็น“รอยประทับควอนตัม (quantum imprint)” ไปซะเลย … จิกกันทั่ววงการ


กระทั่งมีทั้งเสียงกระหน่ำวิพากษ์รวมทั้งกลุ่มลังเลให้รอผลต่อไปอีกสักระยะ แต่พอมาถึงผลงานอีกชิ้นในปีถัดไปของคุณปู่คราวนี้ไม่ต้องรีรอกันต่อแล้ว แบบที่สะเทือนถึงบุพการีก็โถมถามาหาปู่หนักหน่วงเรื่องเกี่ยวกับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากดีเอ็นเอของแบคทีเรีย (Electromagnetic signals …. from bacterial DNA sequences)

ไม่ใช่เรื่องเทคนิคแต่เป็นความประหลาดเพราะงานนี้ยื่นส่งให้วารสารพิจารณาเมื่อ 3 มกราคม ค.ศ.2009 ตามด้วยฉบับแก้ไขปรับปรุงแล้ว 5 มกราคม (สองวันต่อมา) แล้วก็ตอบรับเพื่อตีพิมพ์วันที่ 6 มกราคม (ข้ามคืนถัดไป) รวมสามวันจบ !

จากที่งานปกติเขาทำกันหลายเดือนจนข้ามปี

“หา... อะไรนะ... สามวัน ?” ใช่... สามวันเสร็จพร้อมตีพิมพ์ “โอย...”

งานนี้จึงเรียกแขกให้ Paul Zachary หรือในนาม "PZ" Myers อาจารย์ด้านชีววิทยาชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยมินิโซตา มอร์ริส (UMM) ถึงกับหลุด...

อะไรนี่ “ใครพิจารณางานชิ้นนี้ มารดาเจ้าของงานหรือบุคคลใกล้ชิด หา … (Who reviewed this, the author's mother? Maybe someone even closer)” อาจารย์เล่นคนแก่ซะแรงเลยนั่น

ไล่ดูชื่อ ปรากฏว่าคุณปู่โนเบลก็มีชื่อเป็นประธานบรรณาธิการวารสารที่ตีพิมพ์นี้ซะเองด้วยเลย อ้าว !

อืม.. กรณี ลับ ลวง พลาง ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็แล้วแต่ ในวงการวิชาการมีพบได้เหมือนกัน (แม้ในประเทศไทย) แต่คงไม่คาดคิดว่าจะเกิดกับนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล … ยิ่งได้รับเกียรติ ยิ่งต้องรักษาเกียรติ ถึงรับโนเบลมาแล้วก็ไม่พ้นการตรวจสอบ ของดีต้องดีกันแบบยั่งยืน ทนทานต่อการตรวจสอบ มหากาพย์เรื่องนี้ยังว่ากันต่ออีกยาว

ส่วน … ดีเอ็นเอกับควอนตัมจึงงึมงำเงียบงันกันไปเลยเพราะข่าวกรณีหลังแย่งซีนกลบสนิท ณ บัดนั้น

 

ชีววิทยาเชิงควอนตัม (Quantum Biology) หมายถึงควอนตัมของ “ส่ิงมีชีวิต” แน่แท้หรือ ?

 

(บันทึกคอลัมน์เก่าจากนสพ.ไอทีเดลินิวส์เดิม: ๔๘/2014) (https://goo.gl/mweojf)

Commenti


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page