(Book review) | ศราวุธ ชัยมูล | “ปัญญาอลวน” | 30th Anniversary - Turbo Codes | คำนิยม 2023
🎼 👉 Yo และนี้คือเสียงจากเด็กวัด (ไม่ใช่แค่ Sim) 🎵 📌
ไม่มีนั่งเทียนมีผลทดลองการชัด ๆ 👀 🎶
พูดเบาเบาแต่เจ็บดีนะครับ 🗣 🎤
มึงตั้งใจฟังนะ ...👂 🦻
“ปัญญาอลวน” จะบอกว่าเป็นงานหนังสือก็ใช่ ก็บอกว่าเป็นสารานุกรมก็ใช่
หรือจะเป็นจดหมายเหตุ หรือจะเป็นเรื่องสั้นก็น่าจะได้
ระหว่างที่อ่านไปก็นึกตามไป ย้อนไปยุค Y2K จนข้ามมาถึง Millennium
เนื้อหาที่มีทั้งภูมิใจ หดหู่ ระทึกและแอบยิ้ม
ซึ่งล้วนเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ชื่อคนที่ปรากฏในเล่มก็เป็นคนจริง ๆ ไม่ใช่ตัวแสดง
งานนี้ก็ได้ทั้งบทเรียน ข้อคิด
และบางครั้งก็ต้องปลงกับสังคมวิชาการไทย แต่ไม่ได้หมายถึงยอมรับน่ะ
มันสะท้อนภาพให้เห็นในหลาย ๆ มุม
ให้คนทั่วไปได้เห็นว่าจริง ๆ แล้วโลกในวงการวิชาการมันมีแบบนี้
และที่สำคัญคือ ทำให้รื้อฟื้นเพลงเก่า ๆ
เห้ย ! เพลงนี้...เออ มันได้ว่ะ
ซึ่งทำให้รู้ได้เลยว่าผู้ประพันธ์มีทักษะ ความสามารถหลายด้าน
บางตอนอ่อนไหวดังสายน้ำ บางบทดุดันไม่เกรงใจใคร
บางข้อความเหมือนเอาไทเทเนียมมาแทงที่ใจ
“สังคมไทยคุ้นเคยการบริโภคเทคโนโลยีโดยสมบูรณ์ ส่วนการทำวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างเองยังคงห่างไกล”
ท้ายนี้ก็หวังว่านักวิจัยไทยจะร่วมมือกันทำงานเพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ไม่ต้องทำทุกแง่มุมก็ได้ แค่ลดการบริโภคจากต่างประเทศให้น้อยลงก็พอ
รศ.ดร.ศราวุธ ชัยมูล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน”
๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023)
๔) หลายช่วงลมหายใจที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ยุคที่สอง)
"กิจกรรมสามทศวรรษรหัสเทอร์โบ (30th Anniversary - Turbo Codes)"
สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)
ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่
email: thailand_chapter@comsoc.org
IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย
53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130
(หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook)
คำนิยม
| อุษารัตน์ บุนนาค | อลิสา คงทน |
Comments