top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

Proposal & Activities: IYQ2025 & ThaiYQ2025 | รายละเอียดโครงการ หนึ่งร้อยปีควอนตัมโลก ครึ่งศตวรรษควอนตัมไทย | #WorldQuantum100 #ThaiQuantum50 |

โครงการหนึ่งร้อยปีควอนตัมโลก ครึ่งศตวรรษควอนตัมไทย

100th World & 50th Thai Quantum S&T Anniversary


โดย (by)

ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ (Dept of Phys & Mats)

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Fac. of Sc., CMU)


ร่วมกับ (in cooperated with)


สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE Communications Society - Thailand chapter) 

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section)



(เวปหลักโครงการ - Main Web)

Message from IEEE Thailand Section QuantumIT

 

เกริ่นนำ

๑. ที่มาและที่จะดำเนินไป

โครงการ ‘หนึ่งศตวรรษควอนตัมโลก ๕๐ ปีควอนตัมไทย พ.ศ. ๒๕๖๘’ นี้จะจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์พร้อมกิจกรรมเสวนา การส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับวิทยาการกลศาสตร์ควอนตัมในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีการกำเนิด (พ.ศ.๒๕๖๘) และเพื่อรวบรวมและจัดการองค์ความรู้และและประวัติความก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยจัดทำ ‘จดหมายเหตุห้าสิบปีควอนตัมไทย (พ.ศ.๒๕๑๘ - ๒๕๖๘)’ ให้เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษาค้นคว้าอ้างอิง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนัก และรู้เท่าทันสู่การคาดการณ์การประยุกต์เทคโนโลยีเชิงควอนตัมแห่งในอนาคตได้อย่างยั่งยืน โดยจะต่อยอดความสร้างความร่วมมือของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม นโยบายและสังคมทั่วไปเพื่อสร้างเป็นเครือข่ายจัดหาอุปกรณ์วิทยาศาสตร์กำเนิดปรากฏการณ์ควอนตัมพื้นฐานเพื่อการเรียนรู้สาธารณะสำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปในอนาคต


๒. ความร่วมมือ ความเชื่อมโยง และความสอดคล้องกับกิจกรรมในอดีต

โครงการ ‘หนึ่งศตวรรษควอนตัมโลก ๕๐ ปีควอนตัมไทย พ.ศ. ๒๕๖๘’ นี้ร่วมจัดกิจกรรมกับ IYQ 2025 ของยูเนสโก โดยต่อยอดจากกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ประจำปีของภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกิจกรรมสาธารณะของกลุ่มวิจัยสารสนเทศเชิงควอนตัมไทย (Thai Quantum Information Forum) ด้านสะสมองค์ความรู้ ทรัพยากรวิจัย และบริการวิชาการอื่น ๆ (Q-Thai.Org - www.quantum-thai.org) รวมทั้งประสบการณ์จากกิจกรรมนานาชาติร่วมกับพันธมิตรวิชาการสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมโทรคมนาคมอื่น ๆ ทั้งการจัดประชุมวิชาการและกิจกรรมวิทยาศาสตร์สาธารณะ อาทิ


๐ กิจกรรมประจำปีสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ภาคเหนือตอนบน

๐ ตัวแทนประเทศไทยเจ้าภาพกิจกรรมยูเนสโก (UNESCO’s procliamed events) กิจกรรมปีสากลแห่งแสงและเทคโนโลยีแสง (International Year of Light 2015)

กิจกรรมวันสากลแห่งแสงและเทคโนโลยีแสง (International Day of Light 2018 - 2024)

๐ การจัดประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติจำนวนมาก  

๐ เสวนาสาธารณะ (Dinner Talk) “ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย”

ครั้งที่ ๑ (2560) & ครั้งที่ ๒ (2564) (www.quantum-thai.org/dinner-talk)


๓. วัตถุประสงค์

๓.๑  เพื่อจัดนิทรรศการ กิจกรรมเสวนา การส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ดีเกี่ยวกับวิทยาการสาขากลศาสตร์ควอนตัม IYQ2025 ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีการกำเนิด (1925 - 2025) ร่วมกับยูเนสโก

๓.๒  เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และและประวัติความก้าวหน้าที่เกี่ยวข้องของประเทศไทยจัดทำ “จดหมายเหตุหนึ่งร้อยปีควอนตัมโลก ห้าสิบปีควอนตัมไทย พ.ศ.๒๕๖๘”’ ให้เป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้ศึกษาค้นคว้าอ้างอิง ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนัก และรู้เท่าทันสู่การคาดการณ์การประยุกต์เทคโนโลยีควอนตัมแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน

๓.๓  เพื่อต่อยอดความร่วมมือสร้างเครือข่ายภาคการศึกษา ภาคอุตสาหกรรม นโยบายและหน่วยงานวิชาชีพทั้งระดับชาติและนานาชาติ สู่การจัดหาอุปกรณ์ปรากฏการณ์ควอนตัมพื้นฐานในอนาคตเพื่อการเรียนรู้ สร้างความคุ้นเคย และการฝึกอบรมสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปเป็นสาธารณะ  


คำสำคัญ (keywords); วิทยาศาสตรศึกษา (science education) การสื่อสารวิทยาศาสตร์ (science communication) การจัดการความรู้ (knowledge management) การจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์ (sciecne faur) สารสนเทศ (ไอซีที) เชิงควอนตัม (quantum information & communications technology) การสร้างทรัพยากรและสื่ออนาคต (future resources) จดหมายเหตุควอนตัมโลกและประเทศไทย (World and Thai quantum milestones) การพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ (human resource development & networking)


๔. ขอบเขตการดำเนินงาน

การดำเนินโครงการนิทรรศการ กิจกรรมเสวนา จัดทำจดหมายเหตุประวัติศาสตร์และการสร้างเครือข่ายในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีควอนตัมโลก ๕๐ ปีควอนตัมไทย  พ.ศ. ๒๕๖๘ มีขอบเขตการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้


๔.๑ นิทรรศการ ‘หนึ่งศตวรรษควอนตัมโลก ๕๐ ปีควอนตัมไทย พ.ศ. ๒๕๖๘’  ณ ภาควิชาฟิสิกส์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๔.๒ กิจกรรมงานวันวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ณ ภาควิชาฟิสิกส์ฯ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “เสวนานาระดับนโยบายการศึกษาและวิทยาศาสตร์ — ควอนตัมกับอนาคตประเทศไทย” 

๔.๓ จัดทำ “จดหมายเหตุหนึ่งร้อยปีควอนตัมโลก ห้าสิบปีควอนตัมไทย พ.ศ.๒๕๖๘” รายงานสาธารณะในวาระครบรอบหนึ่งร้อยปีของกลศาสตร์ควอนตัมที่องค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศเฉลิมฉลอง และคลังข้อมูลดิจิทัล (digital archives & virtual platform) เพื่อการสืบค้นในอนาคต


๕. ระยะเวลาดำเนินการ

มกราคม - ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๘  


๖. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

นิทรรศการระยะยาว “จดหมายเหตุ ๑๐๐ ปีควอนตัมโลก ๕๐ ปี ควอนตัมไทย (พ.ศ.๒๕๖๘)”  ณ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  พร้อม “จดหมายเหตุหนึ่งร้อยปีควอนตัมโลก ห้าสิบปีควอนตัมไทย พ.ศ.๒๕๖๘” และรายงานสรุปกิจกรรมเสวนาการร่วมเฉลิมฉลอง IYQ2025 กับทุกภาคส่วนทั่วโลก โดยทุกผลผลิตสื่อพร้อมให้บริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโดยควบคู่ไปกับสื่อวีดีโอและนิทรรศการออนไลน์สร้างความเข้าใจสาธารณะอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทรัพยากรหรือผลผลิตทั้งหมดที่ได้รับตลอดโครงการจะหลอมรวมเป็น “ศูนย์การจัดการความรู้ควอนตัมไทย” โดยหลังจบโครงการจะได้รับการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่องร่วมกับเครือข่ายสาธารณะต่อไปเพื่อต่อยอดความร่วมมือสู่การจัดหาอุปกรณ์ปรากฏการณ์ควอนตัมพื้นฐานในอนาคตเพื่อการเรียนรู้ สร้างความคุ้นเคย และการฝึกอบรมสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปเป็นสาธารณะต่อไป

 

ตารางกิจกรรม

(updated - Jan 5, 2025)

Events

Details

Remarks

OPENING ceremony: 

February 2025


Communications Week & Science Day - The Exhibition & Symposium

August 2025

@Chiangmai University and online

Keynote Talks

Distinguished Lectures 

Panel Discussions

History Seminars

TBD - Link

@Chiangmai University and @IEEE Thailand Section AGM

“50th Thai Quantum Milestones”

TBD - Link

Pictorial book project

Oral History & Interviews (.)

TBD - Link


Lectures (ICT, AI & Quantum IT)

TBD - Link


Thai IEEE Mentoring program

TBD - Link

@IEEE Thailand Section AGM

Dinner Talk (tri-parties)

November 2025

@IEEE Thailand Section AGM

ONLINE General Talks

2nd week - monthly

Remarks

February

(Invited)

ห้าสิบปีการเรียนรู้กลศาสตร์ควอนตัมไทย : รำลึกอดีตสู่อนาคต

March

(Invited)

การสร้างฐานความรู้ฟิสิกส์ ณ โรงเรียนวิทย์ (.)

April

(Invited)

การสื่อสารวิทยาศาสตร์ท่ามกลางข่าวควอนตัมเทียม

May


Bibliometric Analysis on Quantum Research Support for Thailand -- สถานะการณ์แท้จากสถิติวิจัย

June

(Inviting)

การสร้างภูมิคุ้มกันควอนตัมเทียมภาคประชาชน

July


Inclusive Education System - การเรียนรวม ตัวอย่างสู่การทำความเข้าใจ "ควอนตัม"

August


Tech Trend Talks - การลงทุนธุรกิจควอนตัม: กรณีศึกษาของ (...)

September


การโหนจาก '๑๐๐ ปีทฤษฎีสัมพันธภาพไอนสไตน์ (2015)' สู่ '๑๐๐ ปีควอนตัมโลก (2025)'

October

(Inviting)


November


ONLINE International - Talks

3rd week - monthly

Remarks


February


(Quantum@EU) -

March


QKD - Quantum business model: How does it works ?

April

(Inviting)

(Quantum@China) - My Experiences in Quantum Learning at USTC

May

(Inviting)

Quantum Research & Learning at Special Science School

June

(Inviting)

(Quantum@Korea) -

July


FACTs of Quantum Random Generations

August

(Inviting)

(Quantum@Japan) - NICT

September

(Inviting)

PQC & QKD - Quantum’s market perspectives

October

(Inviting)

(Quantum@Singapore) -

November


ONLINE - Tours

"นักศึกษา นักวิจัยไทยในต่างแดน"

4th week - monthly

Remarks


February


(AUS) “ทัวร์งานวิจัยนักศึกษาควอนตัมไทยจากออสเตรเลีย”

โดย คุณร่มธรรม ศรีพจนารถ นักศึกษาระดับปริญญาเอก Western Sydney University ประเทศออสเตรเลีย

(tentative topic: March)

UK

April


US

May


CN

June


JP

July


SG

August


FR

September

(Inviting)

CA

October



November


 

บทความรับเชิญ: (ร่างหัวข้อ)

๐ "ความร่วมมือกับควอนตัมจีน"

๐“พัฒนาการวงการวิทยาศาสตร์ไทย อดีต ปัจจุบัน และแนวโน้มอนาคต”

๐ "การแก้ไขแผนที่นำทางยุทธศาสตร์ควอนตัมไทย"

๐ "ศาสนากับวิทยาศาสตร์ฯ" "การเมืองกับควอนตัม !" ... ฯลฯ

 

Partners:

| Gold | Silver | Bronze |


การสนับสนุนจะได้รับการประชาสัมพันธ์ใน

๑) จดหมายเหตุควอนไทย (พ.ศ.๒๕๖๘) ฉบับพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์  

๒) เวทีเสวนา “สังคมไทยจากยุคโทรเลข เอไอ สู่ไอซีทีควอนตัมแห่งอนาคต” งานเลี้ยงบรรยาย (dinner talk) และบรรยายพิเศษวิชาการและอุตสาหกรรม (distinguished lectures) 

๓) นิทรรศการห้าสิบปีควอนตัมไทย  

๔) จดหมายข่าวรายงานกิจกรรมนานาชาติ (IEEE Global Communications Newsletter)

๕) สื่อเผยแพร่ของ IEEE ComSoc Thailand และรายงานในที่ประชุมใหญ่สมาชิกสมาคมประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ (IEEE Thailand section annual general meeting)

 

ผู้ดำเนินโครงการ (project members)


1) รศ.ดร.สุภาพ ชูพันธ์ (หัวหน้าโครงการ)

หัวหน้าภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์และหัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัย applied physics research lab.

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทรศัพท์: ๐๘๑ ๙๕๑ ๒๖๖๙ 

ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์: thailand_chapter@comsoc.org


2) ผศ.ดร.ชลิต วณิชยานันต์ (ผู้ร่วมโครงการ)

ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

(อดีตรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและหัวหน้าสาขาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 

3) ผศ.ดร.วีระ เพ็งจันทร์ ภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 

คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง


4) คุณวิทยา รักษ์พงษ์ 

เหรัญญิก สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand section) 


5) ดร.เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์  (เลขานุการโครงการ)

ประธานสาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE communications society) 

และกลุ่มไอทีควอนตัม (IEEE Thailand section quantum information technology group)

สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand section) 


หน่วยงานหลัก (Organizer)
ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมายเหตุ:

ร่วมเสนอแนะ สนับสนุน ประสานกิจกรรมได้ที่ contact email: thailand_chapter@comsoc.org

 

Alliance:

 

ภาคผนวก ก)

จดหมายเหตุ และสรุปย่อวิทยาการควอนตัมโลก (World Quantum Milestones)


การรวบรวมเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากรูปแบบการเก็บบันทึกเอกสารและหลักฐานต่างๆ ที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ผ่านกระบวนการ คัดเลือก และวิเคราะห์ โดยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ในรูปแบบจดหมายเหตุเข้าด้วยกัน เพื่อนำเสนอและเผยแพร่ในรูปแบบที่สื่อเข้าใจได้ง่ายจะก่อให้เกิดการเสริมสร้างองค์ความรู้ในรูปแบบทางเลือก อันเป็นสิ่งสำคัญพื้นฐานสำหรับการพัฒนาศักยภาพเพื่อการพัฒนาประเทศได้อีกทางหนึ่ง รวมทั้งสามารถใช้เสริมสร้างเอกลักษณ์ของประเทศและความภาคภูมิใจ ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ตระหนัก และรู้เท่าทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้วย


วิทยาการด้านกลศาสตร์ควอนตัมว่าด้วยสิ่งที่สิ่งประสาทสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์เข้าถึง "รูป รส กลิ่น เสียง และกายสัมผัส”โดยตรงไม่ได้ ต่างจากกรณีของแสงที่มนุษย์รับรู้ได้จากการมองเห็นทั้งภาพ สีหรือความสว่าง และสัมผัสซึ่งอุณหภูมิหรือความร้อนที่เปลี่ยนแปลงตาม ฯ ดังนั้น การศึกษาเรียนรู้วิทยาการนี้จึงอาจรู้สึกว่ายาก แต่หากได้ทำความเข้าใจควบคู่ไปกับวิทยาการด้านแสงที่พบเห็นพัฒนาการอยู่ก่อนและคุ้นเคยมากแล้ว อาจเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เข้าถึงได้สะดวกขึ้น


การเริ่มต้นศึกษาประวัติของกลศาสตร์ควอนตัมควรย้อนกลับไปที่ต้นกำเนิดตั้งแต่กรณี “การแผ่รังสีจากวัตถุดำ” (black-body radiation) อันจะได้นำพาไปสู่สูตรสมการการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในลำดับถัดไป แล้วตามด้วยสังคมวิทยาการของโลกในช่วงที่เกิดความคลุมเครือต่อขอบเขตคุณสมบัติของแสงเพื่อที่จะบ่งบอกให้ได้ถึงการเป็นอนุภาคหรือว่าเป็นคลื่น อาทิ จากผลงานที่สวยงามยิ่งของวิทยาการแสงก่อนหน้าด้วยการทดลองสลิตคู่ร่วมกับการอธิบายการเลี้ยวเบนของแสงด้วยทฤษฎีคลื่นได้อย่างแม่นยำนั้น ทำให้ทฤษฏีของคลื่นถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่จนหลักการของการเป็นอนุภาคจืดจางลงไปในยุคหนึ่ง กระทั่ง กึ่งศตวรรษถัดมาสองขั้วความคิดดังกล่าวได้รับการท้าทายใหม่อีกครั้งเพราะการค้นพบสืบเนื่องมาตระหนักกันแล้วว่า แสงคือช่วงหรือก้อนของพลังงานมิได้เป็นเพียงคลื่นหรืออนุภาคอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นก่อนแล้ว และในที่สุดการค้นพบหนึ่งในทฤษฎีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดที่เคยมีมาจึงได้ถือกำเนิดถัดมาพร้อมกับประโยคที่ว่า “แทบจะทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับกระแสควอนตัม” (quantum electrodynamics: QED - ควอนตัมอิเล็กโตรไดนามิกส์ หรือคิวอีดี) อันเป็นทฤษฎียิ่งใหญ่สำหรับกลศาสตร์ควอนตัมเทียบเคียงได้กับสมการของแมกซ์เวลล์สำหรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในอดีต ต่อจากนั้น วิทยาการกลศาสตร์ควอนตัมจึงปรากฏความชัดเจนขึ้นอีกเป็นอย่างมาก


ขณะเดียวกัน การศึกษาธรรมชาติของแสงแนวทางแบบเดิม ๆ ที่ละเอียดลออลึกลงต่อไปอีกนั้น พบว่าไม่ได้มีบทบาทสำคัญให้งานด้านทัศนศาสตร์ (optics) ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด เช่นเมื่อกล่าวถึงเลเซอร์ โฮโลแกรม รวมทั้งโฟโตนิกส์ (photonics) หรืองานที่เกี่ยวข้องกับแสง ปรากฏมีผลการทดลองมากมายที่ไม่สามารถอธิบายด้วยวิธีการดั้งเดิมนั้นได้อีกแล้ว โลกจึงก้าวข้ามสาขามาหาหลักการทางกลศาสตร์ควอนตัมเพื่อนำไปใช้ศึกษากันต่อ จึงได้ก่อให้เกิดงานแขนงใหม่ขึ้นตามมาอีกแนวทางหนึ่ง นั่นคือ ทัศนศาสตร์ควอนตัม  (quantum optics)


จากการที่แสงได้รับการค้นพบแล้วว่าเป็นทั้ง คลื่นและอนุภาค (wave - particle duality) ความนุ่มลึกละเมียดละไมของวิทยาการที่มนุษย์ได้ค้นคว้าหาคำตอบเรื่องของธรรมชาตินี้มาอย่างยาวนานได้มาถึงอีกขั้นใหม่ที่ลึกซึ้งมากขึ้น โดยเกิดเป็นการอภิปรายถกเถียงอันมีชื่อเสียงที่สุดของวงการตามมาเลยทีเดียวกับเรื่อง “ค่าประจำถิ่นหรือ ณ ตำแหน่งใด ๆ” (locality) เสมือนการมีค่าประจำตัวของอนุภาค กล่าวคือโดยหลักสถิติตัวแปรสุ่มที่เกิดจากการวัดระบบทางกายภาพสองระบบที่อยู่ห่างไกลกัน ณ เวลาเดียวกัน ต้องมีความเป็นอิสระต่อกัน อีกทั้งมีความเชื่อว่าสถานะของสิ่งในธรรมชาติ (realism) มีอยู่จริงก่อนหน้าที่จะมีการสังเกตหรือตรวจวัด และจะเป็นอิสระจากการสังเกตนั้น ๆ อันหมายความว่า การวัดค่าสถานะจะไม่มีผลต่อระบบนั่นเอง ซึ่งแนวคิดนี้เคยสร้างความสับสนและการถกเถียงในวงการฟิสิกส์โลกมาอย่างยาวนาน เพราะผลการตรวจวัดของการทดลองต่าง ๆ กลับพบว่าเสมือนมีการสื่อนำข่าวสารระดับอนุภาคมูลฐานเกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด (instanteneous) ราวกับว่าอนุภาคที่ห่างไกลจากกันมีสถานะร่วมกันได้นั่นเอง ดังนั้น สถิติจากการตรวจวัดจึงมิได้เป็นอิสระขาดจากกันดังที่คาดคะเนมาก่อนหน้า 


กรณีดังกล่าว นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกจำนวนหนึ่งได้เสนอว่าเป็นเพราะตัววิทยาการกลศาสตร์ควอนตัมเองยังคงมีความไม่สมบูรณ์และแสดงถึงการมีอยู่ของ “ตัวแปรที่ซ่อนเร้น"ด้วย เนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวนั้นจะไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้เพราะจะละเมิดทฤษฎีสัมพัทธภาพที่ไม่มีสิ่งใดเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าแสงนั่นเอง แต่ต่อมาเมื่อทฤษฎีบทของเบลล์ (Bell's inequality) ก่อร่างสร้างขึ้นกระทั่งทำการทดลองจนถึงการสร้างปรากฏการณ์ความพัวพัน (entanglement) ได้สำเร็จ แล้วพบว่าแม้อนุภาคจะอยู่ห่างไกลและถูกวัดในขณะเวลาเดียวกันจะมีสถิติที่ไม่เป็นอิสระต่อกันเกิดขึ้นได้จริง จึงพิสูจน์ซึ่งการ “ไม่มีค่าประจำถิ่น” (non-locality) ของธรรมชาติก่อนการตรวจวัดในที่สุด ทำให้สมมติฐานตัวแปรซ่อนเร้นก่อนหน้านั้นตกไป ความแข็งแกร่งของกลศาสตร์ควอนตัมจึงได้รับการสร้างเสริมจากการอภิปรายแห่งศตวรรษนั้นต่อ ๆ มา และมีพัฒนาการที่ก้าวหน้ามากขึ้นเป็นอย่างยิ่ง


ศตวรรษกลศาสตร์ควอนตัม (The Centenary of Quantum Mechanics)

งานการแผ่รังสีจากวัตถุดำโดย แม็กซ์ พลังค์ (Max Planck) ปฏิวัติวงการฟิสิกส์ดั่งเดิมให้กำเนิดสาขากลศาสตร์ควอนตัมที่ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดดต่อ ๆ มาร่วมหนึ่งร้อยปีอย่างยิ่งใหญ่ โดยวิทยาการแสงของยุคก่อนหน้าได้รับการพิจารณาข้ามมาร่วมสาขากับกลศาสตร์ควอนตัมนี้ด้วยเช่นกัน บนแกนเวลาของพัฒนาการดังกล่าว การกระเจิงคอมป์ตันโดย อาเธอร์ ฮอลลี คอมป์ตัน (Arthur Holly Compton) หรือหลักการเชิงอนุภาคของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าคือหลักชัยถัดมา กระทั่ง นักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยยุคต่อมาทั้ง พอล ดิแรก (Paul Dirac) พาสคาล จอร์แดน (Pascual Jordan) แวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก (Werner Heisenberg) โวล์ฟกังเพาลี (Wolfgang Pauli) และอื่น ๆ อีกมากได้ช่วยกันวางรากฐานกลศาสตร์ควอนตัมให้เติบโตยิ่งขึ้น และ วิลลิส แลมบ์ (Willis Lamb) ยังขยายผลความเข้าใจพื้นฐานต่าง ๆ ให้สัมฤทธิ์ผลได้อีกมากในเวลาต่อมา ... หลังจากที่โลกได้รู้จักปรากฏการณ์ความพัวพัน (entanglement) หรือความสัมพันธ์ที่ห่างไกลเชิงควอนตัมแล้ว อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ บอริส โพโดลสกี และ นาธาน โรเซน (Albert Einstein, Boris Podolsky & Nathan Rosen: EPR) อธิบายถึงความสามารถในการเกิดการสื่อสารทันทีทันใด (instantaneous communication) ของความพัวพันเชิงควอนตัมนั้นด้วยการนำเสนอ  “ตัวแปรซ่อนเร้น”  (hidden variables)  ซึ่งกลายเป็นการท้าทายอย่างรุนแรงต่อภาพรวมวิทยาการควอนตัมโลก 


กระทั่ง คิวอีดี (QED) ได้กำเนิดขึ้นและเป็นทฤษฎีที่ประสบผลสำเร็จมาก โดยที่ จูเลียน ชไวเงอร์ (Julian Schwinger) ซินอิทิโร โทโมนากะ (Sin-Itiro Tomonaga) และ ริชาร์ด ไฟน์แมน (Richard Feynman) นำเสนอสูตรคณิตศาสตร์อย่างละเอียดอธิบายสรรค์สร้างไว้ รวมทั้ง สาขาทัศนศาสตร์เชิงควอนตัม (quantum optics) ก็ได้กำเนิดตามมาด้วยโดย รอย กลาวเบอร์ (Roy Glauber) ทั้งหมดทำให้ครึ่งศตวรรษหลังเกิดมีพัฒนาการที่เข้มข้นสูงยิ่ง ในที่สุด จอห์น เบลล์ (John Bell) จึงเป็นผู้ทำให้สมมติฐานของการมีตัวแปรที่ซ่อนเร้นอยู่ก่อนหน้านั้นตกไป โดยมีการยืนยันต่อด้วยผลงานของ แดเนียล กรีนเบอร์เกอร์ มิชาเอล ฮอร์น และ อันตัน ไซลิงเงอร์ (Daniel Greenberger, Michael Horne & Anton Zeilinger) จากการนำเสนอ “สถานะ GHZ" ซึ่งได้ร่วมขับเคลื่อนให้โลกมาสู่สารสนเทศยุคใหม่สืบต่อมาอีกขั้น กระทั่ง การขยายผลการทดลองเพื่อพิสูจน์อสมการของเบลล์โดย ฟิลิปป์ แกรงกิแอร์ เจอราร์ด โรเจอร์ และ อแลง แอสเปก (Philippe Grangier, Gérard Roger & Alain Aspect) ได้ยืนยันคุณสมบัติร่วมเชิงอนุภาคของแสงอันเป็นมากกว่าแค่เพียงคลื่น ทั้งช่วยลบล้างหลักการตัวแปรซ่อนเร้นนำไปสู่การสร้างระบบความพัวพันขึ้นได้ กลศาสตร์ควอนตัมในรอบหนึ่งศตวรรษแรกจึงก้าวหน้าต่อมาอย่างอย่างมั่นคง ...  

(The Solvay conference 1927)

 

ภาคผนวก ข)

หลักไมล์ ๕๐ ปี ควอนตัมไทยไทย: ความรู้ที่ไกลห่าง

 

๒๕๑๘ (1975) “อาจารย์สิปปนนท์ เกตุทัต สมัยเรียนจบกลับมาควอนตัมยังไม่ได้สอนในเมืองไทยเลย เราตามหลังเขามาก ควอนตัมเกิดเมื่อปี ค.ศ.1925 อาจารย์สิปปนนท์กลับมาปี ค.ศ.1975 แม้ห้าสิบปีผ่านไปแล้วควอนตัมก็ยังไม่ถึงเมืองไทย” บทสัมภาษณ์ ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน เรื่องศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต อดีตนักเรียนทุน (คุรุสภา) ด้านฟิสิกส์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุตสาหกรรม

๒๕๐๔ (1961) สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ (ชื่อเดิม) จัดตั้งขึ้นครั้งแรกตามพระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติและพระราชบัญญัติจัดระเบียบราชการสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ๘) หน่วยงานราชการระดับกรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๕ เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ

๒๕๑๔ (1971)  งานวิจัยและการเรียนการสอนด้านนิวตรอนพลังงานสูง ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมเครื่องกำเนิดรังสีนิวตรอนแรก 

๒๕๕๕ (2012) การทดลองความพัวพันของแสงครั้งแรกโดยห้องปฏิบัติการการสื่อสารเชิงแสงและควอนตัม  (OQC lab) - สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และรายงานการทดลองพิสูจน์ทฤษฎีบทของเบลล์ยืนยันการไม่มีอยู่ของข่าวสารก่อนการตรวจวัดตามหลักการกลศาสตร์ควอนตัม

๒๕๕๙ (2016) ภาษาไทยปรากฏเพียงภาษาเดียวในโลกที่กำหนดหน่วย “ตัว" ให้กับอนุภาคมูลฐาน พบได้ทั้งในตำราเรียนมาตรฐานระดับมัธยม ข่าวแปลการค้นพบอนุภาคของทุกสำนักข่าว และการเรียนการสอนหรือการสื่อสารทั่วไปในสังคม - เกิดโครงการรณรงค์ ‘ควอนตัมไทยไฉนถึงเป็น”ตัว”’ เพื่อทุกภาคส่วนสังคมได้ตระหนักถึงความผิดพลาดและร่วมหาทางพัฒนา

๒๕๖๓ (2020) กำเนิด “แผนที่นำทางการพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมของประเทศไทย พ.ศ.2563 – 2572” ฉบับ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๓ โดยหน่วยงานนโยบายรัฐฯ


 

Disclaimer:

- a public serving project by volunteers 

no conflict of interest & none of personal agenda involved

 

Welcome volunteers !

Comentários


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page