top of page

Milestones: จดหมายเหตุไอทีควอนตัมไทย since:  Feb 4, 2017  - updated: June 13, 2020

Past results: รวมผลอดีต  >

Q2-Milestones.jpg
(new) Q-Thai since 2014

จดหมายเหตุสำคัญไอทีควอนตัมไทย

(Thai QuantumIT Milestones)

ภาคปฐม:

ค.ศ.2002 (พ.ศ. 2545)

การรวมตัวของกลุ่มผู้สนใจสารสนเทศเชิงควอนตัมครั้งแรกในงาน “The Second Mahidol Summer School on Advanced Research Nanoscience and Nanotechnology”, 25-27 มีนาคม 2545 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ค.ศ.2004 (พ.ศ. 2547)

การรวมกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศควอนตัมไทย (Q-Ti Forum) จาก 5 สถาบัน ในงาน "นาโนเทคโนโลยี ความท้าทายของประเทศไทย" เมื่อ 25-30 มิถุนายน 2547 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

เปิดตัวกลุ่มผู้สนใจ “แนะนำ Q-Ti Forum” ในวารสารสมาคมฟิสิกส์ไทย (TIPO Newsletter) กรกฎาคม 2547 Vol1 No. 2 ISBN 0857-4855และ หนังสือสรุปการประชุมประจำปี 2547 "นาโนเทคโนโลยี ความท้าทายของประเทศไทย" โดย สวทช. ISBN: 974-229-739-8

 

ค.ศ.2005 (พ.ศ. 2548)

โครงการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการวิจัย “การสื่อสารเชิงแสงและควอนตัม” (Optical and Quan- tum Communication: OQC/ Nectec) ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.

 

ค.ศ.2006 (พ.ศ. 2549)

โครงการวิจัย ลำดับที่ 1:

การจำลองออกแบบการประมวลผลสัญญาณสำหรับระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม

(การสาธิตและการติดตั้งอุปกรณ์ระยะแรก) ด้วยทุนAIT’s RTG Joint Research Project, Fiscal Year Budget 2004 ผ่านสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

โครงการวิจัย ลำดับที่ 2:

โครงการระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (Quantum Cryptography) :

ต้นแบบชุดกระจายกุญแจรหัสลับเชิงควอนตัม (QC – BB84)

โดยงบประมาณของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.

 

ค.ศ.2007 (พ.ศ. 2550)

20 ก.พ. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยการสื่อสารเชิงแสงและควอนตัม (Optical & Quantum Research Center หรือ OQRC) ระหว่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (สิ้นสุด ๒๕๕๒: ไม่มีโครงการ กิจกรรมหรือผลงานใด)

15 มี.ค. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยทัศนศาสตร์และควอนตัมฟิสิกส์

(Optical and Quantum Physics : OQP) ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ล้มเหลว ไม่มีผลงานใด แก้ไขปัญหาครุภัณฑ์ด้วยโครงการอาสาชดเชยสาธารณะ (๒๕๕๙ - ปัจจุบัน) โดย Q-Thai.Org สมาคม ECTI & IEEE ComSoc Thailand)

 

ค.ศ.2008 (พ.ศ. 2551)

12 พ.ค. สัมนา Quantum Talk # 1: “Free space quantum cryptography”, โดย Prof. Harald Weinfurter จากมหาวิทยาลัยLudwig-Maximilians-Universität (LMU), มิวนิค ประเทศเยอรมนี ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

มิ.ย. หารือความร่วมมือด้าน Free space quantum cryptography กับการพัฒนาบุคลากร ณ สถาบันฟิสิกส์ Ludwig-Maximilians-Universität (LMU), มิวนิค ประเทศเยอรมนี

6 ต.ค. ร่วมการสาธิตการทำงานของระบบรหัสลับควอนตัมแบบสดครั้งแรกของโลก (QKD) และการประชุมนานาชาติเครือข่ายควอนตัม (SECOQC Demonstration and Interna tional Conference) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (www.secoqc.net)

 

หารือการขยายความร่วมมือเดิม (MOU) ระหว่าง สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น (National Institute of Information and Communications Technology: NICT) กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติเพื่อกิจกรรมวิจัยด้านรหัสลับเชิงควอนตัม ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

 

นำเสนอโครงการ "ศูนย์กลางวิจัยและพัฒนา ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม: ระยะที่ 1” (Thai Quantum Cryptography Testbed Center: Phase I) ต่อ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)

 

ค.ศ.2009 (พ.ศ. 2552)

17 ก.พ. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท Senetas จำกัด (ประเทศออสเตรเลีย) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ด้านวิทยาการรหัสลับลูกผสมและโครงการรหัสลับเพื่อเครือข่ายสุขภาพนำร่อง (สปสช.)

 

ก.ย. เยี่ยมชมผลงานวิจัยและพัฒนาและหารือการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบกระจายกุญแจรหัสลับควอนตัมด้วยวิธีสร้างความพัวพัน (Entanglement) หรือวิธี EPR (Einstein-Podolsky-Rosen) กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย (Austrian Institute of Technology (AIT))

10 ก.ย. สัมนาเชิงปฏิบัติการ “Quantum Information: รากฐานเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งอนาคต และทิศทางเทคโนโลยีสารสนเทศควอนตัมไทย” และสัมนา Quantum Talk # 2: Problems in application of LDPC codes to information in quantum key distribu- tion protocols โดย Dr. Ryutaroh Matsumoto (Tokyo Institute of Technology) ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

19 พ.ย. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง บริษัท iD Quantique จำกัด (ประเทศสวิสเซอร์แลนด์) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ด้านวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมและเครือข่ายเพื่อการทดสอบ (QKD Testbed)

 

ค.ศ.2010 (พ.ศ. 2553)

1 ก.ค. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย (Austrian Institute of Technology (AIT)) กับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

28 ก.ย. ดร.โยฮันเนส เพแทร์ลิก (Dr.Johannes Peterlink) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐออสเตรียประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะ รมว.วท.วีระชัย วีระเมธีกุล และหารือประเด็นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย-ออสเตรีย ด้านต่าง ๆ รวมถึงการแลกเปลี่ยนบุคลากร การขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากออสเตรียมายังประเทศไทย และโครงการวิจัยร่วมระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติกับหน่วยงานต่าง ๆ ของออสเตรีย

 

18-20 ต.ค. ร่วมการสาธิตการทำงานของระบบรหัสลับควอนตัมแบบสด (QKD) และการประชุมนานาชาติ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (www.uqcc2010.org)

 

ก่อตั้งห้องปฎิบัติการทัศนศาสตร์เชิงอะตอมควอนตัม (Quantum-Atom Optics Laboratory) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ณ ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหา วิทยาลัยเชียงใหม่ (http://qaocmu.org/) (ดร.วรานนท์ อนุกูล)

 

เปิดให้บริการแหล่งกำเนิดจำนวนสุ่มเชิงควอนตัมและการทดสอบ (Web service : Quantum Random Number Generation and Testing Service) ณ www.nectec.or.th/thairand

 

ค.ศ.2011 (พ.ศ. 2554)

14ก.พ. H.E.Dr.Beatrix KARL รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และวิจัยสาธารณรัฐออสเตรีย และคณะเข้าพบ รมว.วท. วีระชัย วีระเมธีกุล หารือความร่วมมือด้านต่าง ๆ (รวมถึงสารสนเทศเชิงควอนตัม) และเชิญตัวแทนออสเตรียเพื่อร่วมงานฉลองครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งเนคเทค และการเปิดตัวเครือข่ายสารสนเทศเชิงควอนตัมแห่งแรกของไทย

(แผนเดิม)

2 มิ.ย. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดตั้งและดำเนินการ "ห้องปฏิบัติการวิจัยร่วมเครือข่ายสารสนเทศเชิงควอนตัม" (CRU on Quantum Information) ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช.

 

28 มิ.ย. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเยือนสถาบันวิทยาการสารสนเทศและทัศนศาสตร์เชิงควอนตัม (IQOQI) (Prof.Rainer Blatt) ณ เมืองอินส์บรุค (Innsbruck) ประเทศออสเตรีย (http://www.ohm.go.th/th/court-news ข่าวแสดงวันที่ 2 กรกฎาคม 2554)

 

6-8 ก.ค. ฝึกอบรมผู้ช่วยนักวิจัย HIPANQ workshop: QKD Post Processing Workshop 2011ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย (Austrian Institute of Technology (AIT))

 

9 ธ.ค. งานประชุมวิชาการISPACS 2011

งานประชุมนานาชาติ “Updating Quantum Cryptography: Connecting World's QKD and Asia” ณ จังหวัดเชียงใหม่

สัมนา Quantum Talk # 3: Keynote Topic :

“The basic features of Quantum Key Distribution (QKD) and QKD networks in a terrestrial and satellite setting” โดย Dr. Momtchil Peev จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย (AIT – Austria)

สัมนา Quantum Talk # 4: Special Topic :

"Security of practical quantum key distribution system" โดย Professor Zheng-fu Hanมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (USTC) เมืองอันฮุย มณฑลเหอเฝ่ย ประเทศจีน

 

ค.ศ.2012 (พ.ศ. 2555)

มี.ค. รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและติดตั้งชุดกระจายกุญแจรหัสลับควอนตัมด้วยวิธีสร้างความพัวพัน (Entanglement) หรือวิธี EPR (Einstein-Podolsky-Rosen) กับสถาบันเทคโนโลยีแห่งออสเตรีย (Austrian Institute of Technology)

 

เม.ย. เยี่ยมชมและหารือขยายความร่วมมือ บริษัท iD Quantique จำกัด (ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์เซอร์แลนด์) และมหาวิทยาลัยเจนิวา (University of Geneva)

หนังสือ: พัฒนาการสารสนเทศเชิงควอนตัม, สมาคมวิชาการ ECTI และห้องปฏิบัติการวิจัยการสื่อสารเชิงแสงและควอนตัม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช., ISBN 9786161202125

 

17 ก.ย. การระดมความคิดเห็นทิศทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงควอนตัม (ประเทศไทย) โดยฝ่ายวิจัยนโยบายสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 

ค.ศ.2013 (พ.ศ. 2556)

15 พ.ค.

สัมนา Quantum Talk # 5:

Telecommunications Standards: a Lesson Learn from Europe to Thailand (QKD standards) โดย Gaby Lenhart, European Telecommunications Standards Institute (ETSI)

 

17-21 มิ.ย. เยี่ยมชมดูงาน “Collaborative Research Program on New Generation National Network Based on Quantum Cryptography” ณ Key Laboratory of Quantum Information (Prof. Zheng-Fu Han) มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (USTC), เมืองอันฮุย มณฑลเหอเฝ่ย ประเทศจีน โดยโครงการจากกระทรวงการต่างประเทศ (Sino-Thai Scientific and Technical Cooperation) ให้การสนับสนุน

(สรุปผลภาคแรก  1) วิทยาการพื้นฐาน 2) บุคลกร 3) ทรัพยากร และที่สำคัญ 4) นโยบาย  ... ขาดแคลนทั้งหมด)

------------------------------------------------------------------------------

ภาคมัธยม ค.ศ.2014 (พ.ศ. 2557) :

 

อนึ่ง จาก Q-Ti หรือ Thai Quantum Information Forum เดิมที่ได้ดำเนินกิจกรรมวิชาการ โดย สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ (สาขา สารสนเทศ) กับความตระหนักที่ขาด 1) วิทยาการพื้นฐาน 2) บุคลกร 3) ทรัพยากร และที่สำคัญ 4) นโยบาย ที่เข้าใจการวิจัยและพัฒนาด้านสารสนเทศเป็นทีมที่มีการเข้าจังหวะ (synchronization*) ของเทคโนโลยีที่ต่างและบุคลากรที่แตกความถนัด รวมทั้งอัตตลักษณ์ของงานระบบที่เป็นกลุ่มต่างสาขาและมีมาตรฐาน (OSI effect**) ... จึงได้เริ่มแผนกลยุทธ์ให้เหมาะสมแนวทางใหม่ร่วมกับ ชมรมไฟฟ้าสื่อสารสาขาประเทศไทย (IEEE Communications Society Thailand chapter) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand section) เพื่อแสวงหากลไกสาธารณะหรืองานอาสา แทนการพึ่งพาหน่วยงานรัฐ (กระทั่ง พ.ศ. ๒๕๖๐ ก็ยังคงไม่มีหน่วยงานรัฐใดมีกลไกรองรับได้)

ดังนั้น จึงกำเนิดขึ้นเป็น Q-Thai Forum ดำเนินการผ่านสมาคมวิชาการสาธารณะทั้งสองโดยอาสาสมัคร เพื่อสาธารณะ

             (*Synchronization คือการเข้าจังหวะของของทุกส่วนงานของระบบสื่อสารทั้งฮาร์ดแวร์และซอร์ฟแวร์กับความเร็วที่สอดคล้องกัน หากหลุด (asynchronous) การสื่อสารจะเกิดความผิดพลาด กับงานของมนุษย์ความหมายคล้ายกันคือ“ขาดความสอดคล้อง”)

             (**OSI (Open System Interconnection) effect ผลเทียบเคียงของเจ็ดระดับงานที่แตกต่างตามมาตรฐานที่ต้องการความสอดคล้องกัน ไม่สามารถทดแทนด้วยการเพิ่มระดับใดโดยลำพัง ) 

......................................................................................................

(2015 - 2017) :  โครงการไอทีควอนตัมสาธารณะแรก NBTC 2015

โครงการการสื่อสารปลอดภัยสูงสุดด้วยรหัสลับควอนตัม: การถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากร:Technology Transfer and Human Resource Development of Perfectly Secure Quantum Communications) กับการเริ่มต้นใหม่เพื่อพัฒนาบุคลากรกำลังสำคัญปัจจัยหลักแรกที่ยังขาดแคลน  ... สู่เป้าหมายการเป็น "ผู้ซื้ออย่างฉลาด" สนับสนุนโดย กทปส. กสทช.

ดำเนินการโดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สมาคมวิชาการ ECTI & IEEE ComSoc Thailand chapter

(สถานะ: สำเร็จผล)

......................................................................................................

(2018 - อนาคต) : โครงการอาสาไอทีควอนตัม (Q-Partner, Q-Volunteer, Q-StartUp, Q-Donation)

ขอเชิญนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย ภาคอุตสาหกรรมและผู้ใหญ่ใจบุญใจดีทั้งหลายได้มาร่วมกัน ณ ช่วงเวลาที่ภาครัฐยังไม่สามารถเตรียมพร้อมใด ๆ เพื่อรับอนาคตกับวิทยาการสาขาใหม่นี้ได้ (พ.ศ. ๒๕๖๐) ภาคประชาชนก็มิควรรอ หากควรรวมตัวออกเดินนำหน้า ก่อนที่จะเกิดดั่งเช่นกรณีอดีตทุกบทเรียนเทคโนโลยี ทั้งที่จำเป็น (3G WiFi DTV Mobile ...) แต่เสียหายหรือล่าช้า หรือแม้เทคโนโลยีฉ้อฉล (fraudที่ก็หลงกลเสียรู้มหาศาล (GT200 เรือเหาะ ฯลฯ) รวมถึงข่าวลวงเทคโนโลยีปลอมทั้งหลาย (ดาวเทียมควอนตัมถ่ายภาพความละเอียดสูง ฯ) จากผู้หลักผู้ใหญ่ในประเทศ ... มิควรรอ

 

ดังนั้น ภาคประชาชนควรได้รวมตัวเริ่มทั้งเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโลก (แม้ทราบว่าอย่างไรก็ไม่ทัน)และเพื่อทั้งรวมตัวป้องกันตนเองจากกรณีฉ้อฉลกลลวงที่นำคำว่า "ควอนตัม" ไปใช้ ที่อาจส่งผลลบหนักหนากว่าเรื่องเสียรู้ในอดีตมาก

ขอเชิญมาร่วมกันสร้างสรรค์งานอาสาเพื่อสาขาไอทีควอนตัมไทย...ร่วมกัน

 

๑๖ กันยายน ๒๕๖๐

(เกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์ - บรรณาธิการ)

Thai Quantum Information Forum (Q-Thai)

bottom of page