(Book review) | อลิสา คงทน | “ปัญญาอลวน” | 30th Anniversary - Turbo Codes | คำนิยม 2023
ขอขอบคุณผู้เขียนที่ส่งหนังสือปัญญาอลวน เรื่องเล่าสารคดีสี่จดหมายเหตุมาให้อ่าน และให้เกียรติเป็นผู้เขียนคำนิยมนี้ค่ะ
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่แสดงเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมตั้งแต่ยุค analog จนมาถึงยุค digital และสาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การค้นพบรหัสเทอร์โบ ซึ่งมีนักวิจัยคนไทย รศ.ดร.ปัญญา ฐิติมัชฌิมา อดีตอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาโทรคมนาคม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่นี้ นอกจากนี้เนื้อหาในหนังสือยังสะท้อนถึงเรื่องราวต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาอุปสรรคและความสำเร็จที่เกี่ยวข้องกับวงการวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อ่านสนุก ภาษาที่ใช้เป็นภาษาที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย คนที่ไม่มีพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมมาก่อนก็สามารถรับรู้ เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี การดำเนินเรื่องในหนังสือมีความสนุก สอดแทรกเนื้อหาสาระทางวิชาการและไม่วิชาการได้อย่างเหมาะสม สำหรับคนที่ชอบเพลงในยุค 90 ก็จะอ่านไปอมยิ้มไป เพราะนึกถึงเพลงเก่า ๆ สมัยที่ยังเป็นวัยรุ่น จนต้องไปหาฟังจาก music streaming app กันทีเดียว
เชื่อแน่ว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ของวงการวิทยาศาสตร์ที่มีใจรัก มีความมุ่งมั่นในการทำงานวิจัยแบบลงมือทำจริง hands-on กัดไม่ปล่อย ไม่ว่าจะเจออุปสรรคหรือปัญหาอะไร ทุกอย่างจะมีทางออกเสมอค่ะ
ดร.อลิสา คงทน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
IEEE Thailand section's Annual General Meeting (AGM) 2023 | Nov 30, 2023 |
สารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน”
๑) สามทศวรรษรหัสเทอร์โบนวัตกรรมพลิกโลกข่าวสาร (ค.ศ. 1993 - 2023)
๔) หลายช่วงลมหายใจที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ยุคที่สอง)
สาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE ComSoc Thailand) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) จัดทำเพื่อเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมสำคัญระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ โดยเผยแพร่และประกาศเกียรติคุณให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วมคิดค้นและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ รวมทั้งเผยแพร่เกร็ดประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคม และของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยในอดีตด้วย ทั้งนี้ หนึ่งในกิจกรรมหลักเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯได้จัดพิมพ์เรื่องราวดังกล่าวออกเป็นหนังสือ โดยสร้างสรรค์ในรูปแบบเรื่องเล่าสารคดีประกอบภาพในชื่อเรื่อง “ปัญญาอลวน” จัดทำทั้งแบบรูปเล่ม (hardcopy) พร้อมด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (eBook) สำหรับบุคคลทั่วไปเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างผลกระทบในวงกว้างเป็นวิทยาทาน และเพื่อใช้ผลผลิตในการสร้างเครือข่ายส่งเสริมให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อต่อยอดเรียนรู้สู่แรงบันดาลใจให้กับบุคลากรคนรุ่นใหม่ รวมทั้งสร้างมูลค่าจากประเด็นเชิงวัฒนธรรมรวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องต่อไป (เช่นเดียวกับที่สมาคมฯ ได้เคยจัดทำผลผลิตอื่นไปแล้วรวม ๑๗ โครงการกว่า ๑๘,๐๐๐ เล่ม สื่อดิจิทัลซีดีกว่า ๖,๐๐๐ ชุด โปสเตอร์และโปสการ์ดความรู้รวม ๔,๐๐๐ แผ่น แด่กลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศเป็นวิทยาทานแล้ว ข้อมูล ณ www.quantum-thai.org/10th-ttkm-anniversary & www.quantum-thai.org/q-books & web.facebook.com/TurboCodes20th)
ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดทำหนังสือ “ปัญญาอลวน” ได้ที่
email: thailand_chapter@comsoc.org
IEEE ComSoc Thailand - สาขาไฟฟ้าสื่อสาร
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอีเลคโทรนิคแห่งประเทศไทย
53 ถนนจรัญสนิทวงศ์ บางกรวย นนทบุรี 11130
(หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook)
คำนิยม
| อุษารัตน์ บุนนาค | อลิสา คงทน |
Comments