ไอทีควอนตัม เมืองไทย
泰国量子信息论坛
(since 2014 - best view on desktop)
Hologram
2024 by OQC academy &
IEEE Thailand section Quantum IT
ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม (พ.ศ.๒๕๕๙)
(Thai Quantum Cryptography Testbed 2016)
บทสรุปพิเศษ
คำสำคัญ: ศูนย์ทดสอบ ศูนย์ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม การสื่อสารปลอดภัย โครงข่ายสื่อสารทางแสง
วิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมปรากฏพัฒนาการชัดเจนในหลายประเทศนับจากปี ค.ศ.1984 เป็นต้นมาได้รับการผลักดันเป็นโครงการระดับชาติทั้งภาคพื้นดินจนขึ้นสู่ดาวเทียม มีสินค้ามากแบบออกจำหน่าย การใช้งานและการสาธิตเกิดขึ้นกับหลายเครือข่ายระดับใหญ่ จึงเป็นที่ประจักษ์ถึงบทบาทอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตด้านความปลอดภัยสารสนเทศไปทั่วโลกแล้ว สำหรับประเทศไทยยังคงตามหลังความก้าวหน้าของโลกนั้นห่างไกลมาก มีพัฒนาการที่ยังไปไม่ถึงจุดมวลวิกฤตในทุกด้าน จากการประมวลข้อมูลและประสบการณ์ที่ผ่านมา ประเทศไทยควรได้เร่งมุ่งเป้ากับกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสร้างบุคลากร และการสร้างสนามเพื่อได้ใช้ทดสอบ ทดลอง ศึกษาดูงาน รวมทั้งเพื่อการเตรียมพร้อมด้านจริยธรรมและสังคมวิทยาและอื่น ๆ ต่อวิทยาการแขนงใหม่นี้ หรือแม้กับการเตรียมตัวเป็นผู้บริโภคเทคโนโลยีอย่างฉลาด ด้วยการเร่งพัฒนาบุคลากรและสร้างสนามทดสอบ (testbed) ซึ่งเป็นข้อเสนอสำคัญที่อยู่ในโครงการสาธารณะแบบเปิดนี้
กลศาสตร์ควอนตัมเมื่อประยุกต์กับเทคโนโลยีสารสนเทศ จะได้มาซึ่งระบบใหม่ที่มีขนาดเล็กลง เร็วขึ้น ตอบสนองความต้องการได้มากขึ้น เกี่ยวโยงกับอุปกรณ์ การสื่อสารข้อมูลและการประมวลผลข้อมูล เกิดเป็นวิทยาการใหม่ “สารสนเทศเชิงควอนตัม” ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากด้วย จากกฎของ“กอร์ดอน มัวร์ (Gordon Moore)” ที่ทำนายว่าทุกหนึ่งปีครึ่งปริมาณหน่วยความจำและจำนวนเกตลอจิกในชิปหนึ่งตัวจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว และเป็นจริงมาตลอด 30 ปี จนเล็กลงจนเข้าสู่ยุคระดับโมเลกุล อะตอม โฟตอนหรืออิเล็กตรอน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่อุปกรณ์การคำนวณจนถึงการสื่อสารในยุคต่อไปจำต้องอธิบายด้วยกลศาสตร์ควอนตัม ที่จะมาเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าของโลกสารสนเทศอย่างมีนัยสำคัญ และหลังจากที่ปีเตอร์ ชอร์ (Peter Shor) ค้นพบวิธีคำนวณเชิงควอนตัมแยกตัวประกอบได้ในเวลาลดลงอย่างมากและหากทำได้ในระบบขนาดใหญ่ได้ หรือที่กล่าวถึงกันกับสิ่งที่เรียกว่าควอนตัมคอมพิวเตอร์ (quantum computer) จะส่งผลให้ความปลอดภัยของข้อมูลที่ใช้การเข้ารหัสแบบกุญแจสาธารณะสูญเสียความมั่นคงหรือปลอดภัยน้อยลงทันที จึงได้เกิดมีงานวิจัยและทดลองการใช้สถานะควอนตัมเพื่อสร้างกุญแจรหัสลับ (Quantum Key Distribution หรือ QKD) ในเวลาต่อมา อันเป็นต้นทางการกำเนิด “วิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม”เพื่อความมั่นคงทางสารสนเทศอนาคตได้ในที่สุด
จากการเปิดตัวควอนตัมคอมพิวเตอร์ของบริษัท D-Wave Systems (ราคาหน่วยละ 15 ล้านเหรียญ) ด้วยเงินทุนวิจัยระดับ 65 ล้านเหรียญโดยร่วมกับองค์กรระดับโลก เช่น กูเกิล (Google) (ที่ได้แถลงผลความก้าวหน้าเน้นย้ำถึงศักยภาพการคำนวณแนวใหม่นี้เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ.2558 รวมทั้ง การปรับทดสอบระบบปฏิบัติการโครม (Chrome 2016) ให้รองรับการป้องกันการถอดรหัสด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์ในอนาคต ด้วยเทคนิค quantum safe cryptography – 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559) หรือการใช้งานของบริษัทล๊อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) และนาซา (NASA) ต่อมาบริษัท D-Wave สามารถระดมทุนจากหน่วยงานใหม่รวมถึง 160 ล้านเหรียญ รวมไปถึงภารกิจลับของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่เปิดเผยโดย เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน (Edward Snowden) อดีตพนักงานของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) รายงานว่า มีโครงการลับมูลค่าสูงประมาณ 8 ล้านดอลล่าร์กับงาน “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” เพื่อใช้ถอดรหัสภารกิจที่ซับซ้อนกันแล้ว ในขณะที่บริษัทไอบีเอ็ม ได้เปิดให้ทดสอบระบบคำนวณควอนตัม 5 คิวบิต ผ่านเครือข่ายสื่อสารคลาวน์ (4 พฤษภาคม 2559) และยุโรปประกาศแผนสิบปีมูลค่า 1 พันล้านยูโร กับการผลักดันเทคโนโลยีด้านควอนตัม (quantum manifesto: 17-18 พฤษภาคม 2559) ทั้งหมดนี้ ก็ยิ่งได้ทำให้เกิดการตระหนักที่จะต้องมีระบบรหัสลับเชิงควอนตัมเพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้ากันแล้ว ทั้งนี้ โลกได้เข้าสู่สังคมดิจิทัลจึงมีความต้องการการรักษาความปลอดภัยสูงสุด (unconditioned security) มากขึ้นและสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสำหรับภาคการเงินการธนาคารและความมั่นคงของชาติ มีความจำเป็นที่ต้องเร่งรัดพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถรับมือกับภัยคุกคามเหล่านั้นให้ได้ นั่นก็คือการมีส่วนร่วมของ “รหัสลับเชิงควอนตัม” ในระบบสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยนั่นเอง
รหัสลับบนพื้นฐานเชิงกลศาสตร์ควอนตัมนี้ได้รับการคาดการณ์ไว้ทั่วโลกมาหลายทศวรรษแล้วในอดีต เช่น ปี พ.ศ. 2549 RAND Corporation ระบุวัฏจักรเทคโนโลยีของโลกสำหรับค.ศ.2020 ว่า จะเป็น 1 ใน 16 เทคโนโลยีที่จะมีการใช้ในเชิงธุรกิจทั่วไปอย่างแพร่หลาย ปีพ.ศ.2551 Global Industry Analysis คาดการณ์ว่ามูลค่าการตลาดจะสูงถึง 842 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ และพ.ศ.2554 Technology Review โดยสถาบันเอ็มไอที (MIT) ให้เป็นหนึ่งในสิบเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลก เป็นต้น ต่อเนื่องมา จากการคาดการณ์นำมาสู่การเป็นแผนที่นำทางเทคโนโลยี (roadmap) ในที่สุด ซึ่งชุดแรกของโลกได้มีการจัดทำขึ้นนานแล้วโดยหน่วยงานด้านกลาโหมประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพกับการคาดการณ์ระยะสิบปีเมื่อปี พ.ศ.2547 ครอบคลุมทุกมุมเทคโนโลยี ตามมาด้วยแผนที่นำทางระดับประเทศชั้นนำอีกจำนวนมากทั้งจีน ญีุ่ปุ่น สิงคโปร์ และสหภาพยุโรป
สำหรับด้านมาตรฐานอุตสาหกรรมและความร่วมมือ สถาบันมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคมแห่งสหภาพยุโรป (ETSI) กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมโดยมีกลุ่มทำงาน ISG-QKD เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2552 และมีมากกว่า 20 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมกลุ่มแล้ว รวมถึงกลุ่มอาเซียนซึ่งเคยมีประเทศสิงคโปร์และมาเลเซียเท่านั้นที่เข้าร่วม ส่วนทรัพย์สินทางปัญญาและแนวโน้มอนาคตพบว่า ข้อมูลสิทธิบัตรโดยผลสรุปของช่วงปี ค.ศ.2001 ถึง ปี ค.ศ.2014 ประเทศสหรัฐอเมริกายื่นขอจดสิทธิบัตรและได้รับการคุ้มครองมากที่สุด ส่วนประเทศญี่ปุ่นและจีนติดตามมาอย่างใกล้ชิดและแนวโน้มทั่วโลกมีจำนวนสูงขึ้น1 จนมาถึงปี พ.ศ.2556 รัฐบาลสหราชอาณาจักรตั้งงบถึงประมาณมากกว่าหนึ่งหมื่นสี่พันล้านบาท (270 ล้านปอนด์) ในการสนับสนุนการวิจัยด้านเทคโนโลยีเกี่ยวโยงกับกลศาสตร์ควอนตัมรวมห้าปีนั้น ได้สร้างแรงขับดันและการตื่นตัวไปในวงกว้างอีกกรณีหนึ่ง
มีข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถสะท้อนแนวโน้มความน่าจะเป็นสำหรับอนาคตของวิทยาการนี้ได้ด้วย เช่น รายงานทัศนคติสาธารณะเทคโนโลยีควอนตัมโดย “Sciencewise” ระบุว่าอนาคตอันใกล้มีโอกาสสูงมากที่เทคโนโลยีนี้จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทั้งสุขภาพ การป้องกันความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์และผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องปรับปรุงความเข้าใจสาธารณะ และจากการคาดการณ์นวัตกรรมโลกอนาคตของ Thomson Reuter ด้วยข้อมูลจากบทความวิจัยและสิทธิบัตร สรุปแนวโน้มที่จะมีการค้นพบยิ่งใหญ่ในทศวรรษหน้าพบว่า งานสารสนเทศเชิงควอนตัมเป็นหนึ่งในสิบหัวข้อสำคัญดังกล่าว เป็นต้น
กระทั่งปี พ.ศ.2558 ความก้าวหน้าล่าสุดของโลกพบว่าหลายประเทศกำลังพยายามผลักดันให้เป็นเทคโนโลยีในระดับชาติทั้งสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้และรัสเชีย โดยมีตัวอย่างที่โดดเด่นของประเทศเกาหลีใต้ที่ถูกโจมตีระบบสื่อสารตลอดช่วงเวลา จึงได้พัฒนาขีดความสามารถการรักษาความลับและความมั่งคงของตนเอง ส่วนหนึ่งมาจากระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมที่ทำสำเร็จในระยะเวลาเพียงสามปีกับงบลงทุนนับพันล้านบาท และกำลังพัฒนาบุคลากรระดับถึง 3,000 คนภายใน ปี ค.ศ.2020 อีกด้วย ตลอดจนการรวมกลุ่มของสหภาพยุโรป ได้ประกาศการปฏิวัติควอนตัมยุคที่สอง (second quantum revolution) ด้วยการร่วมประกาศ “quantum manifesto 2016” ที่จะลงงบประมาณหนึ่งพันล้านยูโรระยะเวลาสิบปีเพื่อการนั้น (ก่อนหน้าการลงประชามติแยกตัวของสหราชอาณาจักรหรือ Brexit) โดยโลกมีความก้าวหน้ามาโดยลำดับทั้งปรากฏสินค้าด้านรหัสลับเชิงควอนตัมและการสร้างโครงข่ายเพื่อการทดสอง การใช้งานจริง สู่การเชื่อมโยงที่กำลังกว้างขวางขึ้น ทั้งภาคพื้นดินจนสู่การทดสอบเชื่อมโยงผ่านดาวเทียม (ประเทศจีน) ด้วยแล้ว ซึ่งเป็นความก้าวหน้าที่ชัดเจนต่อมาถึงช่วง พ.ศ.2559
จากการคาดการณ์ของหลายสำนักและความก้าวหน้าต่าง ๆ บ่งชี้ได้ชัดเจนว่า วิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมกำลังจะมีบทบาทสูงมากในอนาคต หลายประเทศกำลังพยายามผลักดันโครงการของตนเองเนื่องจากเล็งเห็นถึงผลกระทบและประจักษ์แล้วว่าวิทยาการนี้จะมีบทบาทอย่างมีนัยสำคัญ แม้ความรู้ความเข้าใจภาคสาธารณะจะยังคงเป็นเรื่องที่แปลกใหม่และมีอุปสรรคมาโดยตลอดกับวิทยาการแขนงนี้ ส่วนของประเทศไทยนั้นยังคงอยู่ในระยะเริ่มต้น พัฒนาการที่ผ่านมาจึงยังไม่ถึงจุดมวลวิกฤติ ทั้งด้านการพัฒนาบุคลากรใหม่ที่ต้องมีสาขาเชี่ยวชาญต่างกันถึงอย่างน้อยเจ็ดส่วนงาน (แต่ขาดแคลนทั้งหมด) ผลงานวิจัยและพัฒนาการศึกษาและการสื่อสารภาคสังคมยังคงมีช่องว่างต่างจากความคาดหวังที่กว้างมากเช่นเดียวกันกับเทคโนโลยีอุบัติใหม่อื่น ๆ ก่อนหน้า อันเป็นอุปสรรคที่หนักหน่วงเช่นเดิม
และจากการรวบรวมสถานะภาพที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยของโครงการที่เกี่ยวข้องในอดีตเพื่อเทียบเคียงและแสวงหาความเชื่อมโยง พบว่านอกจากสี่ปัจจัยพัฒนาสำคัญทั้ง “นโยบาย งบประมาณ บุคลากร และเทคโนโลยี” ประเทศไทยยังคงขาดแคลนมาก และกอปรสภาพเชิงสังคมไทยที่คำว่า “ควอนตัม” อาจนำพาความเข้าใจสาธารณะไปสู่แนวทางด้านลบหรือเรื่องหลอกลวง (fraud) ได้มากกับสินค้า บริการ และเรื่องวิทยาศาสตร์เทียม (pseudo science) ซึ่งต้องหาแนวทางป้องกันโดยล่วงหน้า ทั้งหมดนี้จึงได้นำมาสู่แนวทางอนาคตที่เหมาะสมกับสภาพสำหรับการพัฒนาด้วยข้อเสนอโครงการนี้ที่ “ประเทศไทยควรมุ่งเป้าดังกล่าวกับกิจกรรมเพื่อการพัฒนาสร้างบุคลากรและการสร้างสนามเพื่อได้ใช้ทดสอบ ทดลอง ศึกษา ดูงาน รวมทั้งเพื่อการเตรียมพร้อมด้านจริยธรรมและสังคมวิทยาและอื่น ๆ”หรือ การเป็นผู้บริโภคเทคโนโลยีอย่างฉลาดด้วยการการพัฒนาบุคลากรและสร้างสนามทดสอบ (testbed)
ดังนั้น กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงควอนตัมไทย ร่วมกับหน่วยงานและเครือข่ายพันธมิตรจึงนำเสนอโครงการแบบเปิดกว้างนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาโอกาสสู่การเป็นโครงสร้างพื้นฐาน ศูนย์กลางการทดสอบ การใช้งาน การวิจัยและพัฒนาด้านการสื่อสารปลอดภัย การสื่อสารเชิงแสงและวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมของประเทศ โดยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระยะยาว เพื่อการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย รวมทั้งเพื่อสร้างและสะสมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงควอนตัมที่เกี่ยวข้อง และเร่งพัฒนาศักยภาพต่อยอดจากโครงสร้างพื้นฐานไปสู่นวัตกรรมใหม่และผลลัพธ์ที่เหมาะสม โดยควรได้ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงควอนตัมในประเทศที่เกี่ยวข้องไปพร้อมด้วย ทั้งสร้างความร่วมมือการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเข้าร่วมวิจัยและมาตรฐานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อติดตามเทคโนโลยีใหม่ที่มีผลกระทบ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอน การฝึกอบรมวิทยาการที่เกี่ยวข้องให้ก้าวทันในระดับภูมิภาคและการสื่อสารวิทยาศาสตร์แขนงใหม่นี้ที่ถูกต้องต่อสังคมเชิงสร้างสรรค์ต่อสังคม โดยมีบุคลากรที่มีความสามารถและองค์ความรู้เป็นผลผลิตหลัก
ทั้งนี้ โครงการนี้ได้พยายามพัฒนาข้อเสนอให้สอดรับกับแผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับประเทศไทย โดยมีแนวทางเดียวกันกับโครงการ Smart Thailand ที่ครอบคลุมอยู่ใน 5 กลุ่มของ 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ แนวทางการพัฒนาสารสนเทศเชิงควอนตัมอาจสามารถจัดให้อยู่ในกลุ่ม “อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัฉริยะ (Smart Electronics)” ที่จะได้สอดรับไปกับการรักษาความปลอดภัยในสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นอย่างมีเป้าหมายด้วย โดยในส่วนยุทธศาสตร์หลักแรกของข้อเสนอโครงการแบบเปิดนี้ เน้นหนักที่การระดมทุนในการจัดสร้างศูนย์ ฯ อันมีสามกลยุทธ์สำคัญเพื่อการสร้าง ก) โครงสร้างพื้นฐาน ข) จัดหาอุปกรณ์เสริม และ ค) ดำเนินกิจกรรมวิจัยวิชาการและการศึกษา ดังนั้น ข้อเสนอโครงการระดมทุนการสร้าง “ศูนย์ทดสอบ ฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัม” ระยะที่หนึ่ง กรอบเวลาสามปีนี้ จึงมีเป้าขั้นต้นเพื่อจัดหางบประมาณ (เฉพาะโครงสร้างพื้นฐาน)มากกว่า 23 ล้านบาท กับผลลัพธ์โครงข่ายวิทยาการรหัสลับเชิงควอนตัมอย่างน้อย 3 โหนดในสามปีแรกที่สามารถขยายเพิ่มโครงข่ายได้สะดวก เป็นศูนย์การผลิตบุคลากรวิจัยบัณฑิตศึกษามากกว่า 2 คน การฝึกอบรมประชุมวิชาการและสื่อสารสาธารณะรวมมากกว่า 10 กิจกรรม ผู้ผ่านการฝึกอบรมอย่างน้อย 200 คนรวมทั้งเกิดโครงการวิจัยต่อเนื่อง 3 โครงการกับ 3 หน่วยงานที่เข้าร่วมงานและได้รับประโยชน์จากศูนย์กลางฯ แห่งนี้ โดยสามารถขยายพร้อมรับไปกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและอื่น ๆ เพื่อบรรลุดังวัตถุประสงค์ได้ต่อไป
“จึงนำเสนอเพื่อเป็นข้อเสนอสาธารณะผ่านสมุดปกขาวนี้เพื่อการมีส่วนร่วมกันของทุกภาคส่วน”
1 ศึกษาเพิ่มเติม“ทรัพย์สินทางปัญญาเทคโนโลยีรหัสลับเชิงควอนตัม (พ.ศ.๒๕๕๙)” (ISBN 978-616-413-846-9)
Executive Summary
Key Words : quantum cryptography, optical communication network, testbed, education & training center
Understanding quantum information technology (QIT), is that the two sides of the same coin. This kind of technology has been applying with quite a high potential. However, that quantum based technology is appeared to the public not only in positive side of its benefit, but also misled to negative attitude showing serious dramatic fraud. First side of that coin can be shown by worldwide quotes on applications in computing and communication areas such as: “once quantum computer becomes powerful enough, our present and future secret information might be disclosed”. That means secure communication is then on high risk. “Though vast quantities of today data are being intercepted even if no capability to decrypt them yet, but they could be stored for future decryption too”. In parallel, quantum cryptography, is that the absolute secure technique in order to prevent from that threatening. Since the history of quantum mechanics started formally in 1925, its applications have been widely adopted into various industries, and shown big impact on “Quantum IT” recently. A number of technology forecasting with many national roadmaps have been announced. Obviously, they have emphasized that future quantum based IT is indispensable. Major IT industrial players are involving in quantum computer, such as IBM, Google, Microsoft, NASA, and etc. Meanwhile, products on quantum cryptography or QKD have been released from new comers i.e. iDQuantique, SK telecom, MagiQ, Toshiba, and etc. Moreover, an industrial (ETSI) standard on QKD, academical progresses, and establishment of quantum based center worldwide, are also announced and highlighted. It leads to higher number of filled patent each year. China is ranked the highest in terms of academical results while USA is at the top on patent filling. Finally, more marketable applications in use today as a part of IT security.
Meanwhile those impressive scientific development have been showing but they are still in just a small group of people mostly in academia. However, another side of the same coin, there are a number of frauds by entitling “quantum” in many kind of products (nothing related to quantum mechanics) such as quantum pedant, bracelet, thermos bottle, cosmetics, health checker, or accessories, with miracle promoted specifications and results. In addition, a higher number of scandals from misconducted researches have been found in academic society. These negative impacts cover wider group of people and easier to be accessed. This dark side of the coin leads to high lost and destroyed many parts of science community. Those similar cases are presently so serious in the Thailand as well.
In conclusion, quantum technology is acknowledged to be an extremely difficult topic to understand and explain, public attitude is still in doubt with this new technology around the globe. But there is also evidence of conditional acceptance of the emerging technologies and in use today. We then have to aware both sides of this coin.
Situation in Thailand, it is still at the beginning. Developments over the past ten years has not yet reached any critical point lacking of four main key factors of success. Those are “budget, policy, personnel, and technology”. Meanwhile, in the present social conditions the word "quantum" may unbalance the public to the negative side or fraud (pseudo science) at higher weight. All of these statement of problems should lead to the national mission as "Thailand should target such activities to develop human resources and a QKD testbed for education & training as well as to prepare the related ethics and sociology, and many others".
Understanding of both impact and fraud of Quantum Information Technology through realization on QKD testbed, is the project goal. It's vision is in order to raise awareness the potential of quantum IT to the social, and to also prevent them from related fraud as “forewarned is forearmed” by having a QKD testbed. Since there have been many previous cases of scandal in Thailand including quantum titled product or pseudoscience, it is then necessary to solve the past properly and to prepare a sustainable future solution as well.
Therefore, Thai Quantum Information Forum (Q-Thai.Org) is proposing hereby a white paper of open-project proposal for the “Thai Quantum Cryptography Testbed”. It is an opportunity to jointly develop the first national QKD infrastructure, as well as to create and to accumulate knowledge and technology-oriented quantum involved. Its benefit are to be a test & training center, research and development of secure communications, human resource development, science communications, and also for IT industrial linkage. Moreover, this paper has been developed in line with the master plan of Thailand's digital economy. The project is attempted to align with the “Smart Thailand” concept covering five of those 10 industrial groups.
Finally, the possible first phase of Thai Quantum Cryptography Testbed is proposed here in three-year time frame. Estimated budget on only the main infrastructure, is over 23 million baht for minimum three QKD nodes. Outcomes are such as more than 10 technical activities with at least 200 people trained including R&D projects, a number of graduate students involved, and many others. Further phase of activities and expansion could be constructed on this infrastructure well. This white paper welcomes all parties to jointly build up “the first national quantum IT playground”.
..........................................................