(Book review) | พัชรนันท์ ยิ่งขยัน | “ปัญญาอลวน” | 30th Anniversary - Turbo Codes | คำนิยม 2023
“ปัญญาอลวน” เป็นคำที่อ่านครั้งแรกแล้วสงสัยว่ามันคืออะไร เหมือนวัยอลวนเมื่อสมัยแม่เรายังสาวหรือเปล่า ปัญญาอลวนคืออะไรอลวน นี้คือโจทย์ที่ถามตัวเองอยู่ และแล้วก็เปิดเจอหน้าปก มีเสาสารพัดเสา กับอีกหนึ่งกำปั้น ถามตัวเองอีกว่า มันจะเป็นการเมืองหรือเปล่านะ ที่อลวนกับปัญญาของใคร นี้คือคำถามจากใจของเราที่เจอหนังสือเล่มนี้
ไม่รีรอ เปิดหน้าต่อไปเจอสารบัญเลย โห้เรื่องราวมากมาย ตั้งสิบว่าเรื่อง จะอ่านจบในเวลากี่วันหนอ.....(ถามตัวเอง) เริ่มเรื่องแรกเลย เกริ่นนำของแต่ละบทของหนังสือเล่มนี้ไม่ธรรมดาเลย เราแอบชื่นชมคนเขียนจังว่าเขียนเข้าไปได้ไง เกริ่นนำเรื่องต่าง ๆ ที่เราไม่เคยรู้ บางบทเกี่ยวกับเนื้อเพลง บางบทก็เป็นสถานที่ บางบทก็จะเป็นสาระที่เป็นประโยชน์ นำมาร้อยเรียงเรื่องราวที่ต้องการนำเสนอ อีกทั้งมีลูกเล่นลูกฮา สอดแทรกในทุกการเรียนของเรื่องนี้ เก่งคะ ทำให้เราอ่านไปยิ้มไปได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ บางครั้งก็หัวเราะขึ้นมา เพราะในช่วงเวลาของการอ่านเราจินตนาการไปกับผู้เขียน ไม่ว่าจะเป็นเสียงต่าง ๆ หรือ ทิศทางมุมต่าง ๆ และบรรยากาศ ตลอดจนเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่ผู้เขียนได้ถ่ายทอด นี้คือเสน่ห์ของหนังสือเล่มนี้
ภาคต่อไป อะไรคือปัญญา เราก็หาคำตอบว่าคืออะไร คือใคร เราได้อ่านแต่ละบทก็ได้รู้ว่าปัญญานี้ไม่ธรรมดา เป็นอะไรที่น่าศึกษาวิธีการทำงาน การถ่ายทอด การพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง จนมาถึงทุกวันนี้รวมถึงแนวความคิด ต่าง ๆ ที่ปัญญามี แต่ยังคงไม่อลวน จนถึงเกือบจะบทหลัง ๆ จึงเกิดการอลวนขึ้น ซึ่งมันก็อลวนจริง ๆ ตามที่เราอ่าน เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้เลย เมื่อเราศึกษาจากการเขียน เก็บมุขต่าง ๆ ข้อคิดต่าง ๆ ที่สำคัญความรู้ในต่างประเทศที่เขียนไว้ในเล่มนี้ไม่ธรรมดา เป็นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งเลยทีเดียว
ขอชื่นชมผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งใจเขียน ร้อยเรียง เชื่อมโยง ทำให้คนอ่านมีความรู้จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ดีมาก ได้รู้ว่าเพลงแต่ละเพลงเกี่ยวข้องกับเนื้อหาอย่างไร ตลาด สถานการณ์บ้านเมืองในขณะเป็นอย่างไร สรุปคือ จากอดีตถึงปัจจุบันของปัญญาอลวนมีขึ้นมาโดยมีเหตุผล มีเหตุการณ์และมีการอยู่จริงของบุคลล สถานที่จริง และทำให้เราซึ่งไม่เคยรู้เรื่องการสื่อสารได้รู้นี้แหละคือความสำเร็จที่เราได้อ่านหนังสือเล่มนี้
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พัชรนันท์ ยิ่งขยัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่
สารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน”
๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023)
๔) หลายช่วงลมหายใจที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ยุคที่สอง)
"กิจกรรมสามทศวรรษรหัสเทอร์โบ (30th Anniversary - Turbo Codes)"
สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)
ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่
email: thailand_chapter@comsoc.org
IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย
53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130
(หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook)
คำนิยม
| อุษารัตน์ บุนนาค | อลิสา คงทน |
Comments