top of page

Dinner Talk

(SCOOP) เมืองไทยจะไปดวงจันทร์ | อีกไม่เกิน 7 ปีไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย | The Dinner Talk#2

(SCOOP) เมืองไทยจะไปดวงจันทร์ | อีกไม่เกิน 7 ปีไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย | The Dinner Talk#2
ค้นหาวิดีโอ...
(SCOOP) เมืองไทยจะไปดวงจันทร์ | อีกไม่เกิน 7 ปีไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย | The Dinner Talk#2

(SCOOP) เมืองไทยจะไปดวงจันทร์ | อีกไม่เกิน 7 ปีไทยจะเป็นชาติที่ 5 ของเอเชีย | The Dinner Talk#2

13:22
เล่นวิดีโอ
ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย | The Dinner Talk#2 | บุญรักษา สุนทรธรรม & โมไนย ไกรฤกษ์ |

ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย | The Dinner Talk#2 | บุญรักษา สุนทรธรรม & โมไนย ไกรฤกษ์ |

01:11:13
เล่นวิดีโอ
(HIGHLIGHT) | โมไนย ไกรฤกษ์ | ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย | The Dinner Talk#2 |

(HIGHLIGHT) | โมไนย ไกรฤกษ์ | ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย | The Dinner Talk#2 |

03:34
เล่นวิดีโอ
The Dinner Talk #2 ... 

“ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย”

(***ขอขอบคุณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สำหรับการสนับสนุน)


วัตถุประสงค์

๑) เพื่อเป็นเวทีระดับประเทศสำหรับภาคการศึกษา อุตสาหกรรม นโยบาย และภาคสังคม ในการรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สู่การวางแนวทางการพัฒนาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้ากับสาขาฟิสิกส์รวมทั้งอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

๒) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายบุคลากรในสาขาวิชาการและวิชาชีพดังกล่าวของทุกภาคส่วน

 

๓) เพื่อสนับสนุนข้อมูลข้อคิดเห็นแด่ภาคการศึกษาเพื่อการสร้างบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

 

๔) เพื่อสนับสนุนข้อมูลสู่การวางแผนและตัดสินใจแด่ภาคอุตสาหกรรมทั้งด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศ มาตรวิทยาและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น รัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้าและบริษัทด้านผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม  งานตรวจวัดและมาตรฐาน และความปลอดภัยสารสนเทศ เป็นต้น

 

๕) เพื่อสนับสนุนข้อมูลสู่การวางแผนและตัดสินใจแด่ภาคนโยบายที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษารวมถึงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๖) เพื่อเป็นเวทีรับฟัง สร้างเครือข่าย ลดช่องว่าง สานต่อกิจกรรม ของบุคลากรที่สนใจของทุกสาขาที่สัมพันธ์รวมถึงตัวแทนเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเข้าร่วมในบรรยากาศที่เป็นกันเองในยุคสังคมวิถีใหม่ (new normal)

หลักการและเหตุผล

“โดยพื้นฐานวิศวกรรมไฟฟ้าก็คือฟิสิกส์ประยุกต์ วิศวกรไฟฟ้าก็คือนักฟิสิกส์ประยุกต์ การพัฒนาวิศวกรรมไฟฟ้า ประเทศไทยก็มีหน่วยงานวิจัยหน่วยงานอิสระหลายแห่ง ที่มีลักษณะงานโดยธรรมชาติเป็นงานด้านฟิสิกส์หรือเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอนแห่งชาติ สถาบันมาตรวิทยา สถาบันนิวเคลียร์ฯ ... และอื่น ๆ ที่ทำงานวิจัยหรือให้บริการประชาชนเป็นภารกิจ อันหมายถึงว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐาน มีโอกาสที่จะสามารถทำให้ฟิสิกส์ไทยยกระดับขึ้นได้ ด้วยการพัฒนาที่ไปตอบคำถามดังกล่าวข้างต้นนั้นให้ได้ ดังนั้น จึงต้องกลับมาสร้างนักฟิสิกส์ควบคู่กับวิศวกรไฟฟ้า การที่วิศวกรรมไฟฟ้าจะไปต่อได้อย่างแข็งแรงขึ้นต้องมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์คือฟิสิกส์ที่แข็งแรงด้วย”  

 

(“การประชุมวิชาการกับพัฒนาบุคลากร และงานวิจัยวิศวกรรมไฟฟ้าไทย”)

 

จากผลการสำรวจพัฒนาการ การประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย - ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๖ (ISBN: 9786163357601) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนมากในโอกาสครบรอบ ๓๕ ปีของการจัดการประชุมวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้่าของประเทศไทย ได้มีการนำเสนอข้อมูลสรุปที่บ่งชี้ได้ว่า ความร่วมมือระหว่างสาขาวิทยาศาสตร์พื้นฐานด้านฟิสิกส์จนมาถึงด้านการประยุกต์ของสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยนั้น ตั้งแต่อดีตมามีการรวมตัวกันน้อย ทั้งด้านการเรียนการสอนการพัฒนาบุคลากรซึ่งได้แยกกันมาตั้งแต่ต้น (ขณะที่หลายแห่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปรากฏมีหลายสถาบันพัฒนาบุคลากรได้รวมสองสาขาเข้าด้วยกัน  (School of  Physics & Engineering)) ส่วนด้านงานวิจัยและโอกาสการพัฒนาวิทยาการและเทคโนโลยีของประเทศต่อยอดสู่อุตสาหกรรมได้เองของทั้งสองสาขานี้ก็มีน้อยมาก จึงมีความร่วมมือของบุคลากรทั้งสองสาขาน้อยมากไปตลอดจนถึงภาคอุตสาหกรรมและนโยบายก็เช่นเดียวกัน

โดยรวมสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจะใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันโดยสังเกตพบได้ง่ายกว่า มีมิติของสังคมเข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่า ปัจจัยการพัฒนาสำคัญทั้งสี่อันได้แก่ “บุคลากร วิทยาการ นโยบายและงบประมาณ” จึงมีโอกาสสูงกว่า ส่วนสาขาฟิสิกส์พื้นฐานเองแม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับศาสตร์การประยุกต์อื่น ๆ ต่อไปได้ด้วยนั้น เช่น อุตุนิยมวิทยา การแพทย์  การเกษตร และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นต้น แต่สำหรับประเทศกำลังพัฒนาแล้วเป็นสาขาที่ห่างไกลหรือพบเห็นในสังคมได้ยากหรือน้อยกว่า ดังนั้น ปัจจัย “บุคลากร วิทยาการ นโยบายและงบประมาณ” จึงมีโอกาสน้อยกว่าตามเหตุดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาลักษณะความสัมพันธ์ของทั้งสองสาขานี้แล้ว ฟิสิกส์จะอยู่ด้านล่างคือฐานของเทคโนโลยีที่อยู่ด้านบน โดยตัวเทคโนโลยีจะต้องนำไปประยุกต์จึงมีโอกาสใกล้ชิดกับสังคมที่เกี่ยวข้องได้สะดวกกว่า 

ทว่า ในสี่ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การพัฒนาที่ยั่งยืนประเทศจะพึ่งพาตนเองได้จะต้องไม่เป็นเพียงผู้บริโภคหรือเพียงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปลายน้ำที่จัดซื้อมาจากต่างประเทศเท่านั้น แต่จำต้องสร้างบุคลากร เพื่อสร้างงานวิจัยต้นน้ำหรือพัฒนาตั้งแต่ฐานของตัวเทคโนโลยีนั้น ๆ เองได้ด้วยแม้จะเต้องเกี่ยวข้องกับเพียงบางหัวข้อที่อาจได้รับการคัดสรรจากสังคมแล้ว อันหมายถึงควรที่จะมีส่วนร่วมของบุคลากรและวิทยาการจากสาขาฟิสิกส์ที่เป็นพื้นฐานมากขึ้นด้วยนั่นเอง

(ดังนั้น “หากรวมกันหรือมีความร่วมมือกันได้ทั้งด้านการศึกษา การวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรม และนโยบายทุกด้านที่เกี่ยวข้อง อาจจะพบเห็นความตื่นตัวว่าเกี่ยวโยงกันได้จริง เนื่องจากเงื่อนไขชีวิตในสังคมจริงนั้นจะ “ไม่สามารถแก้ปัญหาใด ๆ ด้านเดียวได้”  จะต้องดูผลกระทบด้านอื่นด้วย เช่น ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากหลังจากที่มีการใช้เทคโนโลยีนั้น ๆ ไปแล้วสังคมได้รับผลกระทบอย่างไร ซึ่งควรมีความคิดทางด้านสังคมศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องและจะโยงไปสู่เรื่องสภาพแวดล้อมอีกเช่นกัน รวมทั้งสัมพันธ์ถึงพฤติกรรมของมนุษย์ต่อมา ดังนั้น ควรจะทำอย่างไรให้กลายเป็นการสอนเรื่องของทุกสรรพสิ่ง (School of everything)”  (ศ.สุทัศน์ ยกส้าน))

ยิ่งไปกว่านั้น จากกรณีที่ปรากฏของภาคสังคมของเหตุการณ์สูญเสียทรัพยากรจำนวนมหาศาลของประเทศเพื่อเพียงการสั่งซื้อเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานแล้วประสบปัญหา โดยขาดแคลนทั้งบุคลากรและความเข้าใจวิทยาการพื้นฐานรองรับทั้งเรื่องที่จำเป็น (เช่น รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง ฯลฯ) หรือเรื่องหลอกลวง (เช่น GT 200 อุปกรณ์ตรวจสัญญาณสุขภาพ“ควอนตัม” การ์ดประหยัดไฟฟ้าลวง วงแหวนประหยัดน้ำมัน กล้องส่องผี ฯลฯ) บ่งชี้ทางอ้อมได้อีกว่า ช่องว่างระหว่างสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์พื้นฐานของประเทศกำลังห่างกว้างมากขึ้นไปตามพัฒนาการของโลกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะเพิ่มทั้งความเสี่ยงและการสูญเสียในอนาคตที่รุนแรงมากขึ้นกว่าในอดีตได้ด้วยเช่นกัน

รวมทั้ง มีคำกล่าวที่ว่า “… ประเทศจะได้รับการพัฒนาไปได้ดีเมื่อผู้คนหรือสังคมมีความคิดเป็นวิทยาศาสตร์ หากไม่สามารถฝึกคนให้คิดเป็นวิทยาศาสตร์ได้ก็อาจจะไม่เห็นคุณค่า ต่อเนื่องไปถึงหากนักเทคโนโลยีหรือผู้ประยุกต์ไม่เห็นคุณค่าของการทำงานวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เมื่อไม่มีผู้สนับสนุนแล้วนักวิทยาศาสตร์เองก็จะสลายตัวอาจลดจำนวนลงไปอีกได้” เป็นวัฏจักรวนเวียนที่ไม่สิ้นสุด  (อาจยุติได้บ้างต่อเมื่อเกิดการสูญเสีย)  และ “วิทยาศาสตร์ต้องใช้เวลาเติบโต เทคโนโลยีเองก็ต้องใช้เวลาในการพัฒนานาน และ ประเทศไทยเพิ่งเข้ามาสู่ยุควิทยาศาสตร์ประมาณไม่ถึง ๓๐ – ๕๐ ปีมานี้” … จึงเป็นข้อคิดเสริม อันควรเป็นที่มาของการเร่งรวมตัวของสองสาขาสำคัญดังกล่าว ในทุกด้านของประเทศไทย

ดังนั้น จึงได้เกิดแนวทางการต่อยอดโครงการในอดีตสู่กิจกรรมใหม่คือ “ทศวรรษหน้าวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทย” ซึ่งกิจกรรมครั้งแรกที่จัดโดยสาขาไฟฟ้าสื่อสาร (IEEE Communications Society - Thailand chapter) สมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) กับงาน Dinner Talk เมื่อปีวันเสาร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยมีวิทยากรร่วมบรรยายสองท่านคือ รศ.ดร.ณรงค์ อยู่ถนอม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น และ ศ.เกียรติคุณ ดร.ถิรพัฒน์ วิลัยทอง ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ (วีดีโอบันทึกกิจกรรมและอื่น ๆ) และในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ นี้ จะได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่สอง โดยมีวิทยากรคือ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ เมธีวิจัยอาวุโส สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ร่วมเป็นตัวแทนของทั้งสองสาขาระดับประเทศ เพื่อร่วมสนทนาดังเป้าหมายร่วมกันของทั้งสองวงการอีกครั้งหนึ่ง

ทั้งนี้ จะได้เชิญผู้มีส่วนในสังคมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาคการศึกษา อุตสาหกรรม นโยบาย และภาคสังคม เข้ารับฟัง สร้างเครือข่าย ลดช่องว่าง สานต่อกิจกรรม ฯลฯ กับวัตถุประสงค์ดังกล่าวท้ายนี้ด้วย รวมทั้งจากวิกฤตการณ์เร่งด่วนของการระบาดไวรัสโคโรนาหรือ โควิด-19 ซึ่งเป็นตัวแปรสังคมใหม่ที่ส่งผลถึงการอยู่ร่วมกันในอนาคตด้วยวิถีชีวิตใหม่ (new normal) การร่วมด้วยช่วยกันของพี่น้องสองสาขาวิชาชีพนี้ควรมีส่วนได้ร่วมกันเตรียมพร้อมให้กับประชาชนร่วมกับสาขาทางตรงอื่น ๆ ทั่วไปได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

โครงการนี้ จะได้สรุปผลและข้อเสนอแนะเผยแพร่สาธารณะสู่การต่อยอดกิจกรรมต่อเนื่องเพื่อร่วมพัฒนาวงการวิศวกรรมไฟฟ้าและฟิสิกส์ไทยต่อ ๆ ไป ทั้งการพัฒนาสื่อ (หนังสือ วีดีโอ เวป) เพื่อการบริหารจัดการความรู้สาธารณะ ที่จะได้เติบโตจากการจัดกิจกรรม Dinner talk ในครั้งที่สองนี้ด้วย

กลุ่มเป้าหมาย

๑)  หน่วยงานภาคการศึกษา วิจัยและพัฒนา และงานบริการ (เช่น หน่วยงานสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (สสวท. อพวช. ฯลฯ และ สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เช่น ส.มาตรวิทยาฯ ส.ซินโครตรอนฯ สทอภ. สดร.  สถาบันด้านการวัดและทดสอบ ฯลฯ) 

๒)  ภาคอุตสาหกรรมด้านไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม สารสนเทศและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (เช่น การไฟฟ้าฯ บริษัทด้านผลิตไฟฟ้า บริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ บริษัทผู้ให้บริการระบบโทรคมนาคม  ความปลอดภัยสารสนเทศ เป็นต้น)

๓)  ภาคนโยบายด้านที่เกี่ยวข้อง (เช่น กสทช. สกสว. ฯ)

๔) เยาวชนคนรุ่นใหม่ บุคคลทั่วไปที่สนใจ

ข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

๑) หนังสือ “พัฒนาการการประชุมวิชาการวิศวกรรมไฟฟ้าประเทศไทย-ศาสตร์และศิลป์การสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์” (www.facebook.com/ThaiEECONHistory)

๒) ตัวอย่างโครงการสาธารณะที่จัดทำแล้วก่อนหน้า (สมาคมวิชาการฯ ECTI (www.ecti.or.th) & IEEE Thailand Section (www.ieee-thailand.org) โครงการสารสนเทศอนาคต (www.Q-Thai.Org และ www.LED-SmartCoN.Org) และโครงการบริหารจัดการความรู้โทรคมนาคมไทย (www.ThaiTelecomKM.Org) เป็นต้น

 

สถานที่จัดงาน

Online: 

web.facebook.com/ThaiEECONHistory

& www.quantum-thai.org/dinner-talk 

bottom of page