ไอทีควอนตัม เมืองไทย
泰国量子信息论坛
(since 2014 - best view on desktop)
Hologram
2024 by OQC academy &
IEEE Thailand section Quantum IT
โครงการจัดทำ “สิทธิบัตรมหัศจรรย์...โทรคมนาคมโลก” ด้วย “สิทธิบัตรตัวอย่างระดับโลก” อันเป็นการประดิษฐ์คิดค้นด้านโทรคมนาคมของโลกที่รู้จักในอดีตและประสบความสำเร็จมีมูลค่าและผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมเป็นอย่างมากของยุคร่วมสมัยที่คิดค้นได้ใหม่นั้นๆ เช่น โทรเลข โทรศัพท์และอื่น ๆ ในรูปแบบที่ดึงดูดและเข้าใจได้ง่าย เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและผู้สนใจ โดยจะจัดทำออกมาในรูปแบบสื่อความรู้เพื่อให้บริการเสมือนเป็นแหล่งความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาพื้นฐานเชิงเทียบเคียงกับเทคโนโลยีโทรคมนาคม “สิทธิบัตรตัวอย่าง”ของเทคโนโลยีที่นำเสนอ จะสามารถนำไปศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงได้โดยง่ายและควรจะก่อให้เกิดการตระหนักในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้ โดยที่โครงการนี้จะพัฒนาด้วยความตระหนักดังกล่าวในแนวทาง “ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และเป้าประสงค์การพัฒนาของกรมทรัพย์สินทางปัญญาอันจะเพื่อคุ้มครองปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมความรู้ การสร้างสรรค์ และการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คนไทยมีความรู้ มีการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นรวมทั้งเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญ ประโยชน์ และเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและเพื่อสร้างเครือข่ายด้านทรัพย์สินทางปัญญาในทุกระดับ” โดยโครงการจะนำเสนอด้วยตัวอย่างสิทธิบัตรระดับโลกด้านโทรคมนาคมเหล่านั้นในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จะได้จัดทำขึ้นและจะแจกจ่ายเป็นวิทยาทาน (กลุ่มเป้าหมาย โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษาและแหล่งเรียนรู้ต่างทั่วประเทศ รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่คิดมูลค่าผ่านกิจกรรมวิชาการของสมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) แห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าวต่อไป
หลักการและเหตุผล
เทคโนโลยีโทรคมนาคมที่พัฒนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมโลกและประเทศไทยกระทั่งปรากฏอยู่ในนโยบายและแผนระดับชาติต่างๆที่กำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาประเทศอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในด้านใด ๆ ของประเทศนั้นเทคโนโลยีโทรคมนาคมได้เข้าไปมีบทบาทและเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญแขนงหนึ่ง กอปรการพัฒนาบุคลากรเพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีโทรคมนาคมเพื่อนำไปสร้างหรือขับดันการพัฒนาด้านต่างๆดังกล่าวจำเป็นต้องสร้างความรู้ขั้นพื้นฐานที่เพียงพอและเปิดกว้าง ซึ่งแนวทางหนึ่งในการเรียนรู้ความสำเร็จจากอดีตผ่านมาของการคิดค้นและการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจากการคิดค้นนั้น ๆ โดยการสกัดความรู้จาก “สิทธิบัตรโทรคมนาคมต้นแบบระดับโลก” เช่น โทรเลข โทรศัพท์ โทรพิมพ์ และอื่น ๆ จนถึงปัจจุบัน แล้วนำเสนอในรูปแบบที่ดึงดูดใจ จุดประเด็นรวมทั้งให้เข้าใจได้ง่าย อาจได้ส่งผลกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและผู้สนใจเทคโนโลยีโทรคมนาคมและสาขาอื่นๆสามารถนำไปศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงได้โดยสะดวกและตระหนักในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้
ขณะเดียวกัน โครงการจะดำเนินงานโดยศึกษาแนวทางของกรมทรัพย์สินทางปัญญาอัน “เพื่อคุ้มครอง ปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมความรู้ การสร้างสรรค์ และการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ โดยมียุทธศาสตร์ที่จะพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ด้วยการส่งเสริมความรู้ สนับสนุนการสร้างสรรค์ การสร้างเครือข่าย และการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อให้คนไทยมีความรู้ มีการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญ ประโยชน์ และเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและเพื่อสร้างเครือข่ายด้านทรัพย์สินทางปัญญาในทุกระดับ ส่วนกลยุทธ์นั้น จึงมีเพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์ และการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ รณรงค์สร้างจิตสำนึกถึงความสำคัญ ประโยชน์ และเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาพัฒนาระบบข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือและประสานเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ”
โครงการนี้จึงจะได้มีส่วนในการพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางดังกล่าวด้วยการจัดทำแหล่งข้อมูล“สิทธิบัตรมหัศจรรย์...โทรคมนาคมโลก”เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและผู้สนใจ จากการศึกษา“สิทธิบัตรตัวอย่าง”การประดิษฐ์คิดค้นด้านโทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงโลกในอดีตและประสบความสำเร็จมีมูลค่าและผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมอย่างสูงยิ่ง ให้อยู่ในรูปแบบที่ดึงดูดใจและเข้าใจได้ง่าย
เริ่มต้นด้วยโครงการการจัดการความรู้ด้านโทรคมนาคมไทยโครงการแรกในโอกาสครบรอบห้าปีของการก่อตั้งสมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมและสารสนเทศ (ECTI:Electrical Engineering/ Electronics, Computer, Telecommunications and Information Technology Association) และเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๕๒ โดยสมาคมฯได้จัดทำโครงการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคมไทยขึ้นอันมีภาพรวมของวิชาการด้านโทรคมนาคม (Telecommunications) ซึ่งสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง สามารถอ้างอิงได้หรือพบเห็นได้ในประเทศไทย เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยทางตรงหรือทางอ้อมที่สื่อสารออกมาทั้งจากเนื้อหา ภาพ ความหมายหรือคำจำกัดความ (Glossary) ประวัติและความก้าวหน้า (History & Milestones) ตัวอย่างประกอบความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้งาน ที่ได้รับการเรียบเรียงจากผู้เชี่ยวชาญหรือกองบรรณาธิการ ดังนั้น เนื้อหาในแต่ละบทย่อยของสารานุกรมโทรคมนาคมไทยนี้นั้น จึงได้ผ่านการเรียบเรียงด้วยองค์ความรู้ด้านโทรคมนาคมของประเทศไทย และจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญแล้ว โดยเน้นองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้ง่าย และเป็นที่ยอมรับในวงการโทรคมนาคม เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยสื่อหลายรูปแบบ เช่น หนังสือสารานุกรม ซีดีสารานุกรม เว็บไซต์สารานุกรมโทรคมนาคมไทยและอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายสำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องราวทางด้านโทรคมนาคมของประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมเป้าหมายของทั้งสามประเด็นหลักคือ สารานุกรม วิทยาการด้านโทรคมนาคม และองค์ความรู้ของประเทศไทยเข้าด้วยกัน อันเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านโทรคมนาคมของประเทศและความร่วมมือของบุคลากรและเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะได้ส่งผลต่อการพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมและที่สัมพันธ์กันของประเทศต่อไปอย่างต่อเนื่อง
ต่อเนื่องมา ข้อมูลด้านโทรคมนาคมที่ได้รับการจัดระบบจากโครงการสารานุกรมฯ ได้นำมาซึ่งโครงการจัดทำหนังสือภาพ จดหมายเหตุโทรคมนาคมโลกและประเทศไทย (IEEE and Thai Communications History & Milestones) ขึ้นในปีพ.ศ. ๒๕๕๔ ในรูปแบบของการลำดับเหตุการณ์ เพื่อถ่ายทอดความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์โทรคมนาคมที่สื่อให้เห็นถึงวิวัฒนาการตั้งแต่อดีต โดยรวบรวมผลงานเด่นและเหตุการณ์สำคัญทางโทรคมนาคมของไทยและต่างประเทศในรูปแบบของหนังสือภาพเล่าเรื่อง ประกอบด้วยเนื้อหาข้อมูลและภาพเหตุการณ์สำคัญทางโทรคมนาคม รวมถึงประวัติศาสตร์และเหตุการณ์สำคัญของประเทศไทยในอดีตที่เกี่ยวข้อง นำเสนอด้วยการลำดับเหตุการณ์เพื่อเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ทางโทรคมนาคมและประวัติศาสตร์ของไทยให้มีความสอดคล้องกัน สะดวกต่อการเข้าถึงเนื้อหาของผู้ใช้งาน ซึ่งมีเป้าหมายสำหรับสร้างแหล่งความรู้ทางเลือกเพื่อใช้ค้นคว้า อ้างอิง เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ตระหนักและเห็นคุณค่า ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย นอกจากนี้ได้สอดแทรกความรู้พื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสารหรือโทรคมนาคม ด้วยการจัดการความรู้ (Knowledge Management) อย่างเป็นระบบ โดยได้จัดทำในรูปแบบหนังสือภาพและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) รวมทั้งเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยการใช้งานผ่านเว็บไซต์เพื่อเผยแพร่เป็นวิทยาทานแล้วเช่นเดียวกัน
รวมทั้งในปีเดียวกันนั้น การต่อยอดองค์ความรู้ด้านการให้ความหมายของศัพท์เทคนิคด้านโทรคมนาคมได้กำเนิดขึ้นพร้อมกันด้วยโครงการจัดทำ อภิธานศัพท์โทรคมนาคมไทย (Thai Telecommunications Glossary) เพื่อการมีแหล่งอ้างอิงความหมายคำศัพท์โทรคมนาคม การสร้างความเข้าใจในความรู้พื้นฐานทางโทรคมนาคมต่อนักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป รวมทั้งการเผยแพร่ให้ผู้ใช้งานเข้าถึงเนื้อหาได้โดยสะดวก การจัดทำอภิธานศัพท์โทรคมนาคมไทยเป็นการต่อยอดความรู้จากโครงการสารานุกรมโทรคมนาคมไทย (Thai Telecommunications Encyclopedia) นำมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่และกระจายความรู้สู่สาธารณะด้วยการถ่ายทอดความรู้ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในสาขาไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ โดยจัดทำเป็นสื่อในรูปแบบหนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเว็บไซต์เผยแพร่อภิธานศัพท์บนเล็กซิตรอนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ (Knowledge Management) เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) ด้านคำศัพท์โทรคมนาคมและสามารถพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกันได้ระหว่างผู้สร้างและผู้ใช้งาน โดยการเพิ่มเติม นำเสนอ วิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นและผ่านกระบวนการกลั่นกรองจากผู้เชี่ยวชาญในขั้นตอนสุดท้ายช่วยให้คำศัพท์ทางเทคนิคโทรคมนาคมนี้มีการเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีแรกได้ดำเนินการจัดทำคำศัพท์มากกว่า ๑,๑๐๐ คำและกำลังเพิ่มขึ้นต่อ ๆ ไปในอนาคต
ทั้งนี้ หนังสือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำทั้งหมดทุกโครงการได้แจกจ่ายเป็นวิทยาทานแก่โรงเรียน สถาบันอุดมศึกษาและแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งเผยแพร่สู่สาธารณะโดยไม่คิดมูลค่าผ่านกิจกรรมวิชาการของสมาคมวิชาการไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม และสารสนเทศ (ECTI) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (IEEE) แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แล้ว และได้รวมนำเสนอ ณ เวปไชต์ 1 และ www.ebooks.in.th/OQC-LED/
โดยรวมทุกผลงานของโครงการทั้งหมด ได้แจกจ่ายผลดังกล่าวและสร้างความตระหนักต่อสาธารณะตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมาจนถึงท้ายปีพ.ศ.๒๕๕๘ คือ
ก) - DVD รวมมากกว่า ๑๐,๐๐๐ แผ่น
ข) - หนังสือรวมกว่า ๙,๐๐๐ เล่ม และ
ค) - สถิติการ download ผลงานรวมกว่า ๑๙,๐๐๐ เล่ม/ ไฟล์
ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการอันเป็นประโยชน์สาธารณะเชิงความรู้ด้านโทรคมนาคมต่อไปได้อย่างบูรณาการ จึงนำมาสู่การจัดทำอีกหนึ่งมุมมองด้านทรัพย์สินทางปัญญากับโครงการ “สิทธิบัตรมหัศจรรย์...โทรคมนาคมโลก”
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อจัดทำแหล่งข้อมูล “สิทธิบัตรมหัศจรรย์...โทรคมนาคมโลก”
๒. พัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และเป้าประสงค์การพัฒนาจากแนวทางของกรมทรัพย์สินทางปัญญา อันจะเพื่อคุ้มครอง ปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมความรู้ การสร้างสรรค์ และการใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้คนไทยมีความรู้ มีการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นรวมทั้งเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญ ประโยชน์ และเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาและเพื่อสร้างเครือข่ายด้านทรัพย์สินทางปัญญาในทุกระดับ
๓. เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและผู้สนใจ จากการศึกษา“สิทธิบัตรตัวอย่าง”การประดิษฐ์คิดค้นด้านโทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงโลกในอดีตและประสบความสำเร็จมีมูลค่าและผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมในรูปแบบที่ดึงดูดใจและเข้าใจง่าย เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและผู้สนใจ
๔. เพื่อต่อยอดจากความร่วมมือด้านวิชาการโทรคมนาคมไทย อันจะทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือช่วยกันสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมอื่นๆต่อไป รวมทั้งร่วมกันตระหนักในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาตั้งแต่ระดับเยาวชนต่อเนื่องไปยังผู้เกี่ยวข้อง
๕. เพื่อต่อยอดกิจกรรมวิชาการในการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคมในนักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีโทรคมนาคมของประเทศสู่ระดับสากลต่อไป
๖. เพื่อจัดทำสื่อความรู้ในรูปแบบออนไลน์พื่อให้บริการแหล่งความรู้ทรัพย์สินทางปัญญาด้านตัวอย่างโทรคมนาคมที่สามารถนำไปศึกษา ค้นคว้า อ้างอิงได้โดยง่าย และเป็นศูนย์กลางของการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านโทรคมนาคม
เป้าหมาย
๑. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ “สิทธิบัตรมหัศจรรย์...โทรคมนาคมโลก” 7 หัวข้อนำร่องหรือ
“เจ็ดสิทธิบัตรมหัศจรรย์...โทรคมนาคมโลก”
๒. คลังข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญาด้านโทรคมนาคมตัวอย่างที่เปิดให้บริการฟรีแก่ผู้ใช้ผ่านเว็บไซต์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑. ส่งเสริมให้นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปมีความเข้าใจในความรู้พื้นฐานด้านเทคโนโลยี โทรคมนาคม เป็นพื้นฐานในการต่อยอดความรู้และความเข้าใจ รู้เท่าทันความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีโทรคมนาคมต่อไป
๑๐.๒ ความรู้ มีการสร้างสรรค์ และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นรวมทั้งเพื่อสร้าง จิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญ ประโยชน์ และเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
๓. แรงบันดาลใจของเยาวชนและผู้สนใจ จากการศึกษา“สิทธิบัตรตัวอย่าง”การประดิษฐ์คิดค้นด้าน โทรคมนาคมที่เปลี่ยนแปลงโลกในอดีต
๔. เกิดองค์ความรู้ใหม่จากผลงาน “สิทธิบัตรตัวอย่างในอดีต” และก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือที่ ร่วมแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม
๕. การต่อยอดกิจกรรมวิชาการของสมาคมวิชาการทั้งสองและหน่วยงานพันธมิตร ในการพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีโทรคมนาคม