ไอทีควอนตัม เมืองไทย
泰国量子信息论坛
(since 2014 - best view on desktop)
Hologram
2024 by OQC academy &
IEEE Thailand section Quantum IT
[Situation in Thailand (2016), it is still at the beginning. Developments over the past ten years has not yet reached any critical point lacking of four main key factors of success. Those are “budget, policy, personnel, and technology”. Meanwhile, in the present social conditions the word "quantum" may unbalance the public to the negative side or fraud (pseudo science) at higher weight. All of these statement of problems should lead to the national mission as "Thailand should target such activities to develop human resources and a QKD testbed for education & training as well as to prepare the related ethics and sociology, and many others]
คำนำ
วิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (quantum cryptography) ที่มีพัฒนาคู่ขนานมากับการคำนวณเชิงควอนตัม (quantum computing) ทั่วโลกนั้น ได้เริ่มต้นสร้างองค์ความรู้ในประเทศไทยมาร่วมทศวรรษแล้วนับถึงปี พ.ศ. 2559 โดยบันทึกสมุดปกขาวที่เผยแพร่สาธารณะฉบับนี้ คือข้อมูลส่วนหลักเพื่อการสร้างสนามเรียนรู้ที่เปิดกว้างเชื้อเชิญทุกภาคส่วนมาร่วมกันแต่งแต้มเติมสีสันบนพื้นความรู้ที่สะสมมาเหล่านั้น ให้เกิดเป็นโครงการจากความร่วมมือระดับชาติได้จริงต่อไป ส่วนหนึ่งของสมุดบันทึกนี้ (อดีต) เคยเป็นข้อเสนอโครงการ “ศูนย์กลางการทดสอบการใช้งาน การวิจัยและการพัฒนาด้านวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมของประเทศ” (Thai Quantum Cryptography Testbed) โดยเสนอครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ.2551 ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) (หลังเหตุการณ์ 19 กันยายน พ.ศ. 2549) และต่อมามีการนำเสนออีกสองครั้งโดยลุล่วงแล้ว ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหาร กทช.ในขณะนั้นแล้ว แต่ในปี พ.ศ.2553 มีการเปลี่ยนโครงสร้างจาก กทช. เป็น กสทช. รวมกับการเปลี่ยนแปลงภาคการเมืองและนโยบายก่อนหน้าและต่อ ๆ มาตลอดระยะเวลากว่า 8 ปี จึงทำให้โครงการเดิมนั้นต้องหยุดชะงักลง อันเป็นการเสียโอกาสของประเทศรวมถึงทรัพยากรที่ได้ลงทุนก่อนหน้านั้นแล้วทั้งครุภัณฑ์ บุคลากร เวลา รวมทั้งการติดตามความก้าวหน้าเทคโนโลยีของโลกที่ช้าลงด้วย กระนั้น ทีมงานนักวิจัยและบุคลากรที่เกี่ยวข้องได้พยายามรักษาสถานะภาพ องค์ความรู้และความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีโอกาสฟื้นกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้โดยยังคงต้องได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่องและการสนับสนุนจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อไปสู่การสร้างเป็น “ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม” ดังวัตถุประสงค์ดั้งเดิมนั้นได้จริงต่อไป
องค์ความรู้ที่ทยอยสร้างฐานมาตั้งแต่เริ่มการรวมกลุ่ม Q-Thai.Org เมื่อ พ.ศ. 2547 รวมถึงประสบการณ์การสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดกลาง (ภาคผนวก ค) ได้นำมาบูรณาการร่วมกับ “สารสนเทศเชิงควอนตัมประเทศไทย: พัฒนาการด้านวิทยาการรหัสลับ อดีตสู่อนาคต (พ.ศ.๒๕๕๗)” และความก้าวหน้าช่วงปีถัดมา โดยได้สรุปรวมเป็นข้อเสนอในร่างใหม่ หากได้พิจารณาร่วมกับข้อมูลจาก “ทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยีรหัสลับเชิงควอนตัม และบทสรุปมาตรฐานรหัสลับควอนตัมโลก” อีกสองแหล่งข้อมูลสำคัญที่พัฒนาไว้ล่าสุด (พ.ศ. 2559) ด้วยนั้น ก็จะได้เป็นภาพอนาคตที่ชัดเจนมากขึ้น และเมื่อจตุปัจจัยหลักทั้งสี่คือ งบประมาณ บุคลากร วิทยาการและนโยบาย สามารถบังเกิดได้ในเวลาใกล้เคียงกัน ข้อเสนอโครงการเปิดกว้างสาธารณะนี้จึงอาจมีศักยภาพที่จะดำเนินการต่อได้ แต่หากโอกาสการจาตุรงค์ของปัจจัยสี่เหล่านั้นน้อยมากก็มิควรดำเนินการซ้ำแนวทางเดิมอีก อันจะเป็นการสูญเปล่าละลายโอกาสที่มีน้อยในแม่น้ำสายความคาดหวังขนาดใหญ่ซ้ำเดิมเช่นอดีต หากอนาคตวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมในประเทศไทยจำเป็นต้องวนเวียนอยู่แต่กรณีหลัง สมุดปกขาวฉบับนี้อย่างน้อยยังคงได้เป็นบันทึกความรู้ระหว่างทางของการศึกษา วิจัยและพัฒนา เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ก่อนหน้าได้ และคงมีประโยชน์อื่นอยู่บ้างด้วย เช่น ช่วยป้องกันหรือร่วมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสังคมความรู้วิทยาศาสตร์ไทยต่อเรื่องหลอกลวง (fraud) ต่าง ๆ จากการนำ “ควอนตัม” ไปใช้ผิดทาง รวมทั้งส่งเสริมให้นักวิชาการสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศได้รับการตรวจสอบจากสังคมและกระตุ้นให้อยู่ในแนวทางเชิงสร้างสรรค์ ห่างไกลจากวิทยาศาสตร์เทียม (pseudo science) ต่อไปได้ด้วย
แม้อาจไปไม่ถึงเป้าหมายการสร้างศูนย์ฯ สมุดนี้คือองค์ความรู้สีขาวของรอบทศวรรษที่ผ่านมา … มิเสียเปล่า
“ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (พ.ศ. ๒๕๕๙)
(Thai Quantum Cryptography Testbed)”
๑. พัฒนาจากอดีตข้อเสนอโครงการเดิม“ศูนย์กลางการทดสอบการใช้งาน การวิจัยและการพัฒนาด้านวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมของประเทศ”
(Thai Quantum Cryptography Testbed from the first developed proposal in 2008. That was submitted to the former national telecommunications commision (NTC) under the MOU of NTC-Nectec. It was approved from the first round on 2007 through the final round of NTC's executive boards in 2008. But later NTC was transferred to be NBTC. That proposal, thus, has been on foreever pending !)
ข้อเสนอครั้งแรก พ.ศ. 2550 จนถึงปีพ.ศ.2551 ต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ก่อนเปลี่ยนเป็น กสทช.
ร่วมกับ
๒. การระดมสมองระหว่างการจัดงาน การบรรยายและฝึกอบรม รวมทั้งแบบสอบถาม
๓. การพิจารณาร่วมกับประสบการณ์ของผู้ทรงคุณวุฒิ คณะที่ปรึกษา
และ
๔. ข้อเสนอแนะและความเห็นจากทุกช่องทาง (email, social media ฯ)
ระเบียบวิธี (Structure & Procedure)
ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม มีพื้นฐานที่จะเกี่ยวโยงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสถาบันการศึกษาภายในและต่างประเทศ เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาการสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และควรได้ต่อยอดการพัฒนาไปสู่ภาคอุตสาหกรรมเมื่อมีโอกาสเป็นไปได้ โครงการฯจึงได้มีการจัดโครงสร้างระบียบวิธีโดยเน้นหนักการจัดการในสามกลุ่มที่เกี่ยวข้องกัน ทั้งด้านการบริหารการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การบริหารโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับผู้สนับสนุนและหน่วยงานที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวข้องกับวิทยาการพื้นฐาน รวมทั้งอุตสาหกรรมและการพัฒนาบุคลากร
วิธีดำเนินการพัฒนา (Strategy)
พื้นฐานขั้นต่ำสุดของโครงสร้างเครือข่ายวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมประกอบด้วยโหนดเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution Node : QKD Node) จำนวนสามโหนด (หากต่ำกว่าสามจะไม่จัดเป็นเครือข่ายสื่อสารหากจะเป็นเพียงการสื่อสารเฉพาะกิจจุดต่อจุด point-to-point) โดยมีเส้นทางการเชื่อมต่อเชิงควอนตัม (Quantum Key Distribution Link: QKD Link) จำนวนสามเส้นทาง โดยเครือข่ายเป็นลักษณะของการรวมเส้นทางการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นเข้าด้วยกัน (ring network) เพื่อกระจายกุญแจรหัสลับเชิงควอนตัมระหว่างโหนด ซึ่งทั้งสามโหนดนี้สามารถขยายต่อในอนาคตได้โดยยืดหยุ่นเพื่อเพิ่มเติมเป็นโครงข่ายใกล้เคียงสภาพจริงได้ (mesh network)