โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ | 30th Anniversary - Turbo Codes | สามทศวรรษรหัสเทอร์โบ | “ปัญญาอลวน” |
ผลงานที่ภาคภูมิใจของชาวพระจอมเกล้าลาดกระบัง
วันนี้ อ่าน IEEE Communications Magazine ฉบับ February 2023 บทความนำเป็นเรื่อง Communications History ในหัวข้อ The Invention of Turbo Codes เขียนโดย Professor Claude Berrou เป็นข้อความที่น่าสนใจมากสำหรับชาวพระจอมเกล้าลาดกระบัง มีใจความว่า
“Meanwhile, Alain Glavieux and I had become very friendly. One of his doctoral students, Punya Thitimajshima, a Thai national, started to study recursive systematic convolutional codes and made it his main thesis topic. He was also interested in an algorithm that I did not know: the maximum a posteriori (MAP) algorithm (6). Alain and his Ph.D. Student pointed out to me that what separated the performance of my new coding/decoding scheme from Shannon’s limits could be reduced by algorithm”
Alain ที่กล่าวถึงคือ Professor Alain Glavieux (อ่านว่า แอลง กลาวิเออ) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของ Ph.D. Student ที่ชื่อว่า ปัญญา ฐิติมัชฌิมา เป็นนักศึกษาจากพระจอมเกล้าลาดกระบัง ที่ได้รับทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
วิศวกรรมโทรคมนาคม หรือวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร เดิมทีเชื่อว่า ความถี่ของสัญญาณเป็นตัวกำหนดแบนด์วิดท์ (Bandwidth) หรือปริมาณของข้อมูลที่จะส่งผ่านวงจรอิเล็กทรอนิกส์ได้ ทำให้ไม่สามารถสื่อสารส่งข้อมูลปริมาณมากๆได้ ทำได้แค่ระบบ 2G. หรือ Narrow-band communication
การค้นพบ Turbo Codes โดย ดร. ปัญญา ฐิติมัชฌิมา ได้ทำให้สามารถสื่อสารได้ด้วยสัญญาณที่มีปริมาณข้อมูลมากๆ หรือ Broad-band communication ได้ จนเป็นระบบ 3G, 4G และ 5G ในทุกวันนี้
ในปี 1998 ที่มีการฉลองครบรอบ ๕๐ ปี ของ Information Theory Society of IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ดร. ปัญญา ฐิติมัชฌิมา ได้รับรางวัล
นับว่าเป็นรางวัลสุดยอดในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีของวงการสื่อสารโทรคมนาคมของโลก
การค้นพบ Algorithm ของ ดร. ปัญญา ฐิติมัชฌิมา ศิษย์เก่าและอาจารย์ของพระจอมเกล้าลาดกระบัง และเป็น “คนไทย” ได้มีส่วนทำให้โทรคมนาคมมีความเจริญก้าวหน้าในทุกวันนี้
โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์
๑๙ มีนาคม ๒๕๖๖
(อดีตอธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๕)
#สามทศวรรษรหัสเทอร์โบ #IEEEComSocThailand #ปัญญาอลวน
"กิจกรรมสามทศวรรษรหัสเทอร์โบ (30th Anniversary - Turbo Codes)"
สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)
ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่
email: thailand_chapter@comsoc.org
IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย
53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130
@AllianceFrancaiseBangkok #YearofInnovation2023 #francothaiyearofinnovation
(หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook)
คำนิยม
| อุษารัตน์ บุนนาค | อลิสา คงทน |
Comments