ไอทีควอนตัม เมืองไทย
泰国量子信息论坛
(since 2014 - best view on desktop)
Hologram
2024 by OQC academy &
IEEE Thailand section Quantum IT
International Day of Light - Thailand 2018
IDL 2018 : "วันสากลแห่งแสง (และเทคโนโลยีแสง) พ.ศ. ๒๕๖๑"
(Since November 2017 : updated: May 24, 2018)
Celebration of IDL 2018 Thailand: lighting the bright societies (May 15-16, 2018)
There will be on site and online events in order to celebrate IDL2018 in Thailand. Another colorful light show at Sakol Nakorn's heritage building (old governor house) with a 10th anniversary of main e-sources of knowledge management on; Thai telecommunication engineering, quantum information technology, and LED applications, will be jointly celebrated. A speech of IDL 2018 celebration by an executive-senior scientist for the sustainable development on local science & technology will be published.
See us all and celebrate at https://www.facebook.com/ThaiTelecomKM/
(อารัมภกถา ... โดย ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน)
งานแถลงข่าว งานมหกรรมมูนมังอีสาน : มหัศจรรย์ผ้าย้อมคราม ครั้งที่ 9 (click: Facebook Live)
(๒ ก.พ. ๒๕๖๑)
แผนการจัดกิจกรรมส่วนกลาง เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับ IDL 2018 ในประเทศโดยต่อเนื่องไป มีดังนี้
พันธกิจ (Mission)
สังคมมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักต่อความสำคัญของแสงและเทคโนโลยีที่ใช้แสงรู้เท่าทันและพร้อมรับการ เปลี่ยนแปลงร่วมกับเครือข่าย IDL2018 ของโลก
วิสัยทัศน์ (Vision)
เครือข่าย IDL2018 ประเทศไทยร่วมกันสร้างโอกาสและประโยชน์แนวทางที่เหมาะสมของแสงกับกิจกรรมด้าน วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปะและการศึกษา การพัฒนาที่ยั่งยืน สาธารณะสุข การติดต่อสื่อสาร และพลังงาน
เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกับของยูเนสโกด้าน “การศึกษาความเสมอภาคและสันติภาพ” ได้
วัตถุประสงค์ย่อยของโครงการในประเทศไทย
1) เพื่อพัฒนาส่งเสริม สนับสนุนการรับรู้ และปรับปรุงความรู้ความเข้าใจสาธารณะเรื่องแสงและเทคโนโลยีที่ใช้แสงกับการเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาของสังคมโลกในอนาคตร่วมกับ IDL 2018
2) เพื่อสร้างขีดความสามารถด้านการศึกษาร่วมกับเครือข่าย IDL 2018 ทั่วโลกผ่านกิจกรรมที่มุ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์สำหรับเยาวชนโดยไม่แบ่งแยก
3) เพื่อการเสริมสร้างบทบาทของเทคโนโลยีเชิงแสงเพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมไทย จากเครือข่ายพื้นบ้านสู่ระดับนานาชาติ
4) เพื่อร่วมเผยแพร่ความสำคัญของการวิจัยด้านวิทยาการแสง ส่งเสริมการประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ของสาขาเหล่านี้
5) เพื่อร่วมส่งเสริมความสำคัญของเทคโนโลยีแสงและพลังงานในการพัฒนาที่ยั่งยืนและเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งการประหยัดพลังงาน การป้องกันและลดมลภาวะทางแสง กิจกรรมทางอาชีพที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น ด้านการเกษตร การประมง การดูแลสุขภาพ ฯลฯ
6) เพื่อสร้างความร่วมมือของภาควิชาการกับภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในประเทศและแสวงหาความร่วมมือกับต่างประเทศ
ขอบเขตของการจัดกิจกรรม
สำหรับในประเทศไทย "แสงและเทคโนโลยีแสง" ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวันมีผู้เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาควิชาการ อุตสาหกรรม ดำเนินงานเพื่อทั้งธุรกิจ วิชาการ และอื่น ๆ อยู่เป็นปกติแล้วนั้น หากพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของ IDL 2018 ข้างต้น หน่วยงานที่ควรได้เข้าร่วมเพื่อยกระดับ เน้นหนัก ส่งเสริม ปรับปรุงและทำหน้าที่ดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้นพบว่าเกี่ยวข้องกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ เช่น หน่วยงานด้านมาตรวิทยา สถาบันการศึกษาและวิจัยด้านแสงและดาราศาสตร์ และผู้ประกอบการด้านไฟฟ้าพลังงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก หน่วยงานด้านสาธารณสุขและการเกษตร หน่วยงานด้านแสงสว่างอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งควรได้เชิญชวนและสร้างสรรค์กิจกรรมร่วมกันต่อไป ดังนั้น ภารกิจสำหรับ IDL2018 ของประเทศไทย จึงมีแนวทางเบื้องต้นที่ได้ยกร่างต่อเนื่องจากโครงการก่อนหน้า (IYL2015) โดยมีแนวทาง (Theme) ย่อยและกลุ่มเป้าหมาย (ตามกลุ่มงานหลักทั้งสาม คือ “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” “การพัฒนาที่ยั่งยืน” รวมทั้ง “การศึกษาและวัฒนธรรม”) จึงปรากฏมีโอกาสของหัวข้อสำคัญที่จะได้จัดทำแผนกิจกรรมย่อยร่วมกับเจ้าภาพที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ดังนี้
-
แสงกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (โรงเรียนวิทยาศาสตร์หรือสถาบันส่งเสริมการเรียนรู้)
-
แสงกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรม (มหาวิทยาลัย พิพิธภัณฑ์และหน่วยงานอนุรักษ์ และกลุ่มวัฒนธรรมพื้นบ้าน)
-
อุตสาหกรรมการสื่อสารเชิงแสง (หน่วยงานผู้ให้บริการโทรคมนาคม อุตสาหกรรม หน่วนงานมาตรวัด ฯ)
-
สังคม พลังงาน และแสงสว่าง: ปัจจุบันสู่อนาคต (หน่วยงานด้านพลังงานและไฟฟ้า หรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง)
-
แสงกับผลผลิตทางการเกษตร (หน่วยงานวิจัยและพัฒนา หรือศูนย์ทดสอบวิจัยการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับด้านแสง)
-
การประมงกับเรื่องของแสงสว่าง (หน่วยงานวิจัยและพัฒนาหรือศูนย์ทดสอบวิจัยการประมงที่เกี่ยวข้องกับด้านแสง ฯ)
-
“แสงดาว”พื้นฐานของสังคมวิทยาศาสตร์ (สถานี หอดูดาว หรือหน่วยงานการศึกษาวิจัยและพัฒนา)
-
ปัญหามลภาวะแสงกับสิ่งแวดล้อม (หน่วยงานการศึกษา วิจัยและพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและมลภาวะแสง)
-
แสงกับความสำคัญด้านสุขภาพ (หน่วยงานสาธารณะสุข วิจัยและพัฒนา เครื่องมือและการเทียบวัด ฯลฯ)
-
ควอนตัมแสงกับอนาคตของโลกและประเทศไทย (สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
-
และ กิจกรรมพิเศษ เช่น “แสงกับงานส่งเสริมการประหยัดพลังงานด้วยหลอดแอลอีดี” อาทิ งานนิทรรศการ LED หรืองานแสดงแสงสีเสียงที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น รวมถึงการเปิดรับข้อเสนอจากทุกภาคส่วนเพื่อร่วมขยายผลกิจกรรมตลอดปี
กลุ่มเป้าหมาย
ก) นักเรียน นักศึกษา หรือเยาวชนทั่วไป
ข) บุคคลทั่วไป ที่ไม่มีพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ค) นักวิชาการกลุ่มเป้าหมาย
ง) ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้ดูแลนโยบาย ผู้สนับสนุน
รวมเป้าหมายโครงการ พ.ศ. ๒๕๖๑
ขั้นตอนการทำกิจกรรมและดำเนินงานโครงการจะได้กำหนดร่วมกับเจ้าภาพกิจกรรมย่อยต่อไป อย่างน้อย 7 กิจกรรม ประกอบด้วยงานลักษณะต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ เช่น การบรรยายพิเศษ การจัดนิทรรศการ การฝึกอบรม การดูงาน การจัดประชุมวิชาการ การแสดงสินค้าและบริการ การประชุมเชิงปฏิบัติการหรือเทคนิค การจัดเวทีการแสดงวัฒนธรรม การจัดการแสดงแสงสีเสียงเพื่อการเรียนรู้ การจัดทำชุดสาธิตทดลองเพื่อการเรียนรู้ การรณรงค์ การสำรวจ การบริหารจัดการความรู้และการจัดทำสื่อความรู้และหนังสือเผยแพร่สาธารณะ การเสวนาระดมสมอง การสร้างความร่วมมือภาคการศึกษาและอุตสาหกรรม ฯลฯ (และอื่น ๆ รวมทั้งเปิดรับข้อเสนอจากภาคส่วนต่าง ๆ)
หน่วยงานหลัก
สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section)
ร่วมกับ
สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ (ECTI)
Web www.quantum-thai.org/idl-2018
ผู้ประสานงาน (Thailand Contact Node )
นายเกียรติศักดิ์ ศรีพิมานวัฒน์
สมาคม (IEEE ComSoc Thailand & ECTI-QuantumIT)
และตัวแทนประเทศไทย Thailand's contact node: IDL 2018
ทีม
นางสาวธัญนันท์ ภูผาจง
สาขาฟิสิกส์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
นายจิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์
ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (Centre for Quantum Technologies) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
ที่ปรึกษาโครงการ
1) ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน ราชบัณฑิต
2) นายประยุทธ อัครเอกฒาลิน ที่ปรึกษาและอดีตนายกสมาคม ECTI (พ.ศ. ๒๕๕๗-๘)
ศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ที่ปรึกษา สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ
3) นายโกสินทร์ จำนงไทย นายกสมาคม ECTI (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒)
ศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
อุปนายก สมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ
4) นายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย อุปนายกสมาคม สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย
(IEEE Thailand) และผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
5) นายเกษม กุหลาบแก้ว ที่ปรึกษาอาวุโส สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย
IEEE & Thai Telecommunications Milestones
IEEE & Thai Telecommunications Milestones