2023 Breakthrough ($3 M) Prize in Fundamental Physics - Quantum Information
The Breakthrough Prizes ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อค.ศ. 2012 โดย Sergey Brin (ผู้ร่วมก่อตั้ง Google) Priscilla Chan และ Mark Zuckerberg (คู่ภรรยาสามีเจ้าของ Facebook) และคนดังอีกหลายกลุ่ม ขณะที่เงินรางวัลมีชื่อมหาเศรษฐีไอทีโลกทั้ง Jack Ma ผู้ก่อตั้งอะลีบาบา และ Ma Huateng เจ้าของ Tencent มาร่วมลงขันเพิ่มอีกด้วย โดยมีสามสาขาหลักด้านที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ทั้ง Breakthrough Prize in Mathematics Breakthrough Prize in Fundamental Physics และ Breakthrough Prize in Life Sciences ตามด้วยอีกสองแขนงที่แตกต่างคือด้านภาพยนตร์ Breakthrough Filmmakers Challenge และความสำคัญเกี่ยวกับเยาวชน Breakthrough Junior Challenge โดยเริ่มมอบรางวัลในปีถัดมา (2013)
(เกริ่นประวัติ) - รางวัลนี้ถูกกล่าวขวัญถึงอย่างแตกต่าง มีทั้ง รางวัลจากเจ้าพ่อเฟสบุ๊คจ่ายทุกปี รางวัลมูลค่าสูงสุด $3 ล้านเหรียญ รางวัลไฮโซ รางวัลที่จัดงานเหมือนประกาศรางวัลเพลงหรือภาพยนตร์ ฯลฯ แต่กระนั้น ดูเหมือนว่าการสร้างภาพลักษณ์ของตัวรางวัลนั้นแทบไม่มีผลเนื่องจากทั้งผู้ก่อตั้งผู้ลงขันเงินรางวัลคือผู้ประสบความสำเร็จและเป็นมหาเศรษฐีของโลกมีความพร้อมทุกด้านอยู่ในตัวเองแล้วทั้งชื่อเสียงและห่างไกลจากความจำเป็นในการขอรับบริจาค (donate) เพื่อนำมาเป็นเงินรางวัลหลัก
รางวัลนี้ได้เปลี่ยนภาพการมอบรางวัลมาที่การเป็นกระแสด้วยความรวดเร็วด้วย เช่นกรณีโครงการ the Event Horizon Telescope (EHT) ความร่วมมืออันได้มาซึ่งภาพแรกที่มนุษย์ได้เห็นหลุมดำ (black hole) ที่เพิ่งจะเป็นข่าวสด ๆ ร้อน ๆ ในปี ค.ศ.2019 มารับรางวัลในปีถัดมา และเป็นการมอบรางวัลที่มิได้ยึดติดกับตัวผู้นำรัฐหรือประเทศเจ้าของรางวัลและชื่อปราชญ์โบราณให้ดูขลัง แต่รางวัล “Oscar of Science” นี้ได้กลายรูปแบบมาเป็นการจัดงานประจำปีที่สดใสไฟสว่างไปแล้ว การมอบรางวัลวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีหลังยุคหลัง COVID19 นี้จึงเป็นการประลองกำลังกันระหว่าง “ความขลัง” และ “ความอลังการ” ของตัวรางวัล ส่วนรางวัลใดจะยั่งยืนเทียบแข่งกับรางวัลโนเบลได้หรืออาจจางหายไป อนาคตของสังคมแนวทางใหม่ (new normal society) จะเป็นเครื่องพิสูจน์ต่อไป
The Breakthrough Prizes - 2023 (สาขา Fundamental Physics ประกาศเมื่อ 22 กันยายน 2022)
For foundational work in the field of quantum information.
(Quantum Cryptography)
Charles H. Bennett, IBM Thomas J. Watson Research Center
Gilles Brassard, Université de Montréal
(Quantum Computing)
David Deutsch, Oxford University
Peter W. Shor, MIT
(ประวัติไอทีควอนตัมภาคภาษาไทย - หนังสือภาพจดหมายเหตุ)
(บทความภาคประกอบ ๑, ๒)
“To Honor the Award”–สร้างภาพลักษณ์ให้กับรางวัล
(วีดีโอ)
EP1.| การสร้างภาพลักษณ์ให้รางวัล ๑ |
รางวัลโลกเชิญคนดังสร้างความขลัง รางวัลไทยผู้ให้กลายเป็นผู้รับ |
EP2. | โนเบลยังอายเมื่อรางวัลไทยผู้ให้กลายเป็นผู้รับ ! |
การสร้างภาพลักษณ์ให้รางวัล ๒ |
by OQC academy
Comments