top of page
QICTechFACTcheckLoGoWhite-2021.jpg
รูปภาพนักเขียนQ-Thai Admin

FactCheck - “ควอนตัมล่องหน” !

ข่าวแต่งเติมคำ (สร้างความขลัง)

ต้นทางข่าว: ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ สำนักข่าวต่างประเทศภาคภาษาไทยนำเสนอข่าวผลวิจัยจากปรากฏการณ์ Pauli blocking โดยแต่งเติมเพิ่มด้วย

๑) การตั้งชื่อหัวข้อข่าว "ควอนตัมล่องหน"
๒) ภาพประกอบสื่อความขลังขยายความ (มนุษย์ล่องหน)
๓) นิยามคำว่า "ข้อมูลควอนตัม" ขึ้นเองในเนื้อข่าวแปล
(ข่าวแปลส่วนหนึ่ง “จะป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์สูญเสียข้อมูลควอนตัมไปกับโฟตอน")

เหตุสำคัญ: เป็นการ “แต่งเติมคำและภาพสร้างความขลัง” คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

ที่มา: สำนักข่าวต่างประเทศภาคภาษาไทย

๐ ข้อมูลเพิ่มเติม:
(อ้างอิง ๑) ข้อมูลตั้งต้นงานดังปรากการณ์ Pauli blocking นี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science วันที่ ๑๘ พ.ย. ๒๕๖๔ พร้อมกันจากสามแหล่งวิจัยทั้งนิวซีแลนด์และสหรัฐฯกับ - Pauli blocking of light scattering in degenerate fermions https://www.science.org/doi/10.1126/science.abi6153
- Pauli blocking of atom-light scattering https://www.science.org/doi/10.1126/science.abh3483
- Observation of Pauli blocking in light scattering from quantum degenerate fermions https://www.science.org/doi/10.1126/science.abh3470
(อ้างอิง ๒) ภาพต้นทางข่าวสำนักดังเน้นเลเซอร์สีน้ำเงินกับการทดลอง (light scattering in an ultracold gas of strontium atoms) เช่น https://physicsworld.com/a/pauli-blocking-is-spotted-in-ul…/
สรุป - ความถูกต้องพื้นฐานจากข่าวต้นทางข่าวไม่มีทั้งสามประเด็นชี้นำเหล่านั้นอยู่ [๑) "ควอนตัมล่องหน" ๒) ภาพประกอบมนุษย์ล่องหน และ ๓) “ข้อมูลควอนตัม”] เป็นการแต่งเติมคำและภาพขึ้นเองอันอาจเกิดเป็นการชี้นำผิดทาง (misleading) ต่อสังคม จึงควรได้รับการแก้ไข

Comments


FEATURED POSTS

FOLLOW US

  • Facebook Long Shadow

 

DROP US A LINE 

Your details were sent successfully!

  • Facebook page
bottom of page