(Book review) | อุษารัตน์ บุนนาค | “ปัญญาอลวน” | 30th Anniversary - Turbo Codes | คำนิยม 2023
ก่อนอื่นต้องขอบอกว่า สะท้อนมุมมองในฐานะคนธรรมดาที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์และไม่ได้รู้เรื่องเทคโนโลยีโทรคมนาคมใด ๆ อ่านเพลินมากอลวน อลเวง ตั้งแต่ต้นจนจบจริง ๆ เขียนได้ดี ได้เห็นประวัติศาสตร์ของวงการโทรคมนาคม ที่แฝงไว้ด้วยการบริหารจัดการ แง่มุมทางการเมืองและสังคมในแต่ละยุค ถึงแม้จะแทรกด้วยสารพัดเรื่อง ผู้เขียนก็ยังวกกลับมาในเนื้อหาหลักได้ตลอดแบบเนียน ๆ โดยไม่หลุดเป้าหมาย เห็นด้วยมาก ๆ กับผู้เขียนที่ว่า “เรียนรู้ประวัติศาสตร์และอดีตเพื่ออนาคตที่ผิดพลาดน้อยลง”
ในหลายบทหลายตอนถึงแม้จะมีมุมขำ มีเพลง สอดแทรกธรรมะ แต่ก็ยังเห็นความเหนื่อยยาก และปัญหาในเรื่องระบบวิจัย การบริหารงานวิจัย การตั้งค่าดัชนีชี้วัดผลผลิต (KPI) ที่ไม่สะท้อนความดีงามและความสำเร็จ ซึ่งเสมือนจะเป็นเรื่องหลัก ที่ยังแก้ไขไม่ได้เลยไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยใด
ชื่นชมการรวบรวมองค์ความรู้ที่นักวิจัยได้ทำไว้ในอดีต น่าเสียดายที่รู้สึกว่าองค์ความรู้หลายอย่างหายไป และยังไม่ได้ถูกต่อยอด ทั้ง ๆ ที่มีนักวิจัยขั้นเทพที่ได้เคยสร้างนวัตกรรมที่เอาไปใช้ได้ร่วมกับนานาชาติในอดีต ยังคงมองเห็นปัญหาของการพัฒนาองค์ความรู้และงานวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง
ขอชื่นชมผู้เขียน ทีมนักวิจัย และกลุ่มคนที่จริงจังต่อเนื่องในการพัฒนาโทรคมนาคมของประเทศ ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนก้าวผ่านอุปสรรคทั้งปวงมีพลังในการสร้างอนาคตและสังคมของคนรุ่นใหม่ ขอให้ประสบความสำเร็จ แม้จะเป็นทีละก้าวเล็ก ๆ ขอให้ก้าวไปอย่างไม่ท้อถอยในทิศทางที่ถูกต้อง รอติดตามความสำเร็จจากพลังคนรุ่นใหม่ค่ะ
อุษารัตน์ บุนนาค
สารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน”
๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023)
๔) หลายช่วงลมหายใจที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ยุคที่สอง)
"กิจกรรมสามทศวรรษรหัสเทอร์โบ (30th Anniversary - Turbo Codes)"
สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)
ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่
email: thailand_chapter@comsoc.org
IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย
53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130
(หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook)
คำนิยม
| อุษารัตน์ บุนนาค | อลิสา คงทน |
Comments