ภาพวันนี้เมื่อยี่สิบปีที่แล้ว (๑๗ ก.ย.๔๖) | 30th Anniversary - Turbo Code | วงการวิทย์ไทยสั่นไหวอลวน
ภาพรางวัลเวทีแรกและรางวัลเดียวในเมืองไทยของ ‘ปัญญา ฐิติมัชฌิมา’ เมื่อครั้งพ.ศ.๒๕๔๖ ภาพออกงานสุดท้ายสามปีก่อนหน้าที่จะจากไปด้วยปัญหาสุขภาพ ภาพที่เมื่ออายุสิบหกปีเป็นต้นมาได้ทยอยเปล่งเบื้องหลังวงการวิทย์และเทคโนฯให้สังคมไทยได้เรียนรู้ และเป็นชุดภาพถ่ายเหตุการณ์วันเดียวกันแต่บอกเล่าถึงสี่เหตุการณ์แห่งอนาคตให้ลูกหลานได้ศึกษาและอาจเปล่งวาจาพร้อมกันว่า “อะไรกันนี่ !”
“พระเอกของปีนี้มีสามคนรางวัลเดียวกันต้องแบ่งให้สามงาน ส่วน 'เรือใบซูปเปอร์มด' สัญลักษณ์รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นแยกกันรับกลับบ้าน คนแรกคือทีมงานวิจัยกุ้งกุลาดำ และอีกสองคือคุณหมอนักวิจัยคนดังกับรหัสเทอร์โบ”
“สูจิบัตรกระดาษจากเครื่องแฟกซ์ที่ถ่ายเอกสารขาวดำซ้ำ ๆ มาอยู่ในมือแขกผู้มาร่วมงานหลายคน สื่อมวลชนมาพร้อมไมค์และสารพันกล้องที่หน้างานรุมถ่ายผู้รับรางวัลบ้าง ถ่ายตัวรางวัลบ้าง ป้ายงานบนเวทีบ้าง แล้วก็ป้ายกระดาษดูเหมือนว่าพิมพ์ออกมาสด ๆ เพื่อขอบคุณหน่วยงานที่สนับสนุนรางวัลกับตัวโลโกที่แปะอยู่ด้านบนด้วย คนดังท่านนี้ก็มา คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ลาดกระบังหัวหน้าหน่วยงานของผู้รับรางวัลที่ก๊วนโรงยิมเรียกว่า ‘พี่หวิล’”
“ผู้ใหญ่ในวงการมาร่วมงานกันมากมาย บิ๊กเนมก็มาก มาเพื่อทั้งมอบและเป็นสักขีพยานกับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น พ.ศ. ๒๕๔๖ ปีที่ไปรับมานั้นเพิ่งจัดเป็นครั้งที่สอง พลันหยิบภาพที่ถ่ายในงานให้สมาชิกก๊วนดูกับภาพแรกที่นั่งถ่ายร่วมกับผู้รับรางวัลอีกสองท่าน แล้วก็ภาพถ่ายความทรงจำแห่งสองทศวรรษอันเป็นภาพถ่ายยืนสามคนคือ ‘พี่กิ้ว’ เมื่อวางรางวัล “เรือใบซูปเปอร์มด” ที่ดูหนักมากไว้ชั่วคราวแล้วมาอยู่กลางเฟรมประกบด้วยคณบดีถวิลว่าที่อธิการบดี(สจล.)ในเวลาต่อมา กับผู้สนับสนุนรางวัลและอดีตผู้บริหารที่มายืนด้วยอีกหนึ่งคน”
“สองภาพนี้ขลังมากถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลของเล่นชิ้นใหม่ “โซนีไซเบอร์ชอท” (cyber shot) ยอดฮิตกำลังเห่อกันทั่วบ้านทั่วเมือง กล้องฝากซื้อจากญี่ปุ่นตัวนี้ไม่ทะมัดทะแมงก็ตรงแท่งหน่วยความจำขนาดเท่าหมากฝรั่งฝังความจุน้อย อ่านเขียนช้า ความละเอียดภาพไม่สูง ได้ไฟล์เล็ก (62KB) ง่ายต่อการไหวสั่น เนื้อหาภาพดิจิทัลยุคแรกที่ได้จึงขยายใหญ่ไม่ไหว อยู่ในระดับแค่พอดูได้เมื่อเทียบกับภาพจากฟิล์ม แต่แล้วหลังจากนั้นอีกทศวรรษกว่าถัดมา ใครจะคาดคิดว่าภาพถ่ายความละเอียดต่ำจะเปล่งความชัดเจนสว่างขึ้นมาถึงกับทำให้ตาค้างเอาได้ ... แสงแฟลชจึงตามมาอีกคำรบใหญ่ โดยดังทั้งด้านที่น่าประทับใจและมีอีกด้านที่สร้างความงงงวยให้ จนอาจถึงกับอุทานได้ว่า “อะไรกันนี่ !”
(๑๗ ก.ย. ๒๕๖๖) -- ชุดภาพความละเอียดต่ำปี พ.ศ.๒๕๔๖ เหล่านี้ขยายภาพให้ใหญ่คราวใดจะเบลอหรือเลือนลางมาก แต่ครั้นถึงพ.ศ.๒๕๖๒ อายุได้สิบหกปีเป็นต้นมา กลับทยอยเปล่งประกายหลากหลายความหมายและคมชัดขึ้นราวกับเป็นลายภาพสามมิติ (Stereogram) หรือภาพที่ยามเอียงมุมเหล่มองจะโฟกัสได้ภาพที่แตกต่างจากเดิม เพ่งคราวใดเรื่องราววงการวิทย์ไทยร่วมสมัยจะผุดสว่างเปรี้ยงปร้างทุกครั้งไป หรือว่านี่คือปรากฏการณ์ ‘เดจาวู’ (Déjà vu) ‘ระลึกอนาคต’ (Foresight) หรือไม่ก็คงเป็นการ ‘สะกดจิต’ (Hypnosis) กระมัง !
แล้วมุมมองของสาธารณะล่ะ !
สะกัดความหมายอื่นใดได้บ้างจากภาพชุดหลากมิติเหล่านี้ เพราะตลอดสองทศวรรษที่ผ่านมานอกจากอัตชีวประวัติของ “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” แล้ว ยังคงเห็นภาพหลักอยู่กับเพียง
“เหตุแปลกประหลาดของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยที่ยังคงไร้คำอธิบาย !”
๐ หมายเหตุ ๐
[ สามทศวรรษรหัสเทอร์โบ (30th Anniversary - Turbo Codes) - ๒๔ พฤษภาคม (๒๕๓๖ - ๒๕๖๖) ]
นวัตกรรมระดับโลก ที่เปิดโลกวิทย์ไทยจนสั่นไหวไปทั้งวงการ ! ผลของงานวิจัยที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย อาทิ รางวัลนวัตกรรม Golden Jubilee Awards for Technological Innovation for the Invention of Turbo Codes จากสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ IEEE (Information Theory Society) ในโอกาสครบรอบห้าสิบปีของทฤษฎีข่าวสาร ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ เกียรติยศจากสมาคม IEEE จากผลงานบทความยอดเยี่ยม (Best Paper) ในวารสาร IEEE Transactions on Communications และเหรียญรางวัล The IEEE Richard W. Hamming Medal ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ในฐานะที่สร้างปรากฏการณ์ “การปฏิวัติการสื่อสารเชิงดิจิทัล” รวมทั้งเป็นผลงานที่มีสิทธิบัตรคำขออันโด่งดัง(๒๕๓๖) หมายเลขNo 9105279 (France), No 92460011.7 (Europe), No 07/870,483 (USA) และหมายเลขสิทธิบัตรFR 2675968 EP0 511139 และUS 5406570 โดยถูกนำไปใช้งานสำหรับการแก้ไขความผิดพลาดของการสื่อสารข้อมูลจากระบบการสื่อสารภาคพื้นดิน โทรศัพท์ ขึ้นสู่ดาวเทียม จนถึงห้วงอวกาศ !
รวมทั้งเป็นนวัตกรรมระดับโลกที่ได้มาเปิดโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
จนสั่นไหวไปทั่วทั้งวงการกับ #จริยธรรม #ธรรมาภิบาล และ #ผลประโยชน์ทับซ้อน
[ เรื่องเล่าสารคดีสี่จดหมายเหตุ “ปัญญาอลวน”]
จากบทภาพยนตร์ที่ยังไม่ได้สร้าง สู่เรื่องเล่าเคล้าหนังเพลงดังกับทั้งเหตุการณ์น่าจดจำในอดีต เพื่อร่วมเฉลิมฉลองหนึ่งในนวัตกรรมระดับโลกที่ได้รับรางวัลเกียรติยศมากมายบนเวทีสากลรวมทั้งรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นไทยเนื่องในโอกาสครบรอบสามสิบปีของการคิดค้น “รหัสเทอร์โบ” ณ ปี พ.ศ. ๒๕๖๖ ประกาศเกียรติคุณต่อทั้งวิทยาการ บุคคลสำคัญ และเชิดชู “ปัญญา ฐิติมัชฌิมา” คนไทยผู้มีส่วนร่วม รวมทั้งเกร็ดประวัติศาสตร์วิทย์ไทย-ฝรั่งเศส วัฒนธรรมและความรู้ร่วมสมัยด้านโทรคมนาคมไทย เรื่องราวส่วนหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทยกับสี่สิบปีอดีตที่เลือนหายไปแล้ว แต่ไม่แคล้วกลายเป็นประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ให้ลูกหลานได้ผ่านตา พร้อมกับของฝากชิ้นสำคัญแด่วงการศึกษาวิจัยไทย ... "โอบามา กับ ฝาชาเขียว”
หนังสือ “ปัญญาอลวน” ๒๕๖๕ ฉบับอิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ: free eBook
กับแนวการแก้ไขเพื่ออนาคตสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย
๐ 'นิสสัคคิยปาจิตตีย์' -- สละวัตถุและปลงอาบัติ ๐
คำนิยม
| อุษารัตน์ บุนนาค | อลิสา คงทน |
(Video) - 30TH ANNIVERSARY OF TURBO CODES (1993- 2023)
(web #สามทศวรรษรหัสเทอร์โบ)
Comentarios